พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัด: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามกฎหมาย แม้ดอกเบี้ยในสัญญาเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
หนี้ที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เหตุที่สัญญาในส่วนดอกเบี้ยเป็นโมฆะเพราะกำหนดให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยตามกฎหมายเพราะจำเลยผิดนัด การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะให้แก่โจทก์เพราะกำหนดไว้เกินอัตราที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องคืนเงินดังกล่าวที่รับไว้ให้จำเลย โจทก์ย่อมไม่เป็นลูกหนี้ของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัด แม้ดอกเบี้ยส่วนหนึ่งเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมาย
หนื้ที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เหตุที่สัญญาในส่วนดอกเบี้ยเป็นโมฆะเพราะกำหนดให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยตามกฎหมายเพราะจำเลยผิดนัด
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะให้แก่โจทก์เพราะกำหนดไว้เกินอัตราที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องคืนเงินดังกล่าวที่รับไว้ให้จำเลย โจทก์ย่อมไม่เป็นลูกหนี้ของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะให้แก่โจทก์เพราะกำหนดไว้เกินอัตราที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จะต้องคืนเงินดังกล่าวที่รับไว้ให้จำเลย โจทก์ย่อมไม่เป็นลูกหนี้ของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา และสิทธิในการหักกลบลบหนี้ในสัญญาจ้างทำของ
ตามสัญญาจ้างทำของกำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินค่าจ้างงวดที่ 5แก่โจทก์ภายหลังจากที่ได้ส่งมอบงานแล้ว 1 เดือน แม้ว่าโจทก์จะนำคดีมาฟ้องก่อนจะครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินเพราะโจทก์ผิดสัญญา ย่อมแสดงว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เงื่อนเวลาจึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะอ้างได้ต่อไป จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามคำสั่งศาลแล้วดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เป็นค่าสินจ้างตามสัญญาจ้างทำของแต่เห็นว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญา จึงให้หักกลบลบหนี้ออกจากค่าสินจ้างที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ คู่ความมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด ดังนี้ ข้อที่ว่าจำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นมาสู่ศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้กรณีต้องถือยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาและสิทธิหักกลบลบหนี้ในสัญญาจ้างทำของ
ตามสัญญาจ้างทำของกำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินค่าจ้างงวดที่ 5แก่โจทก์ภายหลังจากที่ได้ส่งมอบงานแล้ว 1 เดือน แม้ว่าโจทก์จะนำคดีมาฟ้องก่อนจะครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินเพราะโจทก์ผิดสัญญา ย่อมแสดงว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เงื่อนเวลาจึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะอ้างได้ต่อไป
จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามคำสั่งศาลแล้วดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เป็นค่าสินจ้างตามสัญญาจ้างทำของแต่เห็นว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญา จึงให้หักกลบลบหนี้ออกจากค่าสินจ้างที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ คู่ความมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด ดังนี้ ข้อที่ว่าจำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นมาสู่ศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบ ร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้กรณีต้องถือยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามคำสั่งศาลแล้วดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เป็นค่าสินจ้างตามสัญญาจ้างทำของแต่เห็นว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญา จึงให้หักกลบลบหนี้ออกจากค่าสินจ้างที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ คู่ความมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด ดังนี้ ข้อที่ว่าจำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นมาสู่ศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบ ร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้กรณีต้องถือยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และอำนาจฟ้องแย้งในคดีแพ่ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้ สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ และต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าของรวม
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสี่โดยจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสี่ แต่จำเลยมิได้ขอเอาหนี้ตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4 มาขอหักกลบลบหนี้ด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมซึ่งต่างมีส่วนในหุ้นพิพาท และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีนี้ ดังนั้นแม้ว่าจำเลยชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยได้ก็ตามแต่จำเลยหามีสิทธิบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าวได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาศาล: จุดเริ่มต้นของหนี้และการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้า 429,377 บาทแก่โจทก์ และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งเป็นเงินประมาณ 430,000 บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้วโจทก์จำเลยต่างไม่มีหนี้ต่อกันพิพากษายกฟ้องและยกฟ้องแย้ง คดีมีปัญหาในชั้นอุทธรณ์เฉพาะค่าสินค้าตามฟ้อง ส่วนค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าสินค้าต่อโจทก์เป็นเงิน 353,877.44 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องศาลฎีกาพิพากษายืน ดังนี้ หนี้จำนวน 430,000 บาท ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเกิดขึ้นตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้อันเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นหนี้ของตนในส่วนที่ต้องชำระให้โจทก์เท่าที่หักกลบลบหนีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ได้ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา หาใช่ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ซึ่งเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องออกคำบังคับให้จำเลยชำระหนี้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผลของการบังคับตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้า 429,377 บาทแก่โจทก์ และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งเป็นเงินประมาณ 430,000บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้วโจทก์จำเลยต่างไม่มีหนี้ต่อกันพิพากษายกฟ้องและยกฟ้องแย้ง คดีมีปัญหาในชั้นอุทธรณ์เฉพาะค่าสินค้าตามฟ้อง ส่วนค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าสินค้าต่อโจทก์เป็นเงิน353,877.44 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องศาลฎีกาพิพากษายืน ดังนี้ หนี้จำนวน 430,000 บาท ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเกิดขึ้นตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้อันเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นหนี้ของตนในส่วนที่ต้องชำระให้โจทก์เท่าที่หักกลบลบหนีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ได้ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา หาใช่ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ซึ่งเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องออกคำบังคับให้จำเลยชำระหนี้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบภาษี, การหักลดหย่อนรายจ่ายส่วนตัว, และการเครดิตภาษีต่างรอบบัญชี ศาลยืนตามประเมิน
ในการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ยอมรับพิจารณาเอกสารบางฉบับที่โจทก์ส่งเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบภาษีของโจทก์ และใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพิจารณาประกอบการประเมินภาษีของโจทก์ ย่อมมีสิทธิทำได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร บัญชีกระแสรายวันที่เสียดอกเบี้ยซึ่งเบิกเกินบัญชีใช้ชื่อเจ้าของบัญชีว่า พ. หาได้ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีไม่ทั้งโจทก์มิได้แสดงรายการเสียดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในงบกำไรขาดทุนของโจทก์ จึงถือได้ว่า การเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวเป็นการกระทำของ พ. ในฐานะส่วนตัว ดอกเบี้ยที่เสียไปดังกล่าวไม่อาจนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ เพราะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 ที่โจทก์อ้างว่าชำระเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ไม่อาจนำมาเครดิตภาษีกับภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ที่ถูกประเมินในคดีนี้ เพราะเป็นการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชีกัน เป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ และโจทก์ไม่อาจขอหักกลบลบหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์สำหรับการประเมินภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 แต่ประการใด ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวหรือไม่ผลเป็นประการใด.