พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขัดคำสั่งและประเด็นค่าชดเชยที่ศาลสั่งเกินคำขอ
กรรมการลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ลูกจ้างเคยทำผิดขัดคำสั่งมาแล้ว และได้ตักเตือนเป็นหนังสือ ถูกลงโทษพักงานและละทิ้งหน้าที่ นายจ้างร้องต่อศาลแรงงานขอเลิกจ้างได้ ลูกจ้างไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ อันศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งเกินคำขอได้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ศาลฎีกายกคำสั่งศาลแรงงานกลางในข้อนี้
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ อันศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งเกินคำขอได้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ศาลฎีกายกคำสั่งศาลแรงงานกลางในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานต้องสุจริตและมีเหตุผลเพียงพอตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ลูกจ้างเป็นกรรมการสหภาพแรงงานเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อนายจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างใช้บังคับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเช่นนี้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น แม้แต่จะยุบงานเพื่อตัดรายจ่ายก็ต้องมีความจำเป็นเพียงพอ กรณีมีพฤติการณ์น่าสงสัยว่าลูกจ้างมีอิทธิพลเหนือคนงานนายจ้างจึงอาจคิดกำจัดเสีย แปลได้ในตัวว่านายจ้างเลิกจ้างโดยไม่สุจริต จึงไม่เป็นปัญหาต้องวินิจฉัยข้อที่นายจ้างประสบภาวะขาดทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการสั่งค่าเสียหายและการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างได้ โดยมีอำนาจกำหนดได้ตามที่เห็นสมควรพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ไม่ต้องอาศัยเทียบเคียงกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการกำหนดค่าชดเชยเพราะไม่ใช่เป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดผลิตของนายจ้างต้องไม่ละเมิดสิทธิลูกจ้าง แม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ต้องเจรจาตกลงก่อน
ลูกจ้างไม่ทักท้วงการที่นายจ้างหยุดการผลิตคราวก่อน ๆไม่หมายความลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหยุดการผลิตได้ในคราวต่อไป
นายจ้างหยุดการผลิตเพราะเศรษฐกิจซบเซา ยางที่ผลิตขายไม่ออก แม้จะหยุดเป็นบางวัน ก็ทำให้ลูกจ้างขาดประโยชน์คือค่าจ้างโดยไม่มีสิทธิข้อตกลงสภาพการจ้างชอบที่จะแก้ไขเสียก่อน
นายจ้างหยุดการผลิตเพราะเศรษฐกิจซบเซา ยางที่ผลิตขายไม่ออก แม้จะหยุดเป็นบางวัน ก็ทำให้ลูกจ้างขาดประโยชน์คือค่าจ้างโดยไม่มีสิทธิข้อตกลงสภาพการจ้างชอบที่จะแก้ไขเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงานรถไฟ การลงโทษทางวินัย และการพิจารณาความแตกต่างของการกระทำผิด
โจทก์เป็นพนักงานรักษารถ ยอมให้ภริยาน้อยของโจทก์โดยสารรถไฟ และนำสัมภาระมาโดยไม่เสียค่าโดยสารและค่าระวางเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยลงโทษไล่ออกได้ตามข้อบังคับของคณะกรรมการรถไฟ และไม่จำเป็นต้องลงโทษผู้กระทำผิดเท่ากันทุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และคำสั่งรับกลับเข้าทำงาน
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในกรณีเช่นนี้โจทก์ก็ชอบที่จะได้รับค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างรวม 4 เดือน โดยคิดเท่ากับเงินเดือนหรือเงินอื่นตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานภายใต้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้
แม้ลูกจ้างจะมีสิทธินัดหยุดงานได้ เพราะเป็นวิธีเดียวที่ลูกจ้างสามารถใช้เป็นฐานอำนาจในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างแต่จะต้องอยู่ในกรอบบังคับของกฎหมาย มิใช่ว่าจะใช้สิทธิได้เสมอไป สิทธินัดหยุดงานจะเกิดขึ้นหรือมีขึ้นได้ เมื่อลูกจ้างได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ใน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน แล้วนายจ้างกับลูกจ้างไม่อาจตกลงกันได้โดยถือว่าข้อพิพาทแรงงานนั้นเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิ นัดหยุดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีแรงงานเกิดหลังเลิกจ้าง ศาลยกฟ้องตามกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยได้เลิกจ้าง โดยมีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2519 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลแรงงานบังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใหม่หรือเรียกค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 49 ได้ส่วน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ก็ไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องคดีขอให้ศาลบังคับจำเลยตามคำขอข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติตนไม่เหมาะสม แม้ไม่ร้ายแรงถึงขั้นประพฤติชั่วร้ายแรง
โจทก์เป็นลูกจ้างการเคหะแห่งชาติจำเลยตำแหน่งคนงานทำความสะอาดแฟลต ได้เข้าไปในห้องและร่วมประเวณีกับ ส. โดยไม่ปรากฏการข่มขืน ยังไม่เป็นการกระทำผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แต่เป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โจทก์ไม่มีหน้าที่เข้าไปในห้องของผู้เช่าอาศัยในอาคาร โจทก์อ้างตำแหน่งหน้าที่ไปกระทำการดังกล่าวเป็นการเสื่อมเสียแก่จำเลย ซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยถือว่าเป็นการผิดวินัยฐานประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: นายจ้างที่แท้จริง แม้มีการจ่ายค่าจ้าง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เห็นได้ว่าสัญญาจ้างแรงงานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคู่กรณีได้ตกลงกัน การที่จำเลยเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์และโจทก์ทำงานให้จำเลย จะนับว่าจำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ยังไม่ได้ บริษัท ฟ. เป็นผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงาน สัญญาจ้างแรงงานจึงเกิดขึ้นระหว่างบริษัทฟ.กับโจทก์ แม้บริษัท ฟ. มอบหมายให้โจทก์ไปทำงานในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยกับจำเลยซึ่งเป็นสาขาประเทศไทยสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. ก็ยังคงมีอยู่ตลอดมา