คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 496

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาไถ่ถอนขายฝากเกินกำหนดตามกฎหมาย มิชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496
ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันถูกต้องตามกฎหมาย กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ในวันครบกำหนดได้ตกลงขยายการไถ่ถอนกันด้วยปากเปล่าต่อไป 1 ปี ครั้นครบกำหนดได้ตกลงทำหนังสือว่ายอมให้ต่อการไถ่ถอนกันไปอีก 1 ปี ต่อมาภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนครั้งที่ 2 ผู้ขายฝากไปขอไถ่ถอนดังนี้ ถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นการขยายเวลาการไถ่ถอนการขายฝาก ไม่ใช่เป็นเรื่องคำมั่นจะขายทรัพย์ที่ขายฝาก
เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก จะตกลงขยายเวลาการขายฝากในภายหลังไม่ได้ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนขายฝาก: การไม่ปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิ แม้มีกำหนดเวลาในสัญญา
โจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากที่สวนและนาจากจำเลยก่อนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือสัญญาขายฝาก หากจำเลยไม่ไปรับการไถ่ถอนตามที่ได้ตกลงนัดหมายไว้กับโจทก์โดยมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอไถ่ถอนสัญญาขายฝากรายนี้ได้ จำเลยจะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 มาเป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิมิได้ (อ้างฎีกาที่ 670/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนขายฝากก่อนกำหนด แม้จำเลยไม่รับไถ่ถอนตามนัดหมาย สิทธิโจทก์ยังคงมีผล
โจกท์ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากที่สวนและนาจากจำเลยก่อนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือสัญญาขายฝาก หากจำเลยไม่ไปรับการไถ่ถอนตามที่ได้ตกลงนัดหมายไว้กับโจทก์โดยมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอไถ่ถอนสัญญาขายฝากรายนี้ได้ จำเลยจะยก ป.พ.พ. มาตรา 496 มาเป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นการจำนอง สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่ที่ดิน
โจทก์ขอให้บังคับตามสัญญาฝากขายเรือนและห้องพิพาทจำเลยต่อสู้ว่าเจตนาแท้นั้นตกลงกันทำจำนองสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางจึงเป็นโมฆะบังคับไม่ได้
เมื่อพยานหลักฐานฟังว่าได้พูดตกลงขายฝากกันตั้งแต่ต้นตลอดมาจนได้ทำสัญญาขายฝากกัน เมื่อคู่สัญญาตกลงกันเช่นนี้ แม้ภายหลังแทนที่โจทก์จะเข้าครอบครองทรัพย์ที่รับซื้อผากแต่กลับมอบให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองโดยจำเลยเป็นผู้เสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขายฝากก็ตาม ก็หากลายเป็นการจำนองหรือนิติกรรมอำพรามการจำนองไปไม่
การขยายเวลาให้ไถ่ถอนคืนต่อไปอีก 3 เดือนนั้นทำขึ้นอีกฉบับหนึ่งต่างหากไม่ทำให้สัญญาขายฝากเดิมเสียไป
สัญญาขายฝากเรือนและห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นไม่ใช่ที่ดินนายอำเภอหรือผู้แทนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำสัญญาให้ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม พ.ศ.2486 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2492.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่เจตนาแท้จริงเป็นการจำนอง ศาลต้องบังคับตามจำนอง
โจทก์ขอให้บังคับตามสัญญาขายฝากเรือนและห้องพิพาทจำเลยต่อสู้ว่าเจตนาแท้นั้นตกลงกันทำจำนองสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางจึงเป็นโมฆะบังคับไม่ได้
เมื่อพยานหลักฐานฟังว่าได้พูดตกลงขายฝากกันตั้งแต่ต้นตลอดมาจนได้ทำสัญญาขายฝากกัน เมื่อคู่สัญญาตกลงกันเช่นนี้ แม้ภายหลังแทนที่โจทก์จะเข้าครอบครองทรัพย์ที่รับซื้อฝากแต่กลับมอบให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองโดยจำเลยเป็นผู้เสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขายฝากก็ตาม ก็หากลายเป็นการจำนองหรือนิติกรรมอำพรางการจำนองไปไม่
การขยายเวลาให้ไถ่ถอนคืนต่อไปอีก 3 เดือนนั้นทำขึ้นอีกฉบับหนึ่งต่างหากไม่ทำให้สัญญาขายฝากเดิมเสียไป
สัญญาขายฝากเรือนและห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นไม่ใช่ที่ดินนายอำเภอหรือผู้แทนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำสัญญาให้ได้ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ.2486 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2492

