คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 341

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้ของลูกจ้างต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างไม่โต้แย้งและมีจำนวนแน่นอน
หนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันจะต้องชำระให้นายจ้างตามข้อบังคับของนายจ้างจะต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมิได้โต้แย้งและจำนวนหนี้ต้องกำหนดไว้แน่นอน นายจ้างจึงจะมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ลูกจ้างปฏิเสธและเป็นหนี้ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันต้องชดใช้ให้นายจ้าง นายจ้างยังไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5154/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง: หนี้จากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างไม่ใช่ 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
คำว่าหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง เช่นหนี้เงินกู้จากนายจ้าง เป็นต้น กรณีหนี้ที่ลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้แก่นายจ้างเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อื่นที่นายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5154/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากค่าจ้างลูกจ้าง กรณีลูกจ้างไม่คืนทรัพย์สินของนายจ้าง
คำว่าหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง เช่นหนี้เงินกู้จากนายจ้าง เป็นต้น กรณีหนี้ที่ลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้แก่นายจ้างเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อื่นที่นายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยึดเงินที่จำเลยจำนำไว้ชำระหนี้ของโจทก์ แม้มีหนี้ข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ต่อมาจำเลยผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ยื่นคำร้องว่ามีเงินของจำเลยที่ขายถั่ว แขกดำได้โดยจำเลยได้จำนำผู้ร้องไว้บางส่วน ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ได้ส่วนที่เหลือผู้ร้องไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะยึดหน่วงได้ ผู้ร้องแถลงว่าเงินจำนวนดังกล่าวได้นำไปหักกลบลบหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องแล้วส่วนหนี้ที่เหลือ คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ดังนี้ เมื่อได้ความว่า เงินที่ขายถั่ว แขกดำของจำเลยในส่วนที่เหลือจากที่จำเลยได้จำนำผู้ร้อง และศาลอนุญาตให้ผู้ร้องนำเงินจำนวนนี้ไปเก็บรักษาไว้เงินจำนวนนี้จึงยังเป็นเงินของจำเลยที่ผู้ร้องเก็บรักษาไว้แทนศาลการที่ผู้ร้องนำไปหักชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้อง มิได้เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 เพราะเงินจำนวนนี้มิใช่หนี้ที่ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ผู้ร้อง และหนี้ที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องนั้นก็ยังฟ้องร้องกันที่ศาล เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่ จึงไม่เป็นกรณีที่จะหักกลบลบหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำไปหักชำระหนี้แก่ผู้ร้องได้ เมื่อเงินจำนวนนี้ยังเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิให้ศาลยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาเงินจากการขายทรัพย์ของจำเลย: ห้ามหักชำระหนี้ที่มีข้อพิพาท
ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ของจำเลยไว้เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของจำเลยที่ผู้ร้องเก็บรักษาไว้แทนศาล ผู้ร้องจะนำไปหักชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ได้เพราะเงินจำนวนนี้มิใช่หนี้ที่ถือว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ผู้ร้อง ทั้งหนี้ดังกล่าวก็อยู่ในระหว่างดำเนินคดี เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่ จึงไม่เป็นกรณีที่จะหักกลบลบหนี้ได้เมื่อเงินจำนวนนี้ยังเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงเงินสะสม: เงินสะสมกับค่าเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อไม่เกี่ยวข้องกัน จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วง
เงินสะสมที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยกับค่าเสียหายของจำเลยอันเนื่องจากการที่โจทก์ปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งมิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครองอยู่โดยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้น จำเลยหามีสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เมื่อหักกลบลบหนี้ไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4234/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและสิทธิในทรัพย์สินเช่าซื้อ: การอุทธรณ์ต้องชัดเจนและตรงประเด็น
