พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าโฆษณาที่ไม่สมบูรณ์ และผลของการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด
หนี้ที่จะหักกลบลบหนี้กันได้นั้นต้องเป็นหนี้อย่างเดียวกัน และต้องเป็นหนี้ที่ไม่มี ข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 344 พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างได้แก่ใบเสร็จรับเงินซึ่งโดยปกติเป็นเอกสารแสดงการรับเงิน จึงมิได้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ส่วนใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารที่บริษัท ท. มีไปถึงจำเลย จึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่าหนี้ค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยพึงชำระแก่บริษัท ท. โดยเฉพาะเจาะจง มิได้พึงชำระให้แก่โจทก์ แม้โจทก์และบริษัท ท. เป็นบริษัท ในเครือเดียวกัน แต่ก็เป็นนิติบุคคลคนละรายกันตามกฎหมาย หากจะมีการโอนหนี้ของ บริษัท ท. ให้แก่โจทก์ก็จะต้องทำเป็นหนังสือและต้องบอกกล่าวไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ หรือจำเลยต้องยินยอมด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ ดังกล่าว และที่โจทก์อ้างว่ามีการสรุปยอดหนี้กันแล้ว คงเหลือจำนวนเงินที่โจทก์จะต้อง ชำระให้แก่จำเลยอีก 257,000 บาท ก็เป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนที่โจทก์อ้างว่า พนักงานของจำเลยส่งโทรสารไปยังโจทก์แจ้งว่าโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน 574,000 บาท ก็ปรากฏในเอกสารดังกล่าวว่ามีผู้ลงนาม ในตอนท้ายเป็นชื่อเล่นว่า ม. โดยไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยอยู่ และไม่ปรากฏว่าส่งไปจากที่ใด ส่วนจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าจำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้ทำโฆษณา แสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าโฆษณาที่โจทก์จะขอหักกลบลบหนี้กับจำเลย โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ค่าโฆษณาของบริษัท ท. ไปหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์จะต้องชำระ ในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งอายัด: สิทธิของผู้ร้องในการนำเงินค่าปรับไปชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าปรับและเงินชดเชยงานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 โดยห้ามมิให้ผู้ร้องจำหน่ายจ่ายโอนเงินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นใด แต่ให้จัดส่งเงินดังกล่าวไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวหลังจากผู้ร้องได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบข้อหาลือลงวันที่ 26 มกราคม 2544 ว่า ผู้ร้องมีสิทธินำเงินค่าปรับที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ไปชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่ผู้ร้องได้โดยผู้ร้องต้องมีหนังสือแจ้งขอใช้สิทธิหักลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 หากผู้ร้องไม่แจ้งการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ก็จะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ได้แจ้งอายัด ผู้ร้องจึงมีหนังสือลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงผลการหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุด และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าปรับส่วนที่เหลือ ซึ่งถือได้ว่าผู้ร้องได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 และ 342 แล้ว แต่เนื่องจากผู้ร้องเพิ่งจะแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 หลังจากวันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งอายัด - ผู้ร้องแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้หลังรับทราบคำสั่งอายัด จึงไม่มีสิทธิ
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าปรับและเงินชดเชยงานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ โดยห้ามมิให้ผู้ร้องจำหน่ายจ่ายโอนเงินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นใด แต่ให้จัดส่งเงินดังกล่าวไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ร้องได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบข้อหารือว่า ผู้ร้องมีสิทธินำเงินค่าปรับที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1,347,666 บาท ไปชำระหนี้จำนวน 6,244,185.80 บาท ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่ผู้ร้องได้ โดยผู้ร้องต้องแจ้งขอใช้สิทธิหักลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 หากผู้ร้องไม่แจ้งการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ก็จะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ได้แจ้งอายัด ผู้ร้องจึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าปรับส่วนที่เหลือจำนวน 4,896,519.80 บาท ซึ่งถือได้ว่าผู้ร้องได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 และ 342 แล้ว แต่ผู้ร้องเพิ่งจะแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 หลังจากวันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ, การยึดหน่วง/หักกลบลบหนี้, การเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลา, และการรับฟังพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้จัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานที่ทำการของจำเลยคิดเป็นค่าจ้างเดือนละ 82,000 บาท จำเลยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 1 เดือน กับ 15 วัน คิดเป็นเงิน 150,333.25 บาท