คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรชัย สมรรถเวช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ไม่มีการเลิกจ้าง นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดหรือจ่ายค่าจ้าง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45 บัญญัติว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามข้อ 10 และข้อ 32 ด้วย บทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่าถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 10 อยู่แล้ว ดังนั้น หากลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แต่นายจ้างไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีและนายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องลูกจ้างยังมีสภาพเป็นลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งรวมถึงเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ย่อมไม่ชอบ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุด พักผ่อนประจำปีตามฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยนำวันหยุดพักผ่อน ประจำปีของโจทก์ไปหักจากวันที่โจทก์ขาดงานและลางานเกินสิทธิ ที่กฎหมายกำหนดไว้หมดแล้ว คำให้การจำเลยดังกล่าวชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามฟ้อง เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด ข้อเท็จจริงส่วนนี้ กรณีจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงาน วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ไม่มีการเลิกจ้าง นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดหรือจ่ายค่าจ้าง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45 บัญญัติว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามข้อ 10 และข้อ 32 ด้วย บทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่า ถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 10 อยู่แล้ว ดังนั้น หากลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แต่นายจ้างไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีและนายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องลูกจ้างยังมีสภาพเป็นลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งรวมถึงเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ย่อมไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีของโจทก์ไปหักจากวันที่โจทก์ขาดงานและลางานเกินสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้หมดแล้ว คำให้การจำเลยดังกล่าวชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามฟ้อง เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงส่วนนี้ กรณีจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตดุลพินิจศาลแรงงานในการลงโทษทางวินัย: พิจารณาความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานขับรถได้กำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาโทษไว้ดังนี้ (1) ตักเตือนด้วยวาจาและบันทึกการตักเตือน(2) การตักเตือนเป็นหนังสือ (3) พักงาน 3 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (4) พักงาน7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ (5) ปลดออก ดังนั้นในการพิจารณาโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป
การกระทำความผิดของ ม.พนักงานขับรถในครั้งก่อน ผู้ร้องได้ลงโทษไปแล้ว และการกระทำความผิดของ ม.ในครั้งนี้มีระยะห่างจากการกระทำความผิดครั้งก่อน 1 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนั้น ม.ได้ขับรถประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกและผู้ร้องเสียหาย ทั้งความเสียหายที่ได้รับในครั้งนี้ก็คิดเป็นเงินประมาณ 3,500 บาท เมื่อพิจารณาสภาพของรถที่ ม.ขับและเวลาที่กระทำความผิดแล้ว เห็นได้ว่าความผิดของ ม.ไม่ร้ายแรง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ทั้งโทษตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ซึ่งเป็นโทษสถานเบากว่าโทษเลิกจ้างตามที่ผู้ร้องร้องขอ กรณีมิใช่ศาลแรงงานอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม.ต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันจะถือเป็นการลดโทษให้แก่ ม. คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษ ม.ดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการอนุญาตลงโทษทางวินัย ต้องพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิดและระเบียบข้อบังคับของบริษัท
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานขับรถได้กำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาโทษไว้ดังนี้ (1) ตักเตือนด้วยวาจาและบันทึกการตักเตือน(2) การตักเตือนเป็นหนังสือ (3) พักงาน 3 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (4) พักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ(5) ปลดออก ดังนั้นในการพิจารณาโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป การกระทำความผิดของ ม. พนักงานขับรถในครั้งก่อนผู้ร้องได้ลงโทษไปแล้ว และการกระทำความผิดของ ม.ในครั้งนี้มีระยะห่างจากการกระทำความผิดครั้งก่อน 1 ปีเศษโดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนั้น ม. ได้ขับรถประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกและผู้ร้องเสียหาย ทั้งความเสียหายที่ได้รับในครั้งนี้ก็คิดเป็นเงินประมาณ 3,500 บาท เมื่อ พิจารณาสภาพของรถที่ ม. ขับและเวลาที่กระทำความผิดแล้วเห็นได้ว่าความผิดของ ม. ไม่ร้ายแรง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม. ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีทั้งโทษตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 7 วันโดยไม่ได้รับค่าจ้างก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ซึ่งเป็นโทษสถานเบากว่าโทษเลิกจ้างตามที่ผู้ร้องร้องขอ กรณีมิใช่ศาลแรงงานอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษ ม. ต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันจะถือเป็นการลดโทษให้แก่ ม. คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษ ม. ดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จหลังเกษียณอายุ: จำเลยยอมรับสิทธิโจทก์โดยไม่ปฏิเสธถือว่ายอมรับตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินบำเหน็จว่า ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามฉบับที่ได้จดทะเบียน เกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุและที่มีอายุการทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไปมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ โดยนำค่าจ้างอัตราสุดท้ายคูณจำนวนปีของอายุงาน บวกด้วยค่าครองชีพคูณจำนวนปีของอายุงานลบด้วยเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วย 6 เดือน บวกด้วยค่าครองชีพคูณ 6 เดือน และตกลงว่าจะจ่ายเงินบำเหน็จภายใน30 วัน นับแต่วันครบเกษียนอายุ และโจทก์ทำงานติดต่อกันมา30 ปี 1 เดือน 23 วัน มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวน477,030.40 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีปฏิเสธเกี่ยวกับเงินบำเหน็จที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดังกล่าวเพราะเหตุใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จเกษียณอายุตามระเบียบสวัสดิการพนักงาน การยอมรับข้อกล่าวอ้างของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินบำเหน็จว่า ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามฉบับที่ได้จดทะเบียน เกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุและที่มีอายุการทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ โดยนำค่าจ้างอัตราสุดท้ายคูณจำนวนปีของอายุงาน บวกด้วยค่าครองชีพคูณจำนวนปีของอายุงานลบด้วยเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วย 6 เดือน บวกด้วยค่าครองชีพคูณ 6 เดือน และตกลงว่าจะจ่ายเงินบำเหน็จภายใน 30 วัน นับแต่วันครบเกษียนอายุ และโจทก์ทำงานติดต่อกันมา 30 ปี 1 เดือน 23 วัน มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวน 477,030.40 บาทเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีปฏิเสธเกี่ยวกับเงินบำเหน็จที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดังกล่าวเพราะเหตุใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้องแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจรัฐมนตรีสั่งการกรณีปิดงาน/นัดหยุดงาน และสิทธิลูกจ้างถูกเลิกจ้าง
อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่จะสั่งการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 35 นั้น มีได้เฉพาะกรณีที่นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานอยู่เท่านั้น เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างไปก่อนมีการปิดงานหรือการนัดหยุดงาน รัฐมนตรีย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างแล้วกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายแก่ลูกจ้างได้ กรณีไม่อาจตีความการใช้อำนาจของรัฐมนตรีตามมาตรา 35 ให้รวมไปถึงลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างไปก่อนแล้วได้ แม้การเลิกจ้างนั้นจะไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 ก็ตาม เพราะหากตีความเช่นนั้น บทบัญญัติมาตรา124 ก็จะไม่มีผลบังคับ
เมื่อนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างแล้ว แม้การเลิกจ้างดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการแสดงเจตนาของนายจ้างที่มีคำสั่งเลิกจ้างมีผลให้ลูกจ้างหมดสภาพการเป็นลูกจ้างทันที หากการเลิกจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฝ่ายลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่นายจ้างได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก เพราะกฎหมายได้บัญญัติขั้นตอนให้ดำเนินการต่อไปเป็นทางแก้ไว้แล้ว กล่าวคือ ฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องกล่าวหานายจ้างว่าได้กระทำการอันไม่เป็นธรรมต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืนตามมาตรา 124แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็จะต้องดำเนินการวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันต่อไป หากฝ่ายใดไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวก็อาจนำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ แต่มิใช่ว่าการกระทำใดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานต้องดำเนินการชี้ขาดเสียเองโดยไม่ต้องให้คู่กรณีไปว่ากล่าวกันเองต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐมนตรีสั่งการกรณีแรงงานสัมพันธ์: การเลิกจ้างก่อนการปิดงาน/นัดหยุดงาน ไม่อำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน
อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่จะสั่งการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 35 นั้น มิได้เฉพาะกรณีที่นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้าง นัดหยุดงานอยู่เท่านั้น เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างไปก่อนมีการปิดงานหรือการนัดหยุดงาน รัฐมนตรีย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างแล้วกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายแก่ลูกจ้างได้ กรณีไม่อาจตีความการใช้อำนาจของรัฐมนตรีตามมาตรา 35 ให้รวมไปถึงลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างไปก่อนแล้วได้ แม้การเลิกจ้างนั้นจะไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ก็ตาม เพราะหากตีความเช่นนั้น บทบัญญัติมาตรา 124 ก็จะไม่มีผลบังคับ เมื่อนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างแล้ว แม้การเลิกจ้างดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการแสดงเจตนาของนายจ้างที่มีคำสั่งเลิกจ้างมีผลให้ลูกจ้างหมดสภาพการเป็นลูกจ้างทันที หากการเลิกจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดฝ่ายลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่นายจ้างได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก