พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทนายความทำสัญญาประนีประนอม: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยว่า จำเลยแต่งตั้งให้ ก.เป็นทนายความ และใบแต่งทนายความดังกล่าวระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมจึงมิใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ถือได้ว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความในใบแต่งทนายความระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และมิได้ยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความดังกล่าวในใบแต่งทนายความ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินค่าชดเชยเป็นหนี้ได้ต่อเมื่อลูกจ้างพ้นสภาพแล้ว ไม่ขัดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักกับค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้นดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยนำค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์หลังจากโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากถูกเลิกจ้าง มาชำระหนี้เงินกู้สวัสดิการของโจทก์ตามข้อตกลงก่อน เมื่อไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงกันระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากค่าจ้างหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อตกลงมีผลบังคับได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักกับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยนำค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์หลังจากโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากถูกเลิกจ้าง มาชำระหนี้เงินกู้สวัสดิการของโจทก์ตามข้อตกลงก่อน เมื่อไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงกันระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังพิจารณาคดี และการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานที่ไม่รับอุทธรณ์การเลื่อนคดี
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฎว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการซักถามพยานในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจจำกัดสิทธิคู่ความในการซักถามพยาน
การสืบพยานในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้างมาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้น หากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ป.วิ.พ.มาตรา117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตนอ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถามและถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถามพยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานในศาลแรงงานได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งคู่ความที่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้ซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างมาจึงไม่จำต้องซักถามหรือถามค้านพยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังดังจำเลยอ้างไม่ และศาลแรงงานย่อมรับฟังพยานโจทก์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานในคดีแรงงาน ศาลแรงงานมีอำนาจซักถามพยานเอง คู่ความต้องรอรับอนุญาตก่อนซักถาม
การสืบพยานในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงาน เท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้าง มาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้นหากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสองกำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่ง อ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตน อ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถาม และถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถาม พยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจ นำบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยานในศาลแรงงานได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งคู่ความ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้ซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างมาจึงไม่จำต้องซักถามหรือถามค้าน พยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังดังจำเลยอ้างไม่ และศาลแรงงานย่อมรับฟังพยานโจทก์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวล่วงหน้าเลิกจ้างและการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องเป็นไปตามกำหนดจ่ายค่าจ้าง
เมื่อจำเลยให้การเพียงว่า โจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นคำสั่งเรื่องอะไรเหตุเกิดวันเดือนปีใดไม่ปรากฏ และที่ว่าโจทก์กระทำประการอื่น อันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตนั้น ก็ไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ทำสิ่งใดที่เรียกว่าไม่ถูกต้องหรือ ไม่สุจริต คำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องดังกล่าว ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า แม้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ทางนำสืบของจำเลยฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงาน ที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าแล้ว ยังจะต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่าระหว่างที่โจทก์ เป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ หรือกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตหรือไม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานเมื่อ ข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาเป็นที่ยุติว่าโจทก์ได้รับเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน และโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากจำเลยที่ 2 เพียง 57 วัน ซึ่งเป็นเงิน 19,000 บาท ดังนั้น ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าจำนวน 20,000 บาท แก่โจทก์ จึงเป็นการเกินคำขอ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคหนึ่งกำหนดให้บอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่าย สินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ วันที่ 1 สิงหาคม 2540 แต่เนื่องจากค่าจ้างกำหนดจ่าย กันทุกวันสิ้นเดือน ฉะนั้น ระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยจะชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อจำเลยเลิกจ้างในวันที่ 30 กันยายน 2540 ซึ่งเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 กำหนดระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยจึงไม่ครบถ้วน ตามกฎหมาย ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 2 เดือน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณระยะเวลาถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยให้การเพียงว่า โจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นคำสั่งเรื่องอะไร เหตุเกิดวันเดือนปีใดไม่ปรากฏ และที่ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตนั้น ก็ไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ทำสิ่งใดที่เรียกว่าไม่ถูกต้องหรือไม่สุจริต คำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องดังกล่าว อุทธรณ์จำเลยที่ 2 ข้อนี้ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า แม้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าทางนำสืบของจำเลยฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วยังจะต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่าระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้น โจทก์จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตหรือไม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาเป็นที่ยุติว่า โจทก์ได้รับเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน และโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 เพียง 57 วัน ซึ่งเป็นเงิน19,000 บาท ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 20,000 บาท แก่โจทก์ จึงเป็นการเกินคำขอ
