คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรชัย สมรรถเวช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดตามประกาศบริษัท และการแก้ไขข้อบังคับที่ไม่เป็นโทษ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัทส.ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้นกำหนดห้ามลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงานนายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้วแต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องกำหนดห้ามลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันถึงขั้นชกต่อยตบตีทำร้ายร่างกายกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างไม่ดังนั้นประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตามเพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้กำหนดถึงข้อบังคับดังกล่าวว่าอาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอนั้นหมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้างเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้ายร. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา56วรรคสองการกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องกรณีจึงมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ที่ล่าช้า จำเลยต้องแจ้งเหตุแห่งความล่าช้าและวันที่ทราบคำบังคับอย่างชัดเจน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่วงพ้นกำหนด15วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับแม้จะอ้างว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นก่อนฟ้องแล้วจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่จำเลยไม่ได้กล่าวว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใดทำให้ไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด15วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208ได้ถือได้ว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่คำบังคับ: กำหนดเวลา 15 วัน และเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตามคำสั่งศาลซึ่งให้มีผลบังคับทันทีในวันที่ 29 พฤษภาคม 2538 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 26กันยายน 2538 จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้ว แม้จำเลยจะอ้างในคำขอพิจารณาใหม่ว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ปี 2529 แล้วก่อนฟ้องซึ่งโจทก์ทราบดี โดยจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้ อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แม้เหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าจะได้กล่าวไว้ในคำขอให้พิจารณาใหม่แล้ว แต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ได้ ถือว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ต้องทำภายใน 15 วัน หรือแจ้งเหตุสุดวิสัยพร้อมระบุวันที่สิ้นสุดเหตุ เพื่อให้เริ่มต้นนับระยะเวลาได้
คดีนี้พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับไว้ณภูมิลำเนาของจำเลยตามคำสั่งศาลซึ่งให้มีผลบังคับทันทีในวันที่29พฤษภาคม2538จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่26กันยายน2538จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา15วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208แม้จำเลยจะอ้างในคำขอพิจารณาใหม่ว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ปี2529แล้วจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด15วันนับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แม้เหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าจะได้กล่าวไว้ในคำขอให้พิจารณาใหม่แล้วแต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใดจึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด15วันตามมาตรา208ได้ถือได้ว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ต้องแจ้งเหตุล่าช้าโดยละเอียดและชัดเจน หากไม่แจ้งเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถยื่นภายในกำหนด ศาลอาจไม่รับคำขอ
คดีนี้ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับไว้ณภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตามคำสั่งศาลซึ่งให้มีผลบังคับทันทีในวันที่29พฤษภาคม2538จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่26กันยายน2538จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา15วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้วแม้จำเลยจะอ้างในคำขอพิจารณาใหม่ว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ปี2529แล้วก่อนฟ้องซึ่งโจทก์ทราบดีโดยจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด15วันนับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แม้เหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าจะได้กล่าวไว้ในคำขอให้พิจารณาใหม่แล้วแต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใดจึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด15วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ได้ถือว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณีอื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุงานเพื่อสิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีมีการนัดหยุดงานและปิดงาน
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงานการที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา 136 และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม ดังนี้ การที่ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่จึงต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวม คำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลยทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน 120 วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็น ลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงาน, ปิดงาน, และสิทธิลูกจ้างทดลองงาน: การคำนวณระยะเวลาทำงานและสิทธิการเลิกจ้าง
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน การที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา ๓๑ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา ๑๓๖ และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม แต่การที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลย ทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน ๑๒๐ วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็นลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9785/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทางทะเล: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสัญญาและการสูญหายระหว่างทำงาน
อ.ปฏิบัติงานเป็นไต๋เรือทำหน้าที่ควบคุมดูแลการจับปลาและอุปกรณ์ตลอดจนลูกเรือ โดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายปลาที่หาได้เมื่อขายและหักค่าใช้จ่ายให้โจทก์แล้ว โจทก์จะได้65 เปอร์เซ็นต์ อ. และลูกเรือได้ 35 เปอร์เซ็นต์แสดงว่าอ. เพียงตกลงทำงานให้โจทก์เพื่อประโยชน์ในธุรกิจหาปลาเท่านั้น การกำหนดส่วนแบ่งจำนวนเงินเป็นเรื่องจูงใจให้ขยันทำงานถือว่าเป็นเงินที่แบ่งให้หรือจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานมีลักษณะเป็นค่าจ้าง อ. จึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ อ. ต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ในทะเลตลอดระยะเวลาที่อยู่ในทะเลจึงถือว่าเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะนำเรือกลับมาถึงฝั่ง เมื่อ อ. หายไปจากเรือที่ทำงานอยู่จึงถือได้ว่า อ. หายไปในระหว่างทำงาน เป็นการสูญหายตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พักงานลูกจ้างรอผลคดีอาญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนั้นมีความหมายว่าเป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วยซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงไม่ใช่เรื่องกาให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราวซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลงและลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างให้หยุดงานชั่วคราวลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ส่วนข้อความที่ว่า"ไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด"ในกฎหมายดังกล่าวนั้นก็หมายถึงมูลเหตุของกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างนั้นเองมิใช่กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวหรือพักงานแต่อย่างใดเช่นนี้การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยเพื่อรอการลงโทษจนกว่าคดีอาญาที่โจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจะถึงที่สุดนั้นนับว่าเป็นการให้ลูกจ้างหยุดงานเป็นการชั่วคราวสภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไปไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดเพราะเมื่อคดีถึงที่สุดปรากฎว่าโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างและจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้แก่โจทก์เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองก็ไม่มอบงานให้ทำแต่จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานกับเลิกจ้าง: ความแตกต่างตามกฎหมายแรงงานและสิทธิค่าจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง นั้น มีความหมายว่า เป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง ไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราว ซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลงและลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างให้หยุดงานชั่วคราวลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ ส่วนข้อความที่ว่า"ไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด" ในกฎหมายดังกล่าว นั้น ก็หมายถึงมูลเหตุของกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างนั่นเอง มิใช่กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวหรือพักงานแต่อย่างใด เช่นนี้ การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยเพื่อรอการลงโทษจนกว่าคดีอาญาที่โจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจะถึงที่สุดนั้น นับว่าเป็นการให้ลูกจ้างหยุดงานเป็นการชั่วคราว สภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดเพราะเมื่อคดีถึงที่สุดปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างและจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้แก่โจทก์ เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองก็ไม่มอบงานให้ทำแต่จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 200