เพราะกฎหมายบัญญัติขั้นตอนให้ดำเนินการต่อไปเป็นทางแก้ไว้แล้ว กล่าวคือ ฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องกล่าวหานายจ้างว่าได้กระทำการอันไม่เป็นธรรมต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืนตามมาตรา 124 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็จะต้องดำเนินการวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันต่อไป หากฝ่ายใดไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวก็อาจนำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ แต่มิใช่ว่าการกระทำใดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานก็ต้องดำเนินการชี้ขาดเสียเองโดยไม่ต้องให้คู่กรณีไปว่ากล่าวกันเองต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและผลของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ: การคำนวณเงินโบนัส
เดิมจำเลยกับลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับกำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในหนึ่งเดือน ไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินโบนัสตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องคำนวณจากรายได้ของลูกจ้าง ยกเว้นเฉพาะเงินเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จำเลยมิได้คำนวณเงินโบนัสจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว การที่ต่อมาจำเลยได้นำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน มาใช้บังคับแทนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแม้ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยฉบับนี้ ในเรื่องสวัสดิการพนักงานว่าด้วยเงินโบนัสประจำปีจะระบุไว้ว่า จำนวนเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน โดยไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานการคำนวณ และหลังจากจำเลยนำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานมาใช้แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณตลอดมา เช่นนี้ ซึ่งแสดงว่าการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างนั้นจำเลยมิได้ยึดถือว่าต้องนำเฉพาะเงินเดือนตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วยตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสโดยมิได้นำค่าครองชีพมารวมคำนวณ จึงฝ่าฝืนต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนระเบียบข้อบังคับ และการขัดคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 4.7 กำหนดเรื่องการขาดงาน ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลที่สมควร จะถูกพิจารณาโทษทางวินัย คือ ขาดงานครั้งแรก ไม่จ่ายค่าจ้างในวันขาดงานและออกหนังสือเตือนครั้งที่ 1 การขาดงานครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่า และ 3 เท่าของค่าจ้าง พร้อมกับออกหนังสือเตือนทั้งสองครั้งตามลำดับ การขาดงานครั้งที่ 4จึงจะเลิกจ้างได้ และข้อ 5.24 กำหนดว่า เจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบของศูนย์ประกันสังคมของจำเลยจะถูกพิจารณาลงโทษดังนี้ 1.ตักเตือนด้วยวาจา 2.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 1 3.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 2 4.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 3 พักงานโดยมีกำหนดโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ 5.เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนั้น ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว เจ้าหน้าที่ที่ขาดงานโดยละทิ้งหน้าที่จำเลยจะต้องเตือนด้วยวาจา 1 ครั้งก่อน หากมีการกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมหลังจากนั้นจำเลยจะต้องออกหนังสือเตือนถึง 3 ครั้ง เมื่อขาดงานครั้งที่ 5 จึงให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยทั้งสองนี้ ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงาน โดยในครั้งแรกโจทก์ได้รับคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ไปทำงานเป็นแพทย์ประกันสังคมประจำโรงพยาบาล ร. แต่โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตามจำเลยจึงได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาล ร. โจทก์รับทราบหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมไป เมื่อตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยจะต้องตักเตือนด้วยวาจา 1 ครั้ง และออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้งจึงจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จึงเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
แต่การที่โจทก์ได้รับคำสั่งจากศูนย์ประกันสังคมเอกชนในนามจำเลยที่ 1 ให้ไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาล ร. แต่โจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่ง เมื่อจำเลยมีหนังสือย้ำให้โจทก์ไปปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนด โจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อีก เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยทั้งสองโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ทั้งจำเลยได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ส่วนลำดับขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดให้จำเลยเตือนด้วยวาจาในครั้งแรก และออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้ง จึงจะเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้น เมื่อระเบียบดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดว่าให้ใช้แก่กรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ดังนี้จะนำระเบียบนี้มาใช้บังคับแก่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยแตกต่างจากการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และข้อ 47 หาได้ไม่ และการที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้ว จำเลยจึงมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
of 200