คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 ม. 1488

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย แม้จะแยกกันอยู่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของช. โดยสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5และไม่ได้หย่าร้างกัน ช. คงอยู่ร่วมบ้านกับจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ กับโจทก์ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมคงได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 โดยขณะที่ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับ อยู่ ขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบัญญัติว่า 'ผู้ที่จะรับ บุตรบุญธรรม ... ฯลฯ .... ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอม ของคู่สมรสนั้นก่อน เว้นแต่คู่สมรสนั้นวิกลจริตหรือสูญหายไป ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี' เห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์จะคุ้มครองสิทธิ ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเมื่อโจทก์เป็นภริยาคนหนึ่งของ ช. การที่ ช.รับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมจึงจำต้องได้รับความ ยินยอมจากโจทก์ด้วย จะได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้อยู่ร่วมบ้านกับ ช. โจทก์ก็ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตหรือสูญหาย ไม่เป็นเหตุให้ ช.รับจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมของ ช. ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย แม้จะแยกกันอยู่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของช. โดยสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5และไม่ได้หย่าร้างกัน ช. คงอยู่ร่วมบ้านกับจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ กับโจทก์ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมคงได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 โดยขณะที่ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับ อยู่ ขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบัญญัติว่า "ผู้ที่จะรับ บุตรบุญธรรม ... ฯลฯ .... ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอม ของคู่สมรสนั้นก่อน เว้นแต่คู่สมรสนั้นวิกลจริตหรือสูญหายไป ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" เห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์จะคุ้มครองสิทธิ ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเมื่อโจทก์เป็นภริยาคนหนึ่งของ ช. การที่ ช.รับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมจึงจำต้องได้รับความ ยินยอมจากโจทก์ด้วย จะได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้อยู่ร่วมบ้านกับ ช. โจทก์ก็ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตหรือสูญหาย ไม่เป็นเหตุให้ ช.รับจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมของ ช. ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและอำนาจฟ้อง: เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงก่อนฟ้อง สิทธิของคู่สมรสเดิมย่อมไม่ได้รับผลกระทบ
เดิม จ. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ก่อนโจทก์บวชเป็นพระภิกษุและยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต่อมา จ. ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก หลังจากนั้น จ. ได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ชน โจทก์จึงมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. เป็นโมฆะ ดังนี้ เมื่อ จ. ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. ได้ขาดจากกันเพราะเหตุ จ. ถึงแก่ความตายตามมาตรา 1497 แล้ว เมื่อการสมรสซ้อนของจำเลยกับ จ.ขาดจากกันแล้วขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะคู่สมรสเดิมแต่อย่างใด และตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของผู้ตายหรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521