คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรชัย สมรรถเวช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: พิจารณาความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แสดงให้เห็นว่าในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่งนั้น มาตรา 26ได้วางหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ ฉะนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า พฤติการณ์ตามคำร้องของจำเลยมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้นั้นเท่ากับศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าคดียังไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยนั่นเอง เมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาในวันที่ 1 กันยายน 2540 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถ่ายคำพิพากษาวันที่ 2 กันยายน 2540 และแจ้งให้จำเลยทราบพร้อมทั้งแจ้งฐานะคดีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เพื่อขอคำยืนยันจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ ดังนี้ แม้ทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับคำยืนยันในหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับ คำยืนยันเป็นหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยเห็นว่าคดีมี เหตุควรอุทธรณ์ก็น่าจะอุทธรณ์ไปก่อนได้ เพราะทนายจำเลยมี อำนาจกระทำได้อยู่แล้วตามใบแต่งทนายทั้งไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างใด การที่ทนายจำเลยไม่ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานกลางจะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จ่ายค่าชดเชย หากไม่มีเหตุอันสมควรและมีการแต่งตั้งพนักงานใหม่
แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของจำเลยโดยลดจำนวนลูกจ้างลงเพื่อให้ธุรกิจของจำเลย สามารถอยู่ต่อไปได้ก็ตาม แต่เมื่อหน่วยงาน ๆ ในส่วนลูกค้าสัมพันธ์ซึ่งโจทก์เคยรับผิดชอบมิได้ถูกยุบเพียงแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ และจำเลยยังได้แต่งตั้งบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย แม้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรอยู่นั่นเอง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการจ่ายค่าชดเชย หากไม่มีเหตุผลสมควร
แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของจำเลยโดยลดจำนวนลูกจ้างลงเพื่อให้ธุรกิจของจำเลยสามารถอยู่ต่อไปได้ก็ตามแต่เมื่อหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนลูกค้าสัมพันธ์ซึ่งโจทก์เคยรับผิดชอบมิได้ถูกยุบเพียงแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ และจำเลยยังได้แต่งตั้งบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย แม้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรอยู่นั่นเองจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าพื้นที่ดาดฟ้าและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจากโจทก์ที่ 1 รวม 4 คูหา และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยที่ 1 ขอให้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยทั้งแปดถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และในการตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายยินยอมให้โจทก์ที่ 1หรือตัวแทนติดตั้งป้ายโฆษณาบนพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทมีกำหนด 30 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาจำเลยทั้งแปดได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณามีกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าทรัพย์สินเอกสารหมาย จ.10 ซึ่งเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา 30 วัน แต่ในระหว่างนั้นจำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปด เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ จึงเป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่า จึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า กรณีมิใช่การฟ้องร้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 และโจทก์ที่ 2มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปจนกว่าจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ที่ 2 ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้นเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเช่าทรัพย์สิน: การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนเพื่อความสมบูรณ์ของสิทธิเช่า และค่าเสียหายจากการไม่จดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจากโจทก์ที่ 1รวม 4 คูหา และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยที่ 1 ขอให้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยทั้งแปดถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และในการตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายยินยอมให้โจทก์ที่ 1 หรือตัวแทนติดตั้งป้ายโฆษณาบนพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทมีกำหนด 30 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาจำเลยทั้งแปดได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณามีกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าทรัพย์สินเอกสารหมายจ.10 ซึ่งเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา 30 วัน แต่ในระหว่างนั้นจำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปด เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ จึงเป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่า จึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า กรณีมิใช่การฟ้องร้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 538 และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปจนกว่าจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ที่ 2
ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขงานสัญญาภาครัฐ: การตกลงราคากับผู้มีอำนาจ และผลผูกพันสัญญา
สัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 มีข้อความว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องเลิกสัญญานี้ การเพิ่มเติมหรือลดงานจะต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ และถ้าต้องเพิ่มหรือลดเงินหรือยืดเวลาออกไปอีกก็จะได้ตกลงกัน ณ บัดนั้นและได้ระบุรายละเอียดส่วนหนึ่งของสัญญาว่าสำนักงบประมาณอนุมัติให้จำเลยลดจำนวนการถมดินลงพร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ รวม 5 รายการ วงเงิน3,473,900 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างพิพาทเท่านั้น ซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างทราบแต่ต้นแล้วว่าจำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมีวงเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นค่าจ้างได้ไม่เกินจำนวนดังกล่าว ทั้งการเพิ่มวงเงินจำเลยจะต้องขออนุมัติตามขั้นตอนของระเบียบทางราชการก่อน ส่วนการถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่ม ปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร และฝ่ายจำเลยซึ่งตกลงกับโจทก์คือคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งไม่มีอำนาจตกลงเพิ่มหรือลดเงินแทนจำเลย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยมิได้ทราบและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงราคากันใหม่ตามสัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 การถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่มจึงไม่ผูกพันจำเลยจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแก้ไขงานต้องตกลงราคากันใหม่ การตกลงด้วยวาจาและผู้ไม่มีอำนาจไม่ผูกพันจำเลย
สัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 มีข้อความว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องเลิกสัญญานี้การเพิ่มเติมหรือลดงานจะต้องคิดและตกลงราคากันใหม่และถ้าต้องเพิ่มหรือลดเงินหรือยึดเวลาออกไปอีกก็จะได้ตกลงกัน ณ บัดนั้น และได้ระบุรายละเอียดส่วนหนึ่งของสัญญาว่าสำนักงานงบประมาณอนุมัติให้จำเลยลดจำนวนการถมดินลงพร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ รวม 5 รายการ วงเงิน 3,473,900 บาทซึ่งเป็นจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างพิพาทเท่านั้น ซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างทราบแต่ต้นแล้วว่าจำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมีวงเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นค่าจ้างได้ไม่เกินจำนวนดังกล่าว ทั้งการเพิ่มวงเงินจำเลยจะต้องขออนุมัติตามขั้นตอนของระเบียบทางราชการก่อน ส่วนการถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่ม ปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร และฝ่ายจำเลยซึ่งตกลงกับโจทก์คือคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งไม่มีอำนาจตกลงเพิ่มหรือลดเงินแทนจำเลย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยมิได้ทราบและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงราคากันใหม่ตามสัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 การถมดินเพิ่มและการต่อสู้ฐานรากเสาเข็มเพิ่มจึงไม่ผูกพันจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอน/จำนองที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการโอน/จำนองได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้โอนเดิม
คำฟ้องโจทก์ยืนยันว่า ว.ดำเนินการจำนองแทนโจทก์โอนใส่ชื่อ ว.ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริงที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ได้ให้ ว.ลงลายมือชื่อในเอกสารแล้วจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ได้จัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 2 และการจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้โดยไม่จำต้องฟ้องให้เพิกถอนการโอนระหว่างโจทก์กับว.เข้ามาในคดีนี้ เพราะว.ไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์เท่านั้นมีสิทธิอ้างเหตุสิ้นภารจำยอม การใช้สิทธิไม่สุจริตเป็นปัญหาอำนาจฟ้อง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภารจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส. เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลาดตาข่ายปิดกั้นทางภารจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่าภารจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภารจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภารจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางภาระจำยอม: อำนาจฟ้องของผู้มีสิทธิสามยทรัพย์ และขอบเขตสิทธิของผู้เช่า/ผู้ครอบครอง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภาระจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภาระจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส.เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลวดตาข่ายปิดกั้นทางภาระจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม.เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่า ภาระจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ
โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
of 200