พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางภาระจำยอม: อำนาจฟ้องของผู้มีสิทธิสามยทรัพย์ และขอบเขตสิทธิของผู้เช่า/ผู้ครอบครอง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภาระจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภาระจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส.เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลวดตาข่ายปิดกั้นทางภาระจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม.เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่า ภาระจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ
โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ
โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567-2568/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกมูลนิธิเนื่องจากกรรมการไม่ครบองค์ประชุมและไม่สามารถหาเสียงข้างมากได้ตามกฎหมาย
การดำเนินกิจการของมูลนิธิต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 แต่กรรมการมูลนิธิบางคนตายคงเหลือเพียง 2 คน และไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ตามมาตรา 131(3) จึงต้องเลิกมูลนิธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: การเสนอสัญญา, คำสนอง, และผลของการไม่ตกลงกัน
ประกาศประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือของจำเลยที่1เป็นเพียงคำเชิญให้ทำคำเสนอโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาสูงสุดประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้จำเลยที่1ทำสัญญาเช่าหนังสือดังกล่าวเป็นคำเสนอของโจทก์แต่จำเลยที่1ขอเลื่อนการทำสัญญาออกไปหนังสือของจำเลยที่1จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา359วรรคสองต่อมาโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้ทำสัญญาเช่าภายใน7วันหากทำสัญญาเช่าไม่ได้ให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาทันทีนับแต่วันครบกำหนดและต้องคืนเงินค่าประจำซองในการประมูลพร้อมค่าเสียหายให้โจทก์จำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปทำสัญญากับจำเลยที่1ภายใน15วันซึ่งโจทก์ยืนยันไม่ประสงค์จะเข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อีกต่อไปเห็นได้ว่าการแสดงเจตนาระหว่างโจทก์กับจำเลยที1จะต้องบังคับให้เป็นไปตามเจตนาทำนิติกรรมสองฝ่ายเมื่อสัญญาเกิดขึ้นไม่ได้เพราะขาดความตกลงกันความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดลงจำเลยที่1ต้องคืนเงินประจำซองให้โจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลราคาจึงไม่ต้องมีส่วนร่วมในการคืนเงินด้วยและเมื่อยังไม่มีสัญญาเช่าต่อกันจำเลยที่1ก็ยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าให้โจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากงานพิเศษ: ความรับผิดของนายจ้างต่อการเสียชีวิตจากการทำงานนอกเวลางานปกติ
ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อคอยดูแลลูกค้าของนายจ้างตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งผู้ตายต้องทำงานทั้งวันตลอดระยะเวลาการเดินทางเฉพาะอย่างยิ่งในวันเดินทางที่เครื่องบินออกเดินทางเวลา 23 นาฬิกา โดยก่อนหน้านั้นผู้ตายต้องช่วยดูแลลูกค้าของนายจ้างเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบินและกระเป๋าเดินทางที่สนามบิน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวหากผู้ตายไม่ต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสย่อมเป็นเวลานอกเวลาทำงานและเป็นเวลาพักผ่อนของผู้ตาย ผู้ตายมีสุขภาพสมบูรณ์ดีและไม่มีโรคประจำตัว การที่ผู้ตายเข้าห้องน้ำเมื่อเวลา 6 นาฬิกาของวันเดินทางถัดมาและเป็นลมหมดสติไป เนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้ตายเหนื่อยจากการที่ต้องทำงานและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งเมื่อผู้ตายเป็นลมหมดสติไปในขณะที่เครื่องบินยังบินอยู่นั้น ย่อมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะส่งตัวผู้ตายไปถึงโรงพยาบาลและแพทย์ได้ตรวจรักษา ซึ่งถ้าได้ส่งตัวผู้ตายให้แพทย์ตรวจรักษาในทันทีหรือระยะเวลาอันสั้นหลังจากผู้ตายเป็นลม ผู้ตายก็ไม่น่าถึงแก่ความตายพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้เป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่การทำงานตามเวลาปกติของลูกจ้างเพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งถ้าผู้ตายทำงานตามปกติอยู่ในประเทศไทยเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่เกิดขึ้น เห็นได้โดยชัดเจนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายอันมีสาเหตุเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นการประสบอันตรายในความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงานพิเศษนอกสถานที่ ลูกจ้างเสียชีวิตจากการพักผ่อนไม่เพียงพอระหว่างปฏิบัติงานตามคำสั่งนายจ้าง
ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อคอยดูแลลูกค้าของนายจ้างตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งผู้ตายต้องทำงานทั้งวันตลอดระยะเวลาการเดินทางเฉพาะอย่างยิ่งในวันเดินทางที่เครื่องบินออกเดินทางเวลา23นาฬิกาโดยก่อนหน้านั้นผู้ตายต้องช่วยดูแลลูกค้าของนายจ้างเกี่ยวกับหนังสือเดินทางบัตรโดยสารเครื่องบินและกระเป๋าเดินทางที่สนามบินซึ่งระยะเวลาดังกล่าวหากผู้ตายไม่ต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสย่อมเป็นเวลานอกเวลาทำงานและเป็นเวลาพักผ่อนของผู้ตายผู้ตายมีสุขภาพสมบูรณ์ดีและไม่มีโรคประจำตัวการที่ผู้ตายเข้าห้องน้ำเมื่อเวลา6นาฬิกาของวันเดินทางถัดมาและเป็นลมหมดสติไปเนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้ตายเหนื่อยจากการที่ต้องทำงานและพักผ่อนไม่เพียงพอทั้งเมื่อผู้ตายเป็นลมหมดสติไปในขณะที่เครื่องบินยังบินอยู่นั้นย่อมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะส่งตัวผู้ตายไปถึงโรงพยาบาลและแพทย์ได้ตรวจรักษาซึ่งถ้าได้ส่งตัวผู้ตายให้แพทย์ตรวจรักษาในทันทีหรือระยะเวลาอันสั้นหลังจากผู้ตายเป็นลมผู้ตายก็ไม่น่าถึงแก่ความตายพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้เป็นกรณีพิเศษไม่ใช่การทำงานตามเวลาปกติของลูกจ้างเพราะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งถ้าผู้ตายทำงานตามปกติอยู่ในประเทศไทยเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่เกิดขึ้นเห็นได้โดยชัดเจนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายอันมีสาเหตุเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นการประสบอันตรายในความหมายของคำว่า"ประสบอันตราย"ตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตจากการทำงานหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ
ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อคอยดูแลลูกค้าของนายจ้างตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งผู้ตายต้องทำงานทั้งวันตลอดระยะเวลาการเดินทางเฉพาะอย่างยิ่งในวันเดินทางที่เครื่องบินออกเดินทางเวลา 23 นาฬิกา โดยก่อนหน้านั้นผู้ตายต้องช่วยดูแลลูกค้าของนายจ้างเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบิน และกระเป๋าเดินทางที่สนามบิน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวหากผู้ตายไม่ต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสย่อมเป็นเวลานอกเวลาทำงานและเป็นเวลาพักผ่อนของผู้ตาย ผู้ตายมีสุขภาพสมบูรณ์ดีและไม่มีโรคประจำตัว การที่ผู้ตายเข้าห้องน้ำเมื่อเวลา6 นาฬิกาของวันเดินทางถัดมาและเป็นลมหมดสติไป เนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้ตายเหนื่อยจากการที่ต้องทำงานและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งเมื่อผู้ตายเป็นลมหมดสติไปในขณะที่เครื่องบินยังบินอยู่นั้น ย่อมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะส่งตัวผู้ตายไปถึงโรงพยาบาลและแพทย์ได้ตรวจรักษา ซึ่งถ้าได้ส่งตัวผู้ตายให้แพทย์ตรวจรักษาในทันทีหรือระยะเวลาอันสั้นหลังจากผู้ตายเป็นลม ผู้ตายก็ไม่น่าถึงแก่ความตายพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้เป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่การทำงานตามเวลาปกติของลูกจ้างเพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของนายจ้าง ซึ่งถ้าผู้ตายทำงานตามปกติอยู่ในประเทศไทยเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่เกิดขึ้น เห็นได้โดยชัดเจนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายอันมีสาเหตุเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นการประสบอันตรายในความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย"ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนพ.ศ.2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และการละทิ้งหน้าที่ทำให้ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง
เงินค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถจำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือนจึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง, การละทิ้งหน้าที่ไม่มีสิทธิรับค่าจ้าง
เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน รวมทั้งวันหยุด วันลา หรือจ่ายให้ตามผลงาน ไม่ว่าค่าตอบแทนนั้นจะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ล้วนเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ทั้งสิ้นโจทก์ได้รับค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ 20,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน งวดละ 10,000 บาท เมื่อค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถ จำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือน จึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2538 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575
ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2538 อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้น ปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2538 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575
ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2538 อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้น ปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างรวมค่าเลี้ยงรับรอง-ค่าน้ำมันรถ, สิทธิได้รับค่าจ้างเมื่อละทิ้งหน้าที่, เลิกจ้าง
เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานรวมทั้งวันหยุดวันลาหรือจ่ายให้ตามผลงานไม่ว่าค่าตอบแทนนั้นจะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ล้วนเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ทั้งสิ้นโจทก์ได้รับค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ20,000บาทโดยแบ่งจ่ายทุกวันที่15และวันสิ้นเดือนงวดละ10,000บาทเมื่อค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถจำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือนจึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม2538จนถึงวันที่30มิถุนายน2538และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่30มิถุนายน2538ในระหว่างวันที่1ถึงวันที่30มิถุนายน2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575 ในระหว่างวันที่1มิถุนายน2538ถึงวันที่30มิถุนายน2538อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้นปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่1มิถุนายน2538ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาท & สิทธิอุทธรณ์: การกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง & การโต้แย้งคำสั่งศาลตามมาตรา 183 & 226 วรรคสอง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่จำเลยทั้งสองมีสิทธิคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นส่งกำหนดประเด็นและศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยานซึ่งคำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226ปรากฎว่าเมื่อวันที่16มิถุนายน2537ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ทนายจำเลยทั้งสองได้แถลงโต้แย้งด้วยวาจาขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไว้ด้วยศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดคำคัดค้านของทนายจำเลยทั้งสองแต่มีคำสั่งให้ยื่นบันทึกข้อโต้แย้งต่อศาลภายใน7วันต่อมาวันที่22มิถุนายน2537ทนายจำเลยทั้งสองจึงยื่นคำร้องขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงให้ยกคำร้องถือว่าเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่จำเลยทั้งสองต้องโต้แย้งไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226วรรคสองจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้แต่การที่จำเลยทั้งสองระบุท้ายคำร้องลงวันที่22มิถุนายน2537ว่าให้ถือคำแถลงฉบับดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไปนั้นเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(2)จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์