คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรชัย สมรรถเวช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างเพื่อรอผลคดีอาญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากยังมีความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างอยู่
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเพื่อรอคดีอาญาที่โจทก์ ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการให้ลูกจ้าง หยุดงานเป็นการชั่วคราวสภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดเพราะเมื่อคดีถึงที่สุดหากโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานเสมือนว่าไม่เคยเลิกจ้างและต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้โจทก์เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองไม่มอบงานให้ทำ การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9742/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันแม้เจ้าหนี้ไม่ได้ลงชื่อ สัญญาค้ำประกันไม่เสียความสมบูรณ์หากผู้ลงนามแทนไม่มีอำนาจ
สัญญาค้ำประกันต้องการเพียงหลักฐาน เป็นหนังสือที่ผู้ค้ำประกันลงชื่อฝ่ายเดียวก็ใช้บังคับได้ เจ้าหนี้หรือโจทก์หาจำต้องลงชื่อด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์เป็นหนังสือและลงลายมือชื่อไว้แล้วจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์หาจำต้องลงลายมือชื่อแต่อย่างใดไม่แม้ผู้ลงลายมือชื่อแทนโจทก์จะไม่มีอำนาจ ซึ่งถือเสมือนว่าโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน แต่สัญญาก็มิเสียไปยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝากและสิทธิการถอนเงิน: สิทธิของผู้รับฝากและเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
เงินที่จำเลยฝากตกเป็นของธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากแล้ว ผู้ร้องคงมีหน้าที่แต่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่จำเลยตกลง มอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้แก่ผู้ร้องโดยใช้ข้อความว่าเป็นการจำนำก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้อง แม้จะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังเป็นของจำเลยอันผู้ร้องจะยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ และโดยสภาพแล้วสิทธิการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากย่อมไม่อาจส่งมอบแก่กันได้อย่างสิทธิซึ่งมีตราสาร ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 และการที่จำเลยมอบใบรับฝากประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ บุริมสิทธิจากการจำนำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9684/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระต่อคดี
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังมาตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247 เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินในคดีนี้เป็นของโจทก์ จำเลยฎีกาว่าการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9650-9651/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการสั่งพักงาน/ลงโทษทางวินัยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่1เป็นผู้อำนวยการของโจทก์ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะเดียวกันจำเลยที่1ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ด้วยและยังต้องปฏิบัติหน้าที่การงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับของโจทก์ส่วนจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นลูกจ้างโจทก์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับสินค้ามีหน้าที่ไปตรวจรับสินค้าว่ามีการซื้อขายตามจำนวนประเภทและราคาสินค้านั้นถูกต้องตรงตามสัญญาซื้อขายกันหรือไม่การที่จำเลยที่1มีคำสั่งให้คณะกรรมการตรวจรับที่โจทก์ตั้งขึ้นตรวจรับสินค้าตามหลักฐานเอกสารที่มีเพียงลายมือชื่อของผู้ซื้อว่าได้รับสินค้าไปถูกต้องแล้วพิจารณาจ่ายเงินให้ผู้ขายสินค้าไปและวิธีปฏิบัติตามที่จำเลยที่1กำหนดขึ้นก็ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยการรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินพ.ศ.2528ของโจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่2ที่3และที่4เป็นคณะกรรมการตรวจรับไม่เคยไปตรวจรับสินค้าคงตรวจแต่เอกสารการรับมอบแม้จะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1จำเลยที่2ที่3และที4ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแต่จำเลยที่2ที่3และที่4ยังปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่รักษาประโยชน์ของโจทก์เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย จำเลยที่2และที่3มิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เมื่อมีการสอบสวนทางวินัยก็ปรากฏว่าจำเลยที่2และที่3กระทำผิดทางวินัยคำสั่งของโจทก์ให้พักงานจำเลยที่2และที่3จึงมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยที่2และที่3การที่โจทก์มีคำสั่งลงโทษจำเลยที่2ด้วยการพักงานและลดขั้นเงินเดือนจึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์แล้ว จำเลยที่3ทำผิดวินัยโดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายการที่จำเลยที่3ต้องเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดโจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้จำเลยที่3 ฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องบังคับใช้ตามอายุความทั่วไปมีกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30จำเลยที1ถึงที่4ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นการผิดสัญญาในระหว่างปี2532ถึง2533แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่6สิงหาคม2536ยังไม่เกิน10ปีฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่2ที่3และที่4อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1ประนีประนอมยอมความหนี้กับโจทก์แล้วจำเลยที่2ที่3ที่4จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาว่าไม่มีการประนีประนอมยอมความในหนี้แต่อย่างใดต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อในคำให้การจำเลยที่1มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่อุทธรณ์ขึ้นมาอุทธรณ์ของจำเลยที่1จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9649/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมว่าลูกจ้างได้รับครบถ้วนแล้ว
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานฝ่าฝืนจากคำพยานหลักฐานในสำนวนเช่นวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยก็ดีเอกสารหมายล.1ถึงล.13เป็นรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่ชอบของโจทก์แต่ที่จริงเป็นเอกสารที่มีข้อความชดเชยโจทก์ก็ดีและควรวินิจฉัยว่าพยานบุคคลที่โจทก์นำมาสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานมาด้วยดีส่วนพยานหลักฐานของจำเลยล้วนแต่เป็นพนักงานของจำเลยไม่ควรรับฟังก็ดีปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยฝ่าฝืนพยานหลักฐานดังกล่าวโดยมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดเพราะเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยส่วนพยานเอกสารหมายล.1ถึงล.13ตรวจดูแล้วก็มิใช่หนังสือชมเชยการปฏิบัติงานของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่ามีข้อความชดเชยว่าโจทก์ปฏิบัติงานดีก็ไม่มีปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารใดคงมีแต่เอกสารหมายจ.7และจ.8ที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นล้วนแต่โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงส่วนที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือและศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ถูกรองกรรมการผู้จัดการของจำเลยเขียนหนังสือเตือนให้ปรับปรุงตัวใหม่ก็มิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมายนั้นเป็นเพียงการนำมาประกอบเหตุผลในการวินิจฉัยว่าพฤติกรรมในการทำงานของโจทก์มีอย่างไรเท่านั้นเพราะในกรณีเลิกจ้างและจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นั้นไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่ามีการเตือนเป็นหนังสือหรือไม่อุทธรณ์ข้อนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนแต่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสุดท้ายของเดือนเมื่อวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยเลิกจ้างโจทก์และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้นจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ตามเอกสารหมายล.9จำนวนเงิน73,920บาทซึ่งแยกเป็นค่าชดเชย63,350บาทกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า10,560บาทโจทก์ยอมรับว่าค่าชดเชยถูกต้องคงโต้แย้งเฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังนี้เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่31กรกฎาคม2532ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนจึงเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582วรรคหนึ่งซึ่งนายจ้างอาจจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่บัญญัติในมาตรา582วรรคสองเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอีก1เดือนเท่านั้นดังนั้นโจทก์จึงได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9649/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน และพิพากษาถูกต้องเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานฝ่าฝืนจากคำพยานหลักฐานในสำนวน เช่น วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยก็ดี เอกสารหมาย ล.1 ถึงล.13 เป็นรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่ชอบของโจทก์ แต่ที่จริงเป็นเอกสารที่มีข้อความชมเชยโจทก์ก็ดี และควรวินิจฉัยว่าพยานบุคคลที่โจทก์นำมาสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานมาด้วยดี ส่วนพยานหลักฐานของจำเลยล้วนแต่เป็นพนักงานของจำเลยไม่ควรรับฟังก็ดี ปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยฝ่าฝืนพยานหลักฐานดังกล่าวโดยมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดเพราะเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลย ส่วนพยานเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.13 ตรวจดูแล้วก็มิใช่หนังสือชมเชยการปฏิบัติงานของโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่ามีข้อความชมเชยว่าโจทก์ปฏิบัติงานดีก็ไม่มีปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารใด คงมีแต่เอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้น ล้วนแต่โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ส่วนที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือ และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ถูกรองกรรมการผู้จัดการของจำเลยเขียนหนังสือเตือนให้ปรับปรุงตัวใหม่ก็มิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมายนั้น เป็นเพียงการนำมาประกอบเหตุผลในการวินิจฉัยว่าพฤติกรรมในการทำงานของโจทก์มีอย่างไรเท่านั้น เพราะในกรณีเลิกจ้าง และจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นั้น ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่ามีการเตือนเป็นหนังสือหรือไม่ อุทธรณ์ข้อนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนแต่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสุดท้ายของเดือน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้น จำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.9จำนวนเงิน 73,920 บาท ซึ่งแยกเป็นค่าชดเชย 63,350 บาท กับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 10,560 บาท โจทก์ยอมรับว่าค่าชดเชยถูกต้อง คงโต้แย้งเฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนี้ เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่ 31กรกฎาคม 2532 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือน จึงเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 582วรรคหนึ่ง ซึ่งนายจ้างอาจจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่บัญญัติในมาตรา 582 วรรคสอง เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอีก 1 เดือน เท่านั้น ดังนั้นโจทก์จึงได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล้วงหน้าครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610-9623/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทั้งสิบสี่และคนงานอื่นรวม190คนผละงานประท้วงเมื่อวันที่21กรกฎาคม2538เวลาประมาณ8นาฬิกาซึ่งเป็นวันทำงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือและไม่มีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงไม่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13พฤติการณ์เป็นการร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ชอบแม้ต่อมาตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างจะตกลงกันได้โดยนายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างเป็นความผิดก็ตามแต่ตามบันทึกที่ทำขึ้นมีข้อความชัดเจนว่านายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงเป็นความผิดเฉพาะลูกจ้างที่ลงชื่อขอโทษและรับว่าจะไม่ผละงานอีกเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยยอมยกเว้นไม่ถือว่าการหยุดงานเป็นความผิดต่อเมื่อลูกจ้างลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงจะถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างไม่เป็นความผิดหาใช่เป็นเรื่องบังคับให้ลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อขอโทษแต่ประการใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ลงลายมือชื่อยอมรับผิดและรับว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกจึงไม่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงและการหยุดงานของโจทก์ทั้งสิบสี่เป็นการละเมิดต่อจำเลยจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ10.4เมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่นัดหยุดงานโดยไม่ชอบและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสิบสี่กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ทั้งสิบสี่ไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)(4)โจทก์ทั้งสิบสี่จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์ทั้งสิบสี่อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ในวันที่21กรกฎาคม2538เวลา18นาฬิกาเป็นการเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่กลับบ้านไปแล้วจึงเป็นการประกาศเลิกจ้างนอกเวลาทำงานเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9325/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: โจทก์ฟ้องศาลโดยไม่ผ่านอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลขาดอำนาจพิจารณา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างทำของไว้โดยมีข้อตกลงว่า หากมี กรณีพิพาทอันเกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญานี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการชี้ขาดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเทศไทยเป็นอนุญาโตตุลาการ ตามข้อความดังกล่าว เป็นการตกลงให้มีการระงับข้อพิพาทโดยทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์จำต้อง ปฏิบัติตามสัญญา เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9307/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น - การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง - ขอบเขตคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมไว้รอบ ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ คงมีทางออกอยู่ทางเดียวที่จำเลยปิดกั้นเสีย ทางดังกล่าวจึงเข้าลักษณะทางจำเป็น ทั้งคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้บังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ที่ทำขึ้นบนที่ดินเพื่อให้โจทก์เดินผ่านที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางพิพาทจึงไม่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
of 200