จำเลยกล่าวในอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นแต่เพียงว่า "จำเลยยอมรับว่ามีจริง แต่เป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่ที่ศาลกำหนดเป็นมรดกเพราะไม่มีหลักฐานใดมาสนับสนุน" เท่านั้น และในคำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์จำเลยก็มิได้ขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับเอาแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นอย่างไร ทั้งในคำแก้ฎีกาของจำเลยได้กล่าวถึงปัญหาที่ว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อนี้ด้วย ดังนั้นจึงเห็นว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิหักหนี้จำนวน 86,000 บาทตามที่จำเลยนำสืบว่าได้กู้ยืมเงินบุคคลอื่นและเอาเงินส่วนตัวบางส่วนของจำเลยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกไปนั้นจำเลยมิได้ขอบังคับให้ศาลหักกลบลบหนี้ให้จำเลยหรือโดยการฟ้องแย้งจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะบังคับให้เป็นไปตามที่จำเลยขอหักหนี้ให้ได้ โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์รถยนต์โดยอ้างว่าเป็นมรดกของนายประสิทธิ์ผู้ตาย เมื่อทางพิจารณาได้ความว่ารถยนต์ดังกล่าวนั้นยังมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายประสิทธิ์เพียงแต่นายประสิทธิ์เช่าซื้อและยังอยู่ในระยะสัญญาเช่าซื้อที่นายประสิทธิ์ยังชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้ให้เช่าซื้อไม่หมดมรดกของนายประสิทธิ์เกี่ยวแก่รถยนต์คงมีแต่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เท่านั้น โจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงต้องรับไปตามสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อทั้งหมดที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้นชอบแล้ว มิได้เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเรือ: อายุความ, การหักกลบลบหนี้, ค่าใช้จ่ายทดรอง และการพิสูจน์ความเสียหาย
สัญญาเช่าเรือที่โจทก์จำเลยทำกันไว้เดิมเป็นสัญญาเช่าเรือกินริกิ เมื่อเรือดังกล่าวจมลงสัญญาเช่าเรือกินริกิ ย่อมระงับไปแต่เมื่อตามเจตนา และทางปฏิบัติในระหว่างโจทก์กับจำเลยเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลย ตกลงกันให้ถือเอาสัญญาเช่าเรือกินริกิที่ได้ทำสัญญากันไว้นั้น มาเป็นสัญญาเช่าเรือลำใหม่โดยอนุโลมและมิต้องทำสัญญากันใหม่ การเช่าเรือลำใหม่จึงต้องเป็นไปตามข้อสัญญาเช่าเรือกินริกิ ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไข ความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไข ความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลยการบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืน ให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์แต่โจทก์มิได้ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยกลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ตลอดมาจำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลย จึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่างๆ รวมทั้งการเช่า หรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์ เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้า ของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไปมิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้อง บังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้ อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่าย ยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกันทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหา ของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย ไว้โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐาน และข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา173 ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหา ของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าว หักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวน ค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอนทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่ จำเลยกล่าวอ้างจึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าเรือ, อายุความ, การหักกลบลบหนี้, ค่าเสียหายจากการเช่า, การจ่ายทดรองค่าใช้จ่าย
สัญญาเช่าเรือที่โจทก์จำเลยทำกันไว้เดิมเป็นสัญญาเช่าเรือกินริกิ เมื่อเรือดังกล่าวจมลงสัญญาเช่าเรือกินริกิย่อมระงับไป แต่เมื่อตามเจตนา และทางปฏิบัติในระหว่างโจทก์กับจำเลยเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ถือเอาสัญญาเช่าเรือกินริกิที่ได้ทำสัญญากันไว้นั้นมาเป็นสัญญาเช่าเรือลำใหม่โดยอนุโลมและมิต้องทำสัญญากันใหม่ การเช่าเรือลำใหม่จึงต้องเป็นไปตามข้อสัญญาเช่าเรือกินริกิ
ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548 แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญาจำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลย การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ
หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืนให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย กลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตลอดมา จำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการเช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้าของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไป มิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกัน ทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหาของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลยไว้ โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐานและข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหาของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าวหักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวนค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอน ทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น, การหักกลบลบหนี้ และข้อจำกัดในการหักหนี้ค่าหุ้นตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341, 342 เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา 341, 342 นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 หาได้ไม่
of 28