คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรชัย สมรรถเวช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ ต้องใช้ตามกฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ) คือ 3 ปี
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(4)กำหนดให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญมีอายุความ 5 ปีแต่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ มีบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะว่าสิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตามพระราชบัญญัตินี้มีกำหนดอายุความ 3 ปี เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน โดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 30(จ)กรณีจึงต้องนำอายุความตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 10มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 แต่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 ซึ่งเกินกำหนด3 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ: กฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494) ใช้บังคับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ รายเดือนตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่ 4.9 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานการรถไฟแห่งประเทศไทยข้อ 17 และ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) ย่อมเห็นได้ว่า การคำนวณเงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีสิทธินับเวลาทำงานตลอดจนวิธีการคำนวณเงินสงเคราะห์และวิธีการจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) แต่ผู้มีสิทธินับเอาประโยชน์จากเวลาทำงานช่วงหลังที่กลับเข้าทำงานใหม่ไปรวมกับเวลาทำงานช่วงแรกตามมาตรา 30(จ) ได้จะต้องเป็นผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติอยู่แล้วเมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับ เงินสงเคราะห์รายเดือนโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) เงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวจึงมีสภาพ เช่นเดียวกับเงินบำนาญปกตินั่นเอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(4)บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญ มีกำหนดอายุความ 5 ปีแต่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 10 บัญญัติให้สิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตามพระราชบัญญัตินี้ มีกำหนดอายุความ 3 ปี และพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494เป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงให้นำอายุความตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494 มาตรา 10 มาใช้บังคับ โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่30 กันยายน 2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ: กฎหมายพิเศษเฉพาะคุ้มครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 17 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 30 (จ) ย่อมเห็นได้ว่า การคำนวณเงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีสิทธินับเวลาทำงานตลอดจนวิธีการคำนวณเงินสงเคราะห์และวิธีการจ่ายเงิน ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 30 (จ) แต่ผู้มีสิทธินับเอาประโยชน์จากเวลาทำงานช่วงหลังที่กลับเข้าทำงานใหม่ไปรวมกับเวลาทำงานช่วงแรกตามมาตรา 30 (จ) ได้จะต้องเป็นผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติอยู่แล้วเมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ 2494 มาตรา 30 (จ) เงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวจึงมีสภาพเช่นเดียวกับเงินบำนาญปกตินั่นเอง แม้ ป.พ.พ.มาตรา 193/33(4) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญ มีกำหนดอายุความ 5 ปี แต่ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 10 บัญญัติให้สิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตาม พ.ร.บ.นี้ มีกำหนดอายุความ 3 ปี และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494 เป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงให้นำอายุความตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 10 มาใช้บังคับ
โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือนที่ลงเวลาทำงานเท็จ แต่ไม่ทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้แน่นอน และการคิดค่าจ้าง รายเดือนมิได้นำจำนวนวันหรือจำนวนชั่วโมงที่โจทก์เข้าปฏิบัติงานจริงเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้าง ถ้าโจทก์ขาดงานหรือไปปฏิบัติงานสายบ้าง โจทก์ก็มิได้ถูกลดหรือถูกตัดค่าจ้างในวันดังกล่าว โจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างรายเดือนเต็มจำนวน การที่โจทก์ไปปฏิบัติงานจริงเวลา 8.20 นาฬิกาแต่ลงเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 นาฬิกา แม้เป็นเท็จแต่เมื่อไม่ทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างหรือประโยชน์อย่างอื่นจากจำเลยเพิ่มขึ้น จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของ โจทก์ไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นเพียงการไปปฏิบัติงานสายและรายงานเท็จเกี่ยวกับเวลาเริ่มปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ซึ่งไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงการที่จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ โจทก์ไปปฏิบัติงานสาย แล้วโจทก์ยังรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างให้โจทก์กับไม่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือน กรณีรายงานเวลาทำงานเท็จ แม้ไม่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้แน่นอน และการคิดค่าจ้างรายเดือนมิได้นำจำนวนวันหรือจำนวนชั่วโมงที่โจทก์เข้าปฏิบัติงานจริงเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้าง ถ้าโจทก์ขาดงานหรือไปปฏิบัติงานสายบ้าง โจทก์ก็มิได้ถูกลดหรือถูกตัดค่าจ้างในวันดังกล่าว โจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างรายเดือนเต็มจำนวน การที่โจทก์ไปปฏิบัติงานจริงเวลา 8.20นาฬิกา แต่ลงเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 นาฬิกา แม้เป็นเท็จ แต่เมื่อไม่ทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างหรือประโยชน์อย่างอื่นจากจำเลยเพิ่มขึ้น จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นเพียงการไปปฏิบัติงานสายและรายงานเท็จเกี่ยวกับเวลาเริ่มปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ซึ่งไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงการที่เลิกจ้างจำเลยโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์ไปปฏิบัติงานสายของโจทก์แล้วโจทก์ยังรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างให้โจทก์ กับไม่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ แต่รู้เห็นยินยอมให้อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำอุปกรณ์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างออกไปทำหน้าที่ผู้จัดการประจำเขตการขายที่โจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ และการเป็นผู้จัดการประจำเขตเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคลซึ่งผ่านการคัดเลือกจากจำเลย หาใช่มอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งไม่ผ่านการคัดเลือกมาทำการแทนได้ไม่ การที่โจทก์ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่รับเงินค่าจ้างทุกเดือนย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นลูกจ้างรายเดือนวันที่ไม่ทำงานยังมีสิทธิได้ค่าจ้างจึงไม่เป็นการทุจริตหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างจะได้ค่าจ้างในวันที่ไม่ทำงานต้องเป็นกรณีลาหยุดงานโดยชอบหรือเป็นกรณีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
แม้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีเพียงบทลงโทษการที่โจทก์ไม่ออกไปทำงานก็ตามแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลย มีตำแหน่งผู้จัดการประจำเขตการขายรับผิดชอบงานขาย และจำเลยได้มีหนังสือส่งถึงโจทก์โดยตรง กล่าวย้ำถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งของโจทก์ ซึ่งลักษณะงานต้องติดต่อกับสาวเอวอนตลอดเวลา และหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดระบุชัดว่า รถยนต์ที่บริษัทจำเลยจัดหาให้โจทก์ จำเลยไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้จัดการประจำเขตนำไปใช้เด็ดขาด การที่โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบต้องติดต่อสาวเอวอนตลอดเวลา แต่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ออกปฏิบัติงาน โดยรู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่นออกแสดงเป็นผู้จัดการประจำเขต ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอยู่ในตัว และที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.ซึ่งไม่ใช่พนักงานของจำเลย นำรถยนต์ประจำตำแหน่งของจำเลยไปใช้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยแจ้งชัด และนอกจากนี้การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.เรียกเก็บค่าสมัครสาวเอวอนโดยไม่มีสิทธิ แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้าจากจำเลยแล้วไม่ชำระค่าสินค้า ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ และเสียทางทำมาหาได้ ถือได้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมในการก่อความเสียหายดังกล่าวให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังว่าโจทก์ยินยอมให้ อ.นำอุปกรณ์ไปรับสมัครสาวเอวอน เก็บค่าสมัคร แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้านำหลักฐานของผู้อื่นไปแอบอ้างสมัคร ทำให้จำเลยเสียหาย เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบบริษัท ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงาน
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ แต่รู้เห็นยินยอมให้ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำอุปกรณ์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างออกไปทำหน้าที่ผู้จัดการประจำเขตการขายที่โจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ และการเป็นผู้จัดการประจำเขตเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคลซึ่งผ่านการคัดเลือกจากจำเลยหาใช่มอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งไม่ผ่านการคัดเลือกมาทำการแทนได้ไม่ การที่โจทก์ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่รับเงินค่าจ้างทุกเดือนย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นลูกจ้างรายเดือนวันที่ไม่ทำงานยังมีสิทธิได้ค่าจ้างจึงไม่เป็นการทุจริตหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างจะได้ค่าจ้างในวันที่ไม่ทำงานต้องเป็นกรณีลาหยุดงานโดยชอบหรือเป็นกรณีอื่น ที่กฎหมายบัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง แม้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีเพียงบทลงโทษการที่โจทก์ไม่ออกไปทำงานก็ตามแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยมีตำแหน่งผู้จัดการประจำเขตการขายรับผิดชอบงานขายและจำเลยได้มีหนังสือส่งถึงโจทก์โดยตรง กล่าวย้ำถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งของโจทก์ ซึ่งลักษณะงานต้องติดต่อกับสาวเอวอนตลอดเวลา และหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดระบุชัดว่า รถยนต์ที่บริษัทจำเลยจัดหาให้โจทก์ จำเลยไม่อนุญาตให้บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ผู้จัดการประจำเขตนำไปใช้เด็ดขาด การที่โจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบต้องติดต่อสาวเอวอนตลอดเวลา แต่โจทก์ ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ออกปฏิบัติงาน โดยรู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่น ออกแสดงเป็นผู้จัดการประจำเขต ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับการทำงานอยู่ในตัว และที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ. ซึ่งไม่ใช่พนักงานของจำเลย นำรถยนต์ประจำตำแหน่งของจำเลย ไปใช้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยแจ้งชัด และนอกจากนี้การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.เรียกเก็บค่าสมัครสาวเอวอนโดยไม่มีสิทธิ แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้า จากจำเลยแล้วไม่ชำระค่าสินค้า ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียง เกียรติคุณ และเสียทางทำมาหาได้ ถือได้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอม ในการก่อความเสียหายดังกล่าวให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังว่าโจทก์ยินยอมให้ อ.นำอุปกรณ์ไปรับสมัครสาวเอวอน เก็บค่าสมัคร แอบอ้างชื่อสาวเอวอน สั่งสินค้านำหลักฐานของผู้อื่นไปแอบอ้างสมัครทำให้จำเลยเสียหาย เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับค่าจ้างของลูกจ้างรายเดือน แม้ขาดงาน นายจ้างต้องมีสิทธิหักค่าจ้างตามข้อตกลงหรือระเบียบชัดเจน
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเดือน เมื่อไม่มีข้อตกลงหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สิทธิแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่มาทำงานหรือขาดงานโดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขาดงานและทำงานไม่ครบเวลาในเดือนมีนาคมและเมษายน 2540 ก็ตาม ก็มิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 และ 421จำเลยย่อมไม่มีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ขาดงานโดยมิชอบนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้าง: นายจ้างหักค่าจ้างโดยไม่ชอบ
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเดือน เมื่อไม่มีข้อตกลงหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สิทธิแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่มาทำงานหรือขาดงานโดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขาดงานและทำงานไม่ครบเวลาในเดือนมีนาคมและเมษายน 2540 ก็ตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ขาดงานโดยมิชอบนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทนายความทำสัญญาประนีประนอม: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยว่า จำเลยแต่งตั้งให้ ก.เป็นทนายความ และใบแต่งทนายความดังกล่าวระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมจึงมิใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ถือได้ว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความในใบแต่งทนายความระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และมิได้ยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความดังกล่าวในใบแต่งทนายความ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 200