พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาท & สิทธิอุทธรณ์: การกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง & การโต้แย้งคำสั่งศาลตามมาตรา 183 & 226 วรรคสอง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่จำเลยทั้งสองมีสิทธิคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นส่งกำหนดประเด็นและศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยานซึ่งคำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226ปรากฎว่าเมื่อวันที่16มิถุนายน2537ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ทนายจำเลยทั้งสองได้แถลงโต้แย้งด้วยวาจาขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไว้ด้วยศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดคำคัดค้านของทนายจำเลยทั้งสองแต่มีคำสั่งให้ยื่นบันทึกข้อโต้แย้งต่อศาลภายใน7วันต่อมาวันที่22มิถุนายน2537ทนายจำเลยทั้งสองจึงยื่นคำร้องขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงให้ยกคำร้องถือว่าเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่จำเลยทั้งสองต้องโต้แย้งไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226วรรคสองจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้แต่การที่จำเลยทั้งสองระบุท้ายคำร้องลงวันที่22มิถุนายน2537ว่าให้ถือคำแถลงฉบับดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไปนั้นเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(2)จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมและการมีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ จำเลยได้แถลงโต้แย้งด้วยวาจาขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไว้ด้วยศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดคำคัดค้านของจำเลย แต่กลับมีคำสั่งให้จำเลยยื่นบันทึกข้อโต้แย้งต่อศาลภายใน 7 วัน ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมอีกว่า สัญญาเช่าท้ายฟ้องเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องดังกล่าวว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสามจำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 วรรคสอง จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แม้จำเลยจะระบุในท้ายคำร้องไว้ว่าให้ถือคำร้องฉบับดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไปก็ตามก็เป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดทุนทรัพย์ฟ้องแย้งในชั้นฎีกา: การคำนวณดอกเบี้ยหลังวันฟ้อง
จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ไปโดยสำคัญผิด จำเลยจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเพียง 199,993.23 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้ง จำเลยจึงฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยทั้งสองได้เพียง199,993.23 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจึงไม่เกิน 200,000บาท ฎีกาของจำเลยสำหรับฟ้องแย้งจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้
คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ฟ้องแย้งและการคำนวณค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จโดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ไปโดยสำคัญผิดจำเลยจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเพียง 199,993.23 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้งจำเลยจึงฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยทั้งสองได้เพียง199,993.23 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจึงไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยสำหรับฟ้องแย้ง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะหลังครบกำหนดอุทธรณ์ และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องทำหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เป็นคู่ความ
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว. บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว. ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าวเมื่อขณะที่ ว. ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ว. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความ แทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้น รับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็น คู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 43 เสียก่อน มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อน มีคำสั่งอนุญาตให้ ว. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขาย, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ, หนังสือมอบอำนาจและผลผูกพันสัญญา
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา6(1)ถึง(8)ตามสัญญาซื้อปุ๋ยจำเลยที่1ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ5ส่วนที่เหลือชำระภายใน12เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้องเพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไรจึงนำอายุความ2ปีตามบทกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม ที่จำเลยที่7ที่8 ที่9ที่10และที่17ฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่2ทำการซื้อปุ๋ยแทนหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่1จำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์นั้นจำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่1จำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่1ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน920,260บาทชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว46,020บาทคงค้างชำระ874,240บาทโจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523ถึงเดือนกันยายน2524เป็นเงิน73,873.28บาทรวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระณเดือนกันยายน2524เป็นเงิน948,113.28บาทในเดือนกันยายน2524จำเลยที่1ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก5,000บาทจึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ943,113.28แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนรวมอยู่ด้วยก็มิใช่ดอกเบี้ยฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้าชำระ943,113.28บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ5ปีตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา224วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีซื้อขายปุ๋ย, ลักษณะการเป็นพ่อค้า, และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา 6 (1) ถึง (8) ตามสัญญาซื้อปุ๋ย จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนที่เหลือชำระภายใน 12 เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ โจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา165 (1) เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้อง เพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไร จึงนำอายุความ 2 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการซื้อปุ๋ยแทน หนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10และที่ 17 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่ 1จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน 920,260 บาท ชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว 46,020 บาท คงค้างชำระ 874,240 บาท โจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน ของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523 ถึงเดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 73,873.28 บาท รวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระ ณ เดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 948,113.28 บาท ในเดือนกันยายน 2524 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก 5,000 บาท จึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาท แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน รวมอยู่ด้วย ก็มิใช่ดอกเบี้ย ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม แต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา 224 วรรคแรก
ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการซื้อปุ๋ยแทน หนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10และที่ 17 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่ 1จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน 920,260 บาท ชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว 46,020 บาท คงค้างชำระ 874,240 บาท โจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน ของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523 ถึงเดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 73,873.28 บาท รวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระ ณ เดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 948,113.28 บาท ในเดือนกันยายน 2524 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก 5,000 บาท จึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาท แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน รวมอยู่ด้วย ก็มิใช่ดอกเบี้ย ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม แต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้, ดอกเบี้ยผิดนัด, ฐานะโจทก์ไม่ใช่พ่อค้า
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา6(1)ถึง(8)ตามสัญญาซื้อปุ๋ยจำเลยที่1ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ5ส่วนที่เหลือชำระภายใน12เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราต่ำโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้องเพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไรจึงนำอายุความ2ปีมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: การเปลี่ยนแปลงชื่อโฉนดหลังมรณะ ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่พิพาทมาเป็นของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของป. เจ้าของที่แท้จริงจึงนำอายุความคดีมรดกมาใช้บังคับไม่ได้แม้ป.ถึงแก่ความตายนับถึงวันฟ้องในเวลา7ปีฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่ใช่ครั้งคราว แม้มีกำหนดสัญญา และต่อสัญญาได้
จำเลยมีอาชีพรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปเป็นปกติโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จำเลยประมูลได้จึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยจำเลยจ้างโจทก์ทำงานในโครงการดังกล่าวแม้จะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างระบุว่าในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครง>การยังไม่แล้วเสร็จจำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงานทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นรายๆไปจึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46