คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์จ่ายโบนัส: สิทธิและขอบเขตตามกฎหมายและข้อบังคับ
ตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 กับข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์ แสดงว่าที่ประชุมใหญ่ของจำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์ในการ จ่ายเงินโบนัสได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น การที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติอนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยให้จ่ายโบนัสแก่พนักงานโดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องมีตัวอยู่กับจำเลยในวันที่ที่ประชุมอนุมัตินั้น จึงอยู่ในอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685-2686/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: การลงลายมือชื่อถือว่ามีคำสั่งแล้ว
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งแต่ยังมิได้พิมพ์คำสั่งให้เรียบร้อยคณะกรรมการฯ เพียงแต่ลงลายมือชื่อไว้ท้ายคำสั่งนั้นถือได้ว่าคณะกรรมการฯได้วินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งในวันนั้นซึ่งอยู่ในระยะเวลา 90 วัน นับแต่ได้ยื่นคำร้องคำสั่งดังกล่าว จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้าง กับ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เป็นสิทธิแยกต่างหาก คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งชดใช้ค่าเสียหายได้
ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายเป็นเงินซึ่งลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับองค์การ ร.ส.พ.ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2519 เป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) มิใช่เป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติไม่ไว้วางใจชอบด้วยระเบียบ หากมีส่วนรู้เห็นการกระทำผิด
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุที่โจทก์มีส่วนร่วมรู้เห็นในการลักทรัพย์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์นั้น เป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยระเบียบของโจทก์ว่าด้วยระเบียบวินัย การลงโทษ และการให้ออกจากงานของลูกจ้าง ซึ่งระบุว่า เมื่อลูกจ้างผู้ใดมีความประพฤติไม่เป็นที่ไว้วางใจที่สมควรจะให้คงทำงานต่อไป เมื่อผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร สั่งให้ลูกจ้างผู้ใดออกจากงานก็ให้กระทำได้ จำเลยจึงมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) เป็นบทบัญญัติที่บังคับใช้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องเพราะการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้าง แต่กรณีนี้ ไม่ปรากฏว่ามีการเรียกร้องอะไรในคดีเลย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ดังกล่าวมาปรับใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019-2022/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ยินยอมและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัทโจทก์จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากข้อตกลงเดิมเป็นให้ลูกจ้างทำงานเป็นผลัดหรือเป็นกะโดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้เพราะการทำงานเป็นผลัดนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างการที่ลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งประกาศระเบียบข้อบังคับการทำงานฉบับใหม่จะถือว่าลูกจ้างได้ยินยอมแล้วยังไม่ได้การไม่เข้าทำงานจึงมิใช่การหยุดงานหรือการนัดหยุดงานการเลิกจ้างจึงสืบเนื่องมาจากข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงยังมีผลบังคับอยู่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา123 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างหากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะโต้แย้งทันทีแต่ไม่อาจหยุดงานได้การหยุดงานจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายดังนี้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางฟังมาและไม่มีความตอนใดที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเป็นของนายจ้าง แม้มีหลักเกณฑ์ แต่ต้องพิจารณาครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
การให้บำเหน็จความชอบแก่พนักงานเป็นอำนาจโดยเฉพาะของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหาใช่เป็นสิทธิของพนักงานไม่ การพิจารณาขึ้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นมีหลักเกณฑ์วางไว้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเพราะเหตุข้อเดียวที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีวันลาป่วยเกินสิทธิข้ออ้างของจำเลยนี้ฟังไม่ได้ยังมีหลักเกณฑ์ข้ออื่น ๆ อีกที่จำเลยไม่ได้พิจารณาจำเลยจึงต้องพิจารณาความดีความชอบประจำปีของโจทก์ใหม่
แม้จำเลยจะมอบให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นของพนักงานตามหลักเกณฑ์และคำสั่งของจำเลยเพราะมีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามแต่ขั้นสุดท้ายก็เป็นอำนาจของผู้อำนวยการธนาคารจำเลยที่จะพิจารณาสั่งและตามคำสั่งของจำเลยก็กำหนดไว้ชัดว่าผู้ที่จะสั่งขึ้นเงินเดือนหรือไม่ขึ้นเงินเดือนก็คือผู้อำนวยการธนาคารจำเลย กรณีจึงหาใช่เป็นอำนาจพิจารณาเด็ดขาดของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างผู้แทนสหภาพแรงงาน: ศาลไม่จำเป็นต้องรอผลคดีอาญา
ข้อพิพาทระหว่างลูกจ้างกับโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างในชั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์คือ ลูกจ้างอ้างว่าโจทก์เลิกจ้างเพราะลูกจ้างเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานเจรจาต่อรองกับโจทก์โจทก์อ้างว่าลูกจ้างทำผิดอาญา ผิดระเบียบข้อบังคับอย่างร้ายแรง จึงเลิกจ้างข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นประเด็นที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต้องวินิจฉัย
ข้อที่ว่าลูกจ้างลักทรัพย์ของนายจ้างศาลยังพิจารณาไม่ได้พิพากษาก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้คณะกรรมการต้องรอการพิจารณาไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงระเบียบจ่ายเงินบำนาญนายจ้างต้องไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเดิม และระเบียบเดิมยังคงมีผลบังคับ
ระเบียบจ่ายเงินบำนาญออกเมื่อใช้ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์แล้วใช้เฉพาะผู้เข้าทำงานหลังวันออกระเบียบ ผู้ทำงานมาก่อนใช้ระเบียบที่มีอยู่เดิม เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างนายจ้างแก้ไม่ได้ เว้นแต่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้าง: สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์มิใช่ผู้ถูกทำละเมิด หากเป็นเพียงนายจ้างของผู้ถูกทำละเมิด เป็นบุคคลภายนอก ที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเอากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ต้องมีกฎหมายรับรองสิทธิของโจทก์ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง (ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ค่าทดแทน และค่าชดเชย)ของผู้ถูกทำละเมิดเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ลูกจ้างตามคำสั่งของแรงงานจังหวัด ผูกพันกันตามกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นคนละเรื่องกับค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์กรณีที่ต้องขาดแรงงานในมูลละเมิด
ตามฟ้องของโจทก์ได้ความแล้วว่า โจทก์เป็นนายจ้างของลูกจ้างที่ได้รับอันตรายถึงตายและบาดเจ็บเพราะการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์ต้องขาดแรงงานระหว่างลูกจ้างบาดเจ็บต้องจ่ายเงินเดือนระหว่างลูกจ้างปฏิบัติงานไม่ได้ โรงงานต้องหยุดกิจการเพราะขาดแรงงาน ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของนายจ้างจากอุบัติเหตุที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต และขอบเขตความรับผิดของจำเลย
โจทก์มิใช่ผู้ถูกทำละเมิด หากเป็นเพียงนายจ้างของผู้ถูกทำละเมิด เป็นบุคคลภายนอก ที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเอากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ต้องมีกฎหมายรับรองสิทธิของโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง (ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ค่าทดแทน และค่าชดเชย) ของผู้ถูกทำละเมิด เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ลูกจ้างตามคำสั่งของแรงงานจังหวัด ผูกพันตามกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นคนละเรื่องกับค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์กรณีที่ต้องขาดแรงงานในมูลละเมิด
ตามฟ้องของโจทก์ได้ความแล้วว่า โจทก์เป็นนายจ้างของลูกจ้างที่ได้รับอันตรายถึงตายและบาดเจ็บเพราะการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์ต้องขาดแรงงานระหว่างลูกจ้างบาดเจ็บต้องจ่ายเงินเดือนระหว่างลูกจ้างปฏิบัติงานไม่ได้ โรงงานต้องหยุดกิจการเพราะขาดแรงงาน ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้
of 7