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครอง หลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะและขาดอายุ
ทำสัญญาขายฝากที่นามือเปล่ากันเอง มีข้อความว่า มีกำหนด 6 เดือนขาดนั้น แม้สัญญาจะเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตาม แบบก็ดี แต่ตามสัญญาที่ปรากฎว่าได้มีกำหนดไว้ชัดว่า 6 เดือนขาด ซึ่งหมายความว่า ผู้ขายฝากยอมสละสิทธิในที่ พิพาทให้เป็นของผู้รับซื้อฝากเมื่อครบ 6 เดือนแล้ว ฉะนั้น เมื่อที่นาพิพาทเป็นที่นามือเปล่าและฝ่ายผู้รับซื้อฝากก็ ครอบครองอย่างเป็นที่ของตนนานเกินกว่า 6 ปีแล้ว ผู้ซื้อฝากก็ย่อมได้สิทธิในที่พิพาท เพราะการครอบครองตามนัย แห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 405/2493.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการครอบครองหลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ แม้มีกำหนดเวลาชัดเจน การครอบครองนานเกิน 6 ปีทำให้ได้สิทธิ
ทำสัญญาขายฝากที่นามือเปล่ากันเอง มีข้อความว่า มีกำหนด6 เดือนขาดนั้นแม้สัญญาจะเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตามแบบก็ดีแต่ตามสัญญาที่ปรากฏว่าได้มีกำหนดไว้ชัดว่า 6 เดือนขาดซึ่งหมายความว่า ผู้ขายฝากยอมสละสิทธิในที่พิพาทให้เป็นของผู้รับซื้อฝากเมื่อครบ 6 เดือนแล้วฉะนั้น เมื่อที่นาพิพาทเป็นที่นามือเปล่าและฝ่ายผู้รับซื้อฝากก็ได้ครอบครองอย่างเป็นที่ของตนนานเกินกว่า6 ปีแล้ว ผู้ซื้อฝากก็ย่อมได้สิทธิในที่พิพาท เพราะการครอบครองตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 405/2493

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากและการยืดอายุสัญญา กรรมสิทธิในทรัพย์สินตกแก่ผู้รับซื้อเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน
ภรรยาเอาเรือนไปขายฝากแก่จำเลยไว้ โดยสามีได้ให้ความยินยอม ครั้งครบกำหนดไถ่ถอนตามสัญญาแล้ว ภรรยากลับขอทำสัญญาต่อใหม่อีก จำเลยก็ยินยอม ทางอำเภอจึงทำสัญญาขายฝากขึ้นอีกฉะบับหนึ่ง ดังนี้ ถือได้ว่า การทำสัญญาขายฝากครั้งที่ 2 นี้เป็นแต่เพียงพิธีการสำหรับยืดอายุสิทธิการไถ่ถอนออกไปอีก เท่านั้น ต้องถือว่าเป็นการขายฝากรายเดียวกันซึ่งสามีได้ยินยอมตกลงอนุญาตให้ทำนิติกรรมนั้นแล้ว และถ้าสามีจะอ้างว่าการทำขายฝากครั้งที่ 3 คือยืดอายุการไถ่ถอน ไม่ได้รับอนุญาตจากสามี ขอให้เพิกถอนเสีย กรรมสิทธิในทรัพย์ที่ขายฝากก็ย่อมตกได้แก่จำเลยบริบูรณ์ตั้งแต่ครบกำหนดการไถ่ถอนตามสัญญาครั้งแรกแล้ว จำเลยจึงย่อมบังคับให้เปลี่ยนแก้ทะเบียนเรือนให้จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากเรือนซ้ำ: สิทธิจำเลยเมื่อสามีให้ความยินยอม
ภรรยาเอาเรือนไปขายฝากแก่จำเลยไว้ โดยสามีได้ให้ความยินยอม ครั้นครบกำหนดไถ่ถอนตามสัญญาแล้ว ภรรยากลับขอทำสัญญาต่อใหม่อีก จำเลยก็ยินยอม ทางอำเภอจึงทำสัญญาขายฝากขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ดังนี้ ถือได้ว่า การทำสัญญาขายฝากครั้งที่ 2 นี้เป็นแต่เพียงพิธีการสำหรับยืดอายุสิทธิการไถ่ถอนออกไปอีก เท่านั้น ต้องถือว่าเป็นการขายฝากรายเดียวกันซึ่งสามีได้ยินยอมตกลงอนุญาตให้ทำนิติกรรมนั้นแล้ว และถ้าสามีจะอ้างว่าการทำขายฝากครั้งที่ 2 คือยืดอายุการไถ่ถอน ไม่ได้รับอนุญาตจากสามี ขอให้เพิกถอนเสีย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายฝากก็ย่อมตกได้แก่จำเลยบริบูรณ์ตั้งแต่ครบกำหนดการไถ่ถอนตามสัญญาครั้งแรกแล้ว จำเลยจึงย่อมบังคับให้เปลี่ยนแก้ทะเบียนเรือนให้จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ตามลำดับก่อนหลัง และการไม่สามารถอ้างเหตุพ้นวิสัยเพื่อเลี่ยงการชำระหนี้
คำพิพากษาของศาลบังคับให้จำเลยโอนขายนากับเรือนให้โจทก์ ถ้าไม่สามารถโอนขายได้จึงให้คืนเงิน ดังนี้เป็นการกำหนดให้กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 198
การที่จำเลยเอาทรัพย์ไปจำนองสหกรณ์ไว้ไม่ทำให้การโอนขายที่ดินและเรือนเป็นอันพ้นวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำ เลยยกขึ้นอ้างว่า ไม่สามารถจะโอนขายที่ดินและเรือนได้ฉะนั้นโอกาศที่จำเลยจะขอคืนเงินให้โจทก์ จึงยังไม่อาจเกิดขึ้น
of 7