คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรชัย สมรรถเวช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,993 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างระหว่างพักงาน: ลูกจ้างยังคงมีสิทธิเมื่อไม่ได้ลาออกเอง และพักงานไม่สืบเนื่องจากความผิด
เมื่อไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานลูกจ้างเมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนั้น การที่โจทก์ได้ส่งมอบงานในหน้าที่ก่อนที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์การพักงานโจทก์จึงไม่ใช่สืบเนื่องมาจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้โจทก์
โจทก์ขอลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบแล้ว จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ลาออก แต่กลับสั่งพักงานโจทก์ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลย และโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยอยู่ ไม่ว่าในระหว่างที่จำเลยพักงานโจทก์ จำเลยได้จ่ายงานให้โจทก์ทำหรือไม่ ส่วนจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้ขอพักงานเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรับผิดทางละเมิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย – การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงานยังถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคดังกล่าวเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ปล่อยให้ฝุ่นฝ้ายฟุ้งกระจายเกินมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่าฝุ่นฝ้ายที่ฟุ้งกระจายนั้นย่อมเกิดอันตรายต่อโจทก์ การเจ็บป่วยของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงานยังถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคดังกล่าวเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ปล่อยให้ฝุ่นฝ้ายฟุ้งกระจายเกินมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่าฝุ่นฝ้ายที่ฟุ้งกระจายนั้นย่อมเกิดอันตรายต่อโจทก์ การเจ็บป่วยของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังได้รับค่าชดเชย
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า หลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆ จากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย เมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็นซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว
จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง7 เดือน เป็นเงิน เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชยค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเงินตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แต่มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้ การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังรับเงินชดเชยทำให้ขาดสิทธิฟ้อง
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน: ศาลรับฟังได้หากเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทและพยานหลักฐานเชื่อมโยงกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไป แต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงาน จะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียม อันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้า ในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการ ดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ได้สอบสวน จำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วการที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการ ขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสาร พิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืน โจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยาน หลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันจะเป็น การฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงาน: การรับฟังพยานหลักฐานสอดคล้องประเด็นฟ้อง แม้มีรายละเอียดเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไปแต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงานกลาจะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียมอันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า จำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ก็ได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้ว การที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสารพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืนโจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532-4617/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานต้องโต้แย้งทันที และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างต้องแจ้งแก้ไขอย่างถูกต้อง
วันนัดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์ คู่ความแถลงยอมรับข้อเท็จจริงกันศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา คำสั่งศาลแรงงานที่ให้งดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากจำเลยเห็นว่าการงดสืบพยานดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31,54 ปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยมีเวลาพอที่จะโต้แย้งได้ แต่จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อจำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง แม้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับจำเลยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพียงแต่จำเลยประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสเพียงร้อยละ 50 ของอัตราการจ่ายในปีที่ผ่านมาโดยยึดหลักเกณฑ์เดิม ประกาศดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวและเป็นการที่จำเลยขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้นมิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงย่อมไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานหลังเกษียณและการคุ้มครองค่าชดเชย: งานปกติ vs. งานครั้งคราว และโมฆะของข้อตกลงสละสิทธิ
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมานอกสำนวน ย่อมไม่มีผลให้ศาลฎีกาจำต้องถือตาม
เดิมโจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย หลังจากโจทก์เกษียณอายุการทำงานจำเลยได้ทำสัญญาจ้างให้โจทก์ทำงานอีก 1 ปี ในหน้าที่เดิม ดังนั้น งานที่โจทก์ทำก่อนเกษียณก็ดี หลังเกษียณก็ดีเป็นงานในลักษณะเดียวกันในธุรกิจเดิมของจำเลย เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย จึงมิใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน อันจะเข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม และที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำหนังสือสัญญาการว่าจ้าง โดยกำหนดว่า ผู้รับจ้างขอให้สัญญาว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้และ/หรือ ผู้รับจ้างถูกเลิกสัญญาผู้รับจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าชดเชยจากบริษัททั้งสิ้นนั้น เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างหลังเกษียณไม่ใช่จ้างวานเฉพาะโครงการ ค่าชดเชยยังคงมีสิทธิคุ้มครอง และข้อตกลงสละสิทธิค่าชดเชยเป็นโมฆะ
เดิมโจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาตลาดเงินทุน มีหน้าที่ดูแลลูกค้าเงินฝากของจำเลย หลังจากโจทก์เกษียณอายุการทำงาน จำเลยได้ทำสัญญาจ้าง ให้โจทก์ทำงานอีก 1 ปีในหน้าที่เดิม ดังนั้น งานที่โจทก์ทำก่อนเกษียณก็ดี หลังเกษียณก็ดีเป็นงานในลักษณะเดียวกันในธุรกิจเดิมของจำเลย เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย จึงมิใช่งานอันมี ลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน อันจะเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ ที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำหนังสือสัญญาการว่าจ้างโดยกำหนดว่าผู้รับจ้างขอให้สัญญาว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลา และ/หรือ ผู้รับจ้างถูกเลิกสัญญาผู้รับจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าชดเชย จากบริษัททั้งสิ้นนั้น เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
of 200