คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบนายจ้างต่อเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตรายระหว่างเดินทางไปทำงาน
ลูกจ้างของโจทก์ออกเดินทางจากบ้านพักจะไปโรงกุสีเพื่อเอาป้ายสำหรับเดินตรวจทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ แต่ยังเดินทางไปไม่ถึงโรงกุสีก็ถูกรถไฟชนถึงแก่ความตาย เป็นกรณีที่ผู้ตายยังมิได้เริ่มเดินตรวจทางตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ เพียงแต่กำลังเดินทางจะไปโรงกุลีซึ่งเท่ากับเป็นสถานที่ที่ผู้ตายจะเริ่มต้นทำงาน เมื่อผู้ตายได้รับอันตรายในขณะที่ยังเดินทางไปไม่ถึงสาถนที่ที่จะเริ่มต้นทำงานและยังมิได้ลงมือทำงานให้แก่โจทก์ จะถือว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ข้อ 2 (6) และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประสบอันตรายระหว่างเดินทางไปทำงาน ไม่ถือว่าเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จึงไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างของโจทก์ออกเดินทางจากบ้านพักจะไปโรงกุลีเพื่อเอาป้ายสำหรับเดินตรวจทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ แต่ยังเดินทางไปไม่ถึงโรงกุลีก็ถูกรถไฟชนถึงแก่ความตายเป็นกรณีที่ผู้ตายยังมิได้เริ่มเดินตรวจทางตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ เพียงแต่กำลังเดินทางจะไปโรงกุลีซึ่งเท่ากับเป็นสถานที่ที่ผู้ตายจะเริ่มต้นทำงานเมื่อผู้ตายได้รับอันตรายในขณะที่ยังเดินทางไปไม่ถึงสถานที่ที่จะเริ่มต้นทำงานและยังมิได้ลงมือทำงานให้แก่โจทก์จะถือว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม2515 ข้อ 2(6) และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างลดวันทำงานลูกจ้างหลังยื่นข้อเรียกร้องถือเป็นการกลั่นแกล้งขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
นายจ้างลดวันทำงานของลูกจ้าง 9 คน จาก 6 วันเหลือ 2 วันต่อสัปดาห์ เพราะยื่นข้อเรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา121(1) คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้นายจ้างใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อตกลงสภาพการจ้างก่อน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และค่าชดเชยต่างจากค่าเสียหาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แม้จะได้ทำกันไว้ก่อนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ ก็เป็นข้อตกลงที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 160 วรรค 2
การที่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่ได้กระทำความผิด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 นั้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องปฏิบัติมิใช่เป็นเรื่องตกลงประนีประนอมยอมความ และเป็นคนละกรณีกับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียชีวิตจากการถูกรถชนก่อนเข้าทำงาน ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน จึงไม่เข้าข่ายการจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างยืนอยู่ภายนอกหน้าประตูโรงงานก่อนถึงเวลาเริ่มทำงาน มีรถยนต์ที่แล่นมาตามถนนพุ่งเข้าชนตาย ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างคำสั่งอุทธรณ์ที่ให้จ่ายเงินทดแทนไม่ถูกต้องศาลเพิกถอนคำสั่งนั้น
of 7