พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากครบกำหนดแล้ว ตกลงให้ไถ่ได้ภายหลัง: ไม่ใช่การขยายเวลาไถ่ แต่เป็นคำมั่นจะขาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายฝากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินให้โจทก์ กำหนดไถ่ภายในหนึ่งปี ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไถ่ขอให้บังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านดังกล่าว จำเลยรับว่าขายฝากที่ดินและบ้านแก่โจทก์และครบกำหนดไถ่แล้วจริงแต่โจทก์ยินยอมให้จำเลยไถ่ที่ดินและบ้านได้ในภายหลัง จำเลยกำลังจะหาเงินมาไถ่ ดังนี้หากได้ความจริงตามคำให้การของจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวอาจเข้าลักษณะเป็นคำมั่นจะขายทรัพย์ซึ่งบังคับกันได้ มิใช่เป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์อันต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 ศาลชั้นต้นควรสืบพยานฟังข้อเท็จจริงต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาขายฝากหลังครบกำหนดสัญญาเดิม เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496
สัญญาขายฝากที่ดินมีโฉนดทำเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2520 มีกำหนด 1 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 6 กรกฎาคม 2521 จำเลยผู้ซื้อฝากทำบันทึกไว้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2521 และทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2521 ซึ่งเป็นวันที่ยังไม่ครบกำหนดเวลาขายฝากทั้งสองฉบับ มีใจความว่า ผู้ซื้อฝากยอมให้ผู้ขายฝากต่อสัญญาขายฝากไปอีก 1 ปี โดยรับชำระเงินไว้ 300,000 บาท เงินที่ค้างอีก 320,000 บาท ผู้ขายฝากต้องเสียดอกเบี้ยฉบับหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งมีใจความว่าผู้ซื้อฝากจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่ผู้ขายฝากในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าเป็นเรื่องที่จำเลยยอมขยายกำหนดเวลาขายฝากให้แก่โจทก์อีก 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 บันทึกทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ที่ดินขายฝาก: การชำระหนี้ไม่ครบถ้วนและการขยายกำหนดเวลาไถ่เป็นโมฆะ
ในวันครบกำหนดสัญญา โจทก์นำเงินไปชำระแก่จำเลยเป็นการไถ่ที่ดิน แต่เป็นการชำระหนี้บางส่วนไม่ถูกต้องตามสัญญา และจำเลยไม่ยอมรับ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดสัญญา การที่จำเลยยินยอมจะให้โจทก์ไถ่ที่ดินคืนหลังจากพ้นกำหนดไถ่ ก็หาใช่เป็นคำมั่นว่าจำเลยจะขายที่ดินคืนให้แก่โจทก์ไม่ แต่เป็นการตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก ซึ่งขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 เป็นโมฆะ โจทก์จะขอให้บังคับโอนที่ดิน ที่ขายฝากคืนแก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ราคาสินไถ่เป็นโมฆะตามไปด้วย ผู้รับซื้อฝากต้องคืนเงินสินไถ่ที่รับไว้
สัญญาขายฝากฉบับที่ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ราคาสินไถ่ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ และทำให้รายการผ่อนชำระราคาสินไถ่ตามสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะไปด้วย ทั้งไม่สามารถแยกออกต่างหาก ให้เป็นส่วนที่สมบูรณ์ได้ส่วนเงินสินไถ่บางส่วนที่จำเลยรับไว้ก็เพื่อผ่อนชำระราคาทรัพย์ที่ขายฝากตามสัญญาฉบับที่จดทะเบียนนั้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถจะไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนเพราะเกินกำหนดเวลาไถ่จำเลยผู้รับซื้อฝากต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาไถ่ขายฝากขัดต่อกฎหมาย จำเลยไม่มีสิทธิไถ่คืน
จำเลยขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์ก่อนครบกำหนดไถ่โจทก์ทำหนังสือไว้ให้จำเลยมีใจความว่า ตนยินยอมให้ต่อสัญญาขายฝากและถ้าจำเลยมีเงินมาไถ่คืนก็ยินยอมให้ไถ่คืนได้หนังสือดังกล่าวไม่ใช่คำมั่นจะขายที่พิพาท แต่เป็นการขยายเวลาการขายฝากต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 496 จำเลยไม่มีสิทธิไถ่ที่พิพาทคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อคืนที่ดินหลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ หากขัดต่อกฎหมายขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 70,000 บาท กำหนดไถ่คืนใน 1 ปี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่า ถ้าที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยแล้ว หากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่จำเลยจำเลยยอมให้โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวคืนในราคา 70,000 บาท โจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมให้ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้จะจริงดังที่โจทก์อ้างข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นโมฆะ เพราะเท่ากับเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ขายที่ดินคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงนั้น
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อคืนที่ดินหลังขายฝาก: โมฆะเพราะขัดมาตรา 496 (ขยายเวลาไถ่)
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 70,000 บาท กำหนดไถ่คืนใน 1 ปี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่า ถ้าที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยแล้ว หากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่จำเลย จำเลยยอมให้โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวคืนในราคา 70,000 บาท โจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยให้จำเลยแล้วแต่จำเลยไม่ยอมให้ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้จะจริงดังที่โจทก์อ้าง ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นโมฆะ เพราะเท่ากับเป็นการขยายไถ่ทรัพย์สิน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ขายที่ดินคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงนั้น
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงใหม่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สินตามกฎหมาย
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ และการแก้ไขสัญญาไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ทรัพย์ขายฝากล่าช้าและการขยายเวลาสัญญา ผลต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์
โจทก์ขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากไว้กับจำเลย จำเลยจะให้ไถ่แต่ขอให้คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องเสร็จเสียก่อน ถ้าโจทก์ไม่ยินยอมโดยจะขอไถ่ทรัพย์คืนก็ย่อมทำได้ แต่โจทก์หาได้ใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากคืน หรือกระทำการบังคับจำเลยให้ยอมรับการไถ่ถอนทรัพย์แต่อย่างใดไม่ที่โจทก์ยอมตกลงกับจำเลยดังกล่าวซึ่งเท่ากับเป็นการขยายระยะเวลาการไถ่ถอนทรัพย์จากสัญญาเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 จึงไม่มีผลบังคับ