ส่วนอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ข้อ 3.1 ที่ว่า โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 2 วันที่ 10 กรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 2 ได้บอกเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 1 สิงหาคม2540 หากจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ก็ชอบที่จะกำหนดสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เท่ากับจำนวนสินจ้างที่จะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าจำนวน 1 เดือน เป็นเงินเพียง 10,000 บาทที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า2 เดือน จึงไม่ชอบนั้น เห็นว่า ป.พ.พ.มาตรา 582 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่ 1สิงหาคม 2540 แต่เนื่องจากค่าจ้างกำหนดจ่ายกันทุกวันสิ้นเดือน ฉะนั้น ระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยจะชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อจำเลยเลิกจ้างในวันที่30 กันยายน 2540 ซึ่งเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 กำหนดระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยจึงไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ที่ศาลแรงงานภพิพากษาให้จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 2 เดือน จึงชอบแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาเป็นที่ยุติว่า โจทก์ได้รับเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน และโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 เพียง 57 วัน ซึ่งเป็นเงิน19,000 บาท ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 20,000 บาท แก่โจทก์ จึงเป็นการเกินคำขอ
ส่วนอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ข้อ 3.1 ที่ว่า โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 2 วันที่ 10 กรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 2 ได้บอกเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 1 สิงหาคม2540 หากจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ก็ชอบที่จะกำหนดสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เท่ากับจำนวนสินจ้างที่จะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าจำนวน 1 เดือน เป็นเงินเพียง 10,000 บาทที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า2 เดือน จึงไม่ชอบนั้น เห็นว่า ป.พ.พ.มาตรา 582 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่ 1สิงหาคม 2540 แต่เนื่องจากค่าจ้างกำหนดจ่ายกันทุกวันสิ้นเดือน ฉะนั้น ระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยจะชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อจำเลยเลิกจ้างในวันที่30 กันยายน 2540 ซึ่งเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 กำหนดระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยจึงไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ที่ศาลแรงงานภพิพากษาให้จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 2 เดือน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงาน, การจ่ายสินจ้างทดแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, และความรับผิดของกรรมการบริษัท
ที่จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า โจทก์ลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เอง จำเลยทั้งห้ามิได้เลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่รับฟังว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่ใช่เป็นกรณีโจทก์ลาออกเอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามสัญญา จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายแก่โจทก์เพราะจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์เสียหายซึ่งได้แก่ค่าเสียหายต่าง ๆ ที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์การคำนวณค่าเสียหายในส่วนนี้เพียงอาศัยสัญญาจ้างตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายจ.2 ข้อ 4 เป็นฐานในการคิดเท่านั้น มิใช่เป็นการพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ฉะนั้น อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าที่อ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ตามสัญญาจ้างจึงไม่ใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่จะอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลในฐานะนายจ้าง แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จะระบุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีฐานะเป็นนายจ้างด้วยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้กระทำการใด ๆ อันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็เป็นเพียงผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหรือร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
เมื่อตามเอกสารระบุถึงการจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์หลังจากเลิกจ้างแล้วอีก 3 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทใด แต่การจ่ายเงินในอัตราดังกล่าวเป็นลักษณะของการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 (2) เพราะโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นเวลาปีเศษ แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน หรือ 3 เดือน ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์ การที่ศาลแรงงานนำข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยหลังจากเลิกจ้างแล้วดังกล่าวไปหักออกจากความรับผิดที่จำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินที่โจทก์ได้รับหลังจากเลิกจ้างแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดในการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 กันยายน 2539 นั้น เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์เสียหายซึ่งได้แก่ค่าเสียหายต่าง ๆ ที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์การคำนวณค่าเสียหายในส่วนนี้เพียงอาศัยสัญญาจ้างตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายจ.2 ข้อ 4 เป็นฐานในการคิดเท่านั้น มิใช่เป็นการพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ฉะนั้น อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าที่อ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ตามสัญญาจ้างจึงไม่ใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่จะอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลในฐานะนายจ้าง แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จะระบุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีฐานะเป็นนายจ้างด้วยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้กระทำการใด ๆ อันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็เป็นเพียงผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหรือร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
เมื่อตามเอกสารระบุถึงการจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์หลังจากเลิกจ้างแล้วอีก 3 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทใด แต่การจ่ายเงินในอัตราดังกล่าวเป็นลักษณะของการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 (2) เพราะโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นเวลาปีเศษ แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน หรือ 3 เดือน ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์ การที่ศาลแรงงานนำข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยหลังจากเลิกจ้างแล้วดังกล่าวไปหักออกจากความรับผิดที่จำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินที่โจทก์ได้รับหลังจากเลิกจ้างแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดในการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 กันยายน 2539 นั้น เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง