พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6160/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ โดยการตรวจสอบเอกสารจดทะเบียนรถยนต์หลายคัน ถือเป็นกรรมต่างวาระ
ในการยื่นคำขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์แต่ละคันผู้ขอต้องยื่นแบบเรื่องราวขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์พร้อมเอกสารต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจคำขอและเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุญาตพิจารณาแบบเรื่องราวสำหรับรถยนต์แต่ละคันแยกกันต่างหากเป็นราย ๆ ไป แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบหลักฐานได้พิจารณาคำขอพร้อมเอกสารต่าง ๆสำหรับรถยนต์แต่ละคันว่าหลักฐานเกี่ยวกับตัวรถยนต์ถูกต้องตรงกันกับเอกสารหรือไม่ ในเวลาต่อเนื่องกันก็กระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกระทงตามจำนวนเรื่องราวขอจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์แต่ละคัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกันในแต่ละวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คที่ออกหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ และโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
หนี้ตามฟ้องของโจทก์เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมายื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91และ 94 จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ในระหว่างจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เท่ากับเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้เช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีสิทธินำมาฟ้องจำเลยให้รับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้หลังพิทักษ์ทรัพย์: เช็คที่ออกหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่อาจเรียกร้องได้
หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 27, 91 และ 94
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 24 บัญญัติห้ามมิให้จำเลยกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยในระหว่างจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงเท่ากับเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช็คพิพาททั้งสองฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระให้โจทก์จึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาฟ้องจำเลยให้รับผิด
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 24 บัญญัติห้ามมิให้จำเลยกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยในระหว่างจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงเท่ากับเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช็คพิพาททั้งสองฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระให้โจทก์จึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาฟ้องจำเลยให้รับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คที่ออกหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจกระทำการ
หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91และ94 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา24บัญญัติห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยในระหว่างจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงเท่ากับเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระให้โจทก์จึงเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาฟ้องจำเลยให้รับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5937/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายในคดีละเมิดและการรับผิดชอบค่าอุปการะเลี้ยงดูของผู้เยาว์
โจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิด แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ตาม แต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไปเกี่ยวกับค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสามในส่วนของค่าปลงศพ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเป็นเงินจำนวน 60,000 บาท ส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดให้ คดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
พ.บิดาโจทก์ที่ 3 ได้หย่าขาดจากผู้ตายและตกลงให้ผู้ตายเป็นผู้ปกครองโจทก์ที่ 3 ดังนี้ ผู้ตายจึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่โจทก์ที่ 3 ในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ถึงแม้ พ.จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูก็หาทำให้ผู้ตายหมดภาระหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่โจทก์ที่ 3 ไม่จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนนี้อยู่
พ.บิดาโจทก์ที่ 3 ได้หย่าขาดจากผู้ตายและตกลงให้ผู้ตายเป็นผู้ปกครองโจทก์ที่ 3 ดังนี้ ผู้ตายจึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่โจทก์ที่ 3 ในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ถึงแม้ พ.จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูก็หาทำให้ผู้ตายหมดภาระหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่โจทก์ที่ 3 ไม่จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนนี้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5937/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าเสียหายจากละเมิดและข้อยกเว้นการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์
โจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ตามแต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นรายๆไปเกี่ยวกับค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสามในส่วนของค่าปลงศพศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเป็นเงินจำนวน60,000บาทส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่1และที่2ศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดให้คดีระหว่างจำเลยที่2กับโจทก์ที่1และที่2จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง พ. บิดาโจทก์ที่3ได้หย่าขาดจากผู้ตายและตกลงให้ผู้ตายเป็นผู้ปกครองโจทก์ที่3ดังนี้ผู้ตายจึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่โจทก์ที่3ในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ถึงแม้พ. จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูก็หาทำให้ผู้ตายหมดภาระหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่โจทก์ที่3ไม่จำเลยที่2จึงต้องรับผิดในส่วนนี้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบ
ตามรายงานการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่รายงานให้ส. ในฐานะนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิดของจำเลยเมื่อวันที่10พฤศจิกายน2532ระบุชัดว่าผู้ใดเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อโจทก์และเป็นผู้แทนโจทก์ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา39ฉะนั้นจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่10พฤศจิกายน2532โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่31พฤษภาคม2534จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรับรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิด
นายกเทศมนตรีเป็นผู้แทนโจทก์ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 มาตรา 39 และตามรายงานการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งก็ระบุชัดถึงผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อโจทก์จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ปรากฏในรายงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อทราบถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบ
ตามรายงานการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่รายงานให้ ส.ในฐานะนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิดของจำเลยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 ระบุชัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อโจทก์ และเป็นผู้แทนโจทก์ตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ฉะนั้นจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2534 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากการยึดรถยนต์ของเจ้าพนักงานตำรวจ แม้จะเคยเช่ารถยนต์คันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมส่งตัวลูกจ้างที่ขับรถยนต์พิพาทไปเกิดอุบัติเหตุไปให้พนักงานสอบสวนและไม่นำรถยนต์พิพาทไปมอบให้พนักงานสอบสวนต่อมาเมื่อโจทก์และจำเลยเลิกสัญญาเช่าต่อกันและจำเลยมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจได้มายึดรถยนต์พิพาทไปการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถนำรถยนต์พิพาทไปให้เช่าได้ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายดังนี้การที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์ไปเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายมิใช่การกระทำของจำเลยจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์