คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 341

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกจากการอยู่กินฉันสามีภริยา, ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่งจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วยจำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในเรือนและข้าวเปลือกที่ทำมาหากินร่วมกันระหว่างสามีภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรส
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่ เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วย จำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกที่ได้จากการอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. ได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน.
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้น. ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน. เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด. ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น. หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่.เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่ง. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้ว. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วย. จำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่. เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ แม้โจทก์ไม่โต้แย้ง แต่หากมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้เดิม ก็ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย. จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยจะต้องรับผิดบ้างก็ขอหักกลบลบหนี้กับค่าเช่าซึ่งโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่. แม้โจทก์จะมิได้แถลงโต้แย้งเกี่ยวกับข้อที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้. แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า การชำระค่าเช่าโจทก์ชำระล่วงหน้า 6เดือน. ต่อจากนั้นโจทก์ก็ชำระบ้างไม่ชำระบ้าง. ส่วนใบรับเงินโจทก์ได้รับบ้างไม่ได้รับบ้าง. แสดงว่าโจทก์ยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าเช่าที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้นั้นอยู่. จำเลยจึงจะนำหนี้ค่าเช่ามาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่. ศาลไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์เป็นหนี้ค่าเช่าจำเลยอยู่จริงดังจำเลยกล่าวอ้างหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้: แม้จำเลยอ้างหนี้ค่าเช่า แต่เมื่อโจทก์ยังโต้แย้งสิทธิเรียกร้องนั้น ยังไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยจะต้องรับผิดบ้างก็ขอหักกลบลบหนี้กับค่าเช่าซึ่งโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่ แม้โจทก์จะมิได้แถลงโต้แย้งเกี่ยวกับข้อที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า การชำระค่าเช่าโจทก์ชำระล่วงหน้า 6 เดือน ต่อจากนั้นโจทก์ก็ชำระบ้างไม่ชำระบ้าง ส่วนใบรับเงินโจทก์ได้รับบ้างไม่ได้รับบ้าง แสดงว่าโจทก์ยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าเช่าที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้นั้นอยู่ จำเลยจึงจะนำหนี้ค่าเช่ามาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ ศาลไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์เป็นหนี้ค่าเช่าจำเลยอยู่จริงดังจำเลยกล่าวอ้างหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อโต้แย้งในหนี้ที่อ้างถึง แม้จำเลยจะอ้างหนี้ค่าเช่า แต่เนื่องจากโจทก์ยังคงมีข้อต่อสู้ ศาลจึงไม่อนุญาตให้หักกลบลบหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยจะต้องรับผิดบ้างก็ขอหักกลบลบหนี้กับค่าเช่าซึ่งโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่ แม้โจทก์จะมิได้แถลงโต้แย้งเกี่ยวกับข้อที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า การชำระค่าเช่าโจทก์ชำระล่วงหน้า 6 เดือน ต่อจากนั้นโจทก์ก็ชำระบ้างไม่ชำระบ้าง ส่วนใบรับเงินโจทก์ได้รับบ้างไม่ได้รับบ้าง แสดงว่าโจทก์ยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าเช่าที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้นั้นอยู่ จำเลยจึงจะนำหนี้ค่าเช่ามาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ ศาลไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์เป็นหนี้ค่าเช่าจำเลยอยู่จริงดังจำเลยกล่าวอ้างหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทน ตัวการ และความรับผิดชอบในสัญญาประมูลก่อสร้าง
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูล เมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่ ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์ ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์ โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้าง แม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่ บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมา จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์ โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้ เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้.
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่า โจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวด หาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้ บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว จะเรียกเอา 5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับเหมาช่วง หน้าที่ส่งมอบเงินให้ตัวการ และความรับผิดชอบค่าปรับ
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูลเมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์ ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้นเมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้างแม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมาจำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์ โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่าโจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวดหาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ 5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว จะเรียกเอา5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทน ตัวการ สัญญาประมูล และความรับผิดชอบต่อค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูล. เมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่. ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์. ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์. โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้น. เมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์.มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้าง. แม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่. บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ. การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมา. จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810. การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์. โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้. เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง. บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812. เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้.
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่า. โจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา. แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว. การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวด หาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่.ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้. บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว. จะเรียกเอา 5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่.
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640-654/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บค่าภาคหลวงไม้หลังไม้สูญหาย ไม่มีสิทธิเรียกเก็บและหักเงินมัดจำ
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 14 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2494 ที่บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้. ให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น. แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์จะเรียกเก็บค่าภาคหลวงตามมาตรา 14(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีไม้อยู่ในเวลาที่เรียกเก็บค่าภาคหลวง.มิฉะนั้นเมื่อผู้รับอนุญาตไม่ชำระ ก็ไม่มีไม้ตกเป็นของแผ่นดิน.
โจทก์มีหนังสือเรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ซึ่งมีรอยตราค่าภาคหลวงสูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่.จึงเป็นการเรียกเก็บค่าภาคหลวงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. ซึ่งโจทก์จะเอาเงินมัดจำการตรวจตีตราค่าภาคหลวงจำนวน 30,000บาท นั้นไปหักชำระเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าภาคหลวงไม่ได้.ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าภาคหลวงที่โจทก์ยังอ้างว่ายังขาดอยู่นั้นอีกด้วย. โจทก์ชอบที่จะคืนเงิน30,000 บาท ให้แก่จำเลยแต่ละรายตามส่วนการทำไม้ของจำเลย.
โจทก์เรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ที่มีตราค่าภาคหลวงทั้ง 1,021 ท่อนนั้นได้สูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่. จึงไม่มีไม้ที่ทำออกซึ่งจะต้องเสียค่าภาคหลวง. โจทก์จึงเอาเงิน 30,000 บาทมาหักกลบลบกับค่าภาคหลวง ซึ่งจำเลยจะต้องชำระตามที่โจทก์อ้างหาได้ไม่. จำเลยแต่ละรายมีสิทธิที่จะได้รับค่าภาคหลวงล่วงหน้าตามใบอนุญาตของตนคืน.
of 28