พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ความผิดสัญญา, ฟ้องเคลือบคลุม, ข้อจำกัดการฎีกาในฟ้องแย้ง
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ฟ้องอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่24มิถุนายน2535แต่ปรากฎว่าหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ฝ่ายละฉบับกลับลงวันที่21มิถุนายน2535เห็นได้ว่าเป็นสัญญาคนละฉบับกับที่ฟ้องฟ้องจึงเคลือบคลุมนั้นเมื่อจำเลยให้การมิได้อ้างเหตุนี้ว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมจำเลยเพิ่มจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งเพราะทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกิน200,000บาทและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคแรกโดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม & ศาลฎีกาปฏิเสธรับวินิจฉัยฟ้องแย้งเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ 24 มิถุนายน 2535 แต่ปรากฏว่าหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ฝ่ายละฉบับกลับลงวันที่ 21 มิถุนายน 2535 เห็นได้ว่าเป็นสัญญาคนละฉบับกับที่ฟ้อง ฟ้องจึงเคลือบคลุมนั้น เมื่อจำเลยให้การมิได้อ้างเหตุนี้ว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมจำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกา แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งเพราะทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกิน 200,000 บาท และคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตามป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งเพราะทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกิน 200,000 บาท และคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตามป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความอ้าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การในตอนแรกว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่ 12 ไร่ โจทก์ไม่เคยครอบครองจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์มาแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ปี 2517 โดยรับโอนการครอบครองมาจาก พ. โดยมีค่าตอบแทน จำเลยครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเองมาโดยตลอด แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า หากที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อเกิน 1 ปีแล้ว นับแต่จำเลยเข้าครอบครองที่ดิน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และวินิจฉัยมาด้วยนั้น กับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1 ปี หรือไม่ เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และวินิจฉัยมาด้วยนั้น กับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1 ปี หรือไม่ เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท การเปลี่ยนแปลงคำให้การ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองเนื้อที่ประมาณ8ไร่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับเรียกค่าเสียหายจำเลยให้การในตอนแรกว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่12ไร่โจทก์ไม่เคยครอบครองจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์มาแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ปี2517โดยรับโอนการครอบครองมาจากพ.โดยมีค่าตอบแทนจำเลยครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเองมาโดยตลอดแต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่าหากที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อเกิน1ปีแล้วนับแต่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองแต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฎิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิงคดีจึงคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และวินิจฉัยมาด้วยนั้นกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค3ฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษากลับเมื่อประเด็นการครอบครองไม่ชัดเจนและประเด็นข้อกฎหมายสำคัญมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทโดยรับโอนการครอบครองมาจาก พ. โดยมีค่าตอบแทน แต่กลับให้การในตอนหลังว่า หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะนำคดีมาฟ้องเมื่อเกิน 1 ปีแล้ว นับแต่จำเลยเข้าครอบครองเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือโจทก์แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและวินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนจึงไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ถือเป็นโกงเจ้าหนี้
แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลยที่ 3กับพวก แต่จำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเมื่อขณะจำเลยที่ 3 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเงินเท่าใด และยังไม่แน่นอนว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 3 หรือไม่ การโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เป็นการโอนโดยชอบ การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ต่อไป จึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6183/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินการทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน การใช้วาจาและกิริยาอาการไม่สุภาพถือเป็นเหตุให้ลงโทษทางวินัยได้
การทะเลาะวิวาทตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่จำต้องถึงขนาดใช้คำหยาบ คำด่า หรือใช้กำลังทำร้าย การใช้วาจาโต้เถียง โดยไม่ฟังเหตุผล และมิใช่เป็นการชี้แจงเหตุผลโดยสุภาพตามควร ประกอบกับการใช้กิริยาอาการที่ทำให้เห็นได้ว่าไม่เคารพยำเกรง และเชื่อฟังหัวหน้างานก็ถือเป็นการทะเลาะวิวาทได้ ข. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเตือนโจทก์เกี่ยวกับการทำงาน โจทก์กลับแสดงกิริยาอาการพูดจาก้าวร้าวพร้อมกับตบโต๊ะทำงานต่อหน้า ข. และเพื่อนร่วมงานอีกหลายคนภายในที่ทำการของจำเลย ถือว่าเป็นการทะเลาะวิวาทกับลูกจ้างอื่นหรือบุคคลอื่นในบริเวณที่ทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายตามที่ทำการ - ข้อยกเว้น พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้าน
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการ โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานคร และได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2526 ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัย เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่ และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) หรือมาตราอื่นใดแห่ง พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – การย้ายไปต่างท้องที่และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
เดิมที่ทำการของโจทก์อยู่ที่กรุงเทพมหานครส่วนจำเลยเป็นข้าราชการสังกัดของโจทก์โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครเช่นกันต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฎิบัติราชการประจำที่ที่ทำการใหม่ของโจทก์ด้วยมีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำที่ทำการของโจทก์ในต่างท้องที่และเมื่อการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่ทำการแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่งหรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯที่จะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจำเลยจึงมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการโดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานครและได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่16มกราคม2526ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัยเขตพญาไทกรุงเทพมหานครต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูดอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีการที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่ง(1)ถึง(4)หรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการจำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้