พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9307/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น - การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง - ขอบเขตคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมไว้รอบ ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ คงมีทางออกอยู่ทางเดียวที่จำเลยปิดกั้นเสีย ทางดังกล่าวจึงเข้าลักษณะทางจำเป็น ทั้งคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้บังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ที่ทำขึ้นบนที่ดินเพื่อให้โจทก์เดินผ่านที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางพิพาทจึงไม่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9184/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์จากการดูแลที่ไม่ระมัดระวัง
จำเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองดูแลจำเลยที่ 1ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3 ขายของ จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9154-9155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้ทำสัญญาหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลจัดที่ดินของรัฐให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้นการที่มีบทบัญญัติห้ามโอนที่ดินแก่ผู้อื่นเว้นแต่การตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ผู้รับที่ดินเป็นสมาชิกอยู่และกำหนดให้ที่ดินดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็เพื่อให้ผู้ได้รับที่ดินใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ตามเจตนารมณ์ดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียที่ดินไปโดยง่ายหรือมีการจำหน่ายจ่ายโอนไปให้ผิดจากเจตนารมณ์ดังกล่าวดังนั้นการที่โจทก์ตกลงขายที่ดินให้จำเลยเพื่อหักหนี้และมอบที่ดินให้จำเลยซึ่งได้กระทำกันภายในระยะเวลาซึ่งยังอยู่ในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีเจตนาจะโอนที่ดินกันและก่อสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อไปแม้จะกำหนดให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันภายหลังพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตามก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายเป็นนิติกรรมอันมีวัตถุที่มีประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(เดิม)จำเลยจะยกนิติกรรมอันเป็นโมฆะดังกล่าวนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้กู้ยืมจากโจทก์และไม่ออกจากที่ดินของโจทก์ไม่ได้ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9084/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ กรณีประมาทขับรถชน
จำเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่น จะนำ ป.พ.พ.มาตรา429 มาปรับใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองดูแลจำเลยที่ 1 ต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 430มาปรับใช้บังคับ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 430 มาใช้บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้โดยชอบ
จากพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ โดยไม่เคยว่ากล่าวตักเตือนจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ใหม่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3)(ก), 247
จำเลยที่ 2 เป็นผู้บอกจำเลยที่ 3 ให้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ขับรถไม่ค่อยเป็นไม่สามารถขับรถยนต์ออกถนนใหญ่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ทราบดีและยังทราบว่าจำเลยที่ 1 เคยขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ควรจะเก็บกุญแจรถยนต์จิ๊ปไว้ในที่ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำออกไปใช้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3ขายของ จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ในการทำละเมิดต่อโจทก์
จากพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ โดยไม่เคยว่ากล่าวตักเตือนจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ใหม่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3)(ก), 247
จำเลยที่ 2 เป็นผู้บอกจำเลยที่ 3 ให้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ขับรถไม่ค่อยเป็นไม่สามารถขับรถยนต์ออกถนนใหญ่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ทราบดีและยังทราบว่าจำเลยที่ 1 เคยขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ควรจะเก็บกุญแจรถยนต์จิ๊ปไว้ในที่ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำออกไปใช้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3ขายของ จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ในการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9084/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์จากความประมาทเลินเล่อในการดูแล
จำเลยที่2เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้เยาว์การที่จำเลยที่1ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา429มาปรับใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จำเลยที่2จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้แต่จำเลยที่2เป็นผู้ปกครองดูแลจำเลยที่1ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา430มาปรับใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2ศาลจึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา430มาใช้บังคับให้จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์ได้โดยชอบ จากพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่าจำเลยที่2เป็นผู้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่3และจำเลยที่2และที่3เคยยอมโดยปริยายให้จำเลยที่1ขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ โดยไม่ว่ากล่าวตักเตือนจำเลยที่1การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบแม้คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ใหม่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(3)(ก),247 จำเลยที่2เป็นผู้บอกจำเลยที่3ให้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่3จำเลยที่1ขับรถไม่ค่อยเป็นไม่สามารถขับรถยนต์ออกถนนใหญ่ได้ซึ่งจำเลยที่2และที่3ก็ทราบดีและยังทราบว่าจำเลยที่1เคยขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ด้วยตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่2และที่3ควรจะเก็บกุญแจรถยนต์จิ๊ปไว้ในที่ซึ่งจำเลยที่1ไม่สามารถนำออกไปใช้ได้การที่จำเลยที่2ให้จำเลยที่3นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่3ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่3ขายของจนเป็นเหตุให้จำเลยที่1แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่1บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นจำเลยที่2และที่3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7002/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดรองการใช้บัตรเครดิต: สัญญาทำการงาน อายุความ 2 ปี เริ่มนับจากผิดนัด
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ และนำบัตรที่โจทก์ออกให้ไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้ากับเบิกเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารในระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน 2532ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2532 หลายครั้ง โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลย แต่จำเลยไม่ชำระคืนให้โจทก์ โจทก์จึงยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของจำเลยและทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้ง จำเลยไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงินทดรองที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสดล่วงหน้า และเบี้ยปรับผิดสัญญาในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 113,245.77 บาท โดยโจทก์ได้แนบสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีมาท้ายฟ้องเพื่อให้จำเลยตรวจสอบด้วยแล้ว ซึ่งเอกสารดังกล่าวเป็นรายละเอียดแห่งหนี้ที่แสดงรายการที่จำเลยนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้ซื้อสินค้าบริการและเบิกเงินสดในแต่ละครั้งไว้ ซึ่งรายการดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นสถานที่ใดและในวันใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าอัตราดอกเบี้ยขณะที่จำเลยผิดสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้เท่าไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิต โดยโจทก์ออกบัตรเครดิตให้แก่สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้าที่ตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสด โจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของสมาชิกที่ธนาคารโจทก์โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ด้วย และการให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 (7)
โจทก์จำเลยได้ตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้ไว้ว่า เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนไปแล้ว โจทก์จัดส่งใบแจ้งยอดบัญชีให้จำเลยทราบโดยคิดยอดหนี้ทุกวันที่ 20 ของเดือน กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ปรากฏว่าใบแจ้งยอดบัญชีครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ดังนั้น หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่6 ธันวาคม 2532 โจทก์มาฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536จึงเกิน 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิต โดยโจทก์ออกบัตรเครดิตให้แก่สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้าที่ตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสด โจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของสมาชิกที่ธนาคารโจทก์โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ด้วย และการให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 (7)
โจทก์จำเลยได้ตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้ไว้ว่า เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนไปแล้ว โจทก์จัดส่งใบแจ้งยอดบัญชีให้จำเลยทราบโดยคิดยอดหนี้ทุกวันที่ 20 ของเดือน กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ปรากฏว่าใบแจ้งยอดบัญชีครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ดังนั้น หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่6 ธันวาคม 2532 โจทก์มาฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536จึงเกิน 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างในการปฏิบัติงาน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินกิจการโรงสีข้าว ท. ร่วมกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 3 บรรทุกข้าวสารของโรงสีข้าว ท. ไปส่งตามคำสั่งของจำเลยที่ 3 โดยประมาทเลินเล่อชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ เป็นการทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย ไม่อยู่ในอำนาจฎีกา
ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาใหม่นั้นแท้จริงแล้วเนื้อหาของคำร้องเป็นเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องงดการบังคับคดีแม้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งมาในเรื่องงดการบังคับคดีก็ถือได้ว่าเป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์นั่นเองกรณีเช่นนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งประการใดแล้วก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งกฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์การขอทุเลาการบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา231ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153จึงเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆดังนั้นฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไปก่อนแล้วและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่จำเลยทั้งสองจะได้รับความเสียหายทั้งหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ซึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องทุเลาการบังคับจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการทุเลาการบังคับคดีและการห้ามฎีกาในเรื่องเดียวกัน
ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาใหม่นั้น แท้จริงแล้วเนื้อหาของคำร้องเป็นเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องงดการบังคับคดี แม้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งมาในเรื่องงดการบังคับคดีก็ถือได้ว่าเป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์นั่นเอง กรณีเช่นนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งประการใดแล้วก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งกฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ การขอทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 231ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 จึงเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่น ๆดังนั้น ฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไปก่อนแล้ว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ จำเลยทั้งสองจะได้รับความเสียหาย ทั้งหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน และเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ซึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องทุเลาการบังคับ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6643/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา: ความน่าเชื่อถือของพยานบุคคล, คำรับสารภาพ, และการพิสูจน์ความผิด
บริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟสว่างพอที่ประจักษ์พยานจะมองเห็นเหตุการณ์ได้แม้ท. เบิกความชั้นพิจารณาไม่ตรงกับพยานปากอื่นแต่ท. ก็เบิกความว่าในวันเบิกความจำหน้าคนร้ายไม่ได้แล้วและชั้นสอบสวนท. ชี้ตัวคนร้ายตรงกับคำเบิกความพยานโจทก์ปากอื่นอีก2ปากพยานโจทก์ปากนี้จึงไม่เสียไปเมื่อจำเลยทั้งสองถูกจับในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองก็ให้การรับสารภาพและพาไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพหลังเกิดเหตุเพียง3วันเชื่อว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจจึงใช้ยันจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134