มิได้สูงมากดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์เรียกร้องมากกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้อง เห็นว่า คำฟ้องดังกล่าวข้างต้นเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพของข้อหาของโจทก์ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว นอกจากนี้โจทก์ยังส่งสำเนาใบทำงาน/ใบแจ้งหนี้ซึ่งคำนวณถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าจ้างแนบท้ายมาด้วย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนจำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ตามฟ้อง หรือไม่ เป็นเรื่องคู่ความจะต้องนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วยจำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาดังกล่าวได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่ ส่วนจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องเกินกว่าจำนวนเงินในสัญญาจ้างทำของหรือไม่ก็สามารถพิจารณาได้จากสัญญาดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 26 มิถุนายน 2546 โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี คำร้องดังกล่าวจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องก็สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งจำเลยเองก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว กล่าวคือจำเลยยื่นคำร้องวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ขอระบุผู้จัดการจำเลยเป็นพยานซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาต แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้คู่ความต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาดังปรากฏตามเอกสารสำเนาใบแจ้งหนี้ที่จำเลยเคยชำระค่าจ้างล่วงเวลาให้แก่โจทก์ ซึ่งการทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาถือเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยระบุว่า ผู้ว่าจ้าง (จำเลย) รับเงินค่าว่าจ้างตามข้อ 2 ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิยึดหน่วงหรือถ่วงเวลาไว้เกินกำหนดหรือจะนำไปหักกลบลบหนี้อย่างอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นลายลักษณ์อักษร จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาว่าจำเลยจะไม่ยึดหน่วงค่าจ้างและนำค่าจ้างไปหักกลบลบหนี้ มีข้อยกเว้นอยู่กรณีเดียวคือได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยหักกลบลบหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงหรือหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วยจำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาดังกล่าวได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่ ส่วนจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องเกินกว่าจำนวนเงินในสัญญาจ้างทำของหรือไม่ก็สามารถพิจารณาได้จากสัญญาดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 26 มิถุนายน 2546 โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี คำร้องดังกล่าวจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องก็สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งจำเลยเองก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว กล่าวคือจำเลยยื่นคำร้องวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ขอระบุผู้จัดการจำเลยเป็นพยานซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาต แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้คู่ความต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาดังปรากฏตามเอกสารสำเนาใบแจ้งหนี้ที่จำเลยเคยชำระค่าจ้างล่วงเวลาให้แก่โจทก์ ซึ่งการทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาถือเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยระบุว่า ผู้ว่าจ้าง (จำเลย) รับเงินค่าว่าจ้างตามข้อ 2 ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิยึดหน่วงหรือถ่วงเวลาไว้เกินกำหนดหรือจะนำไปหักกลบลบหนี้อย่างอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นลายลักษณ์อักษร จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาว่าจำเลยจะไม่ยึดหน่วงค่าจ้างและนำค่าจ้างไปหักกลบลบหนี้ มีข้อยกเว้นอยู่กรณีเดียวคือได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยหักกลบลบหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงหรือหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8829/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผู้รับประกันภัยมีหนี้โจทก์แยกจากสิทธิไล่เบี้ยจากผู้กระทำละเมิด หักกลบลบหนี้มิได้
จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์และรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 3 เมื่อรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 3 เฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งในฐานะเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ในความเสียหายที่โจทก์ได้รับตามกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 และในฐานะที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกคือโจทก์ในความเสียหายที่เกิดจากรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ จำเลยที่ 4 จึงมีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองกรณีเพียงฝ่ายเดียว โจทก์ไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 และรับช่วงสิทธิจากโจทก์ไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ที่ทำให้รถยนต์โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดภาระหนี้แก่โจทก์ไม่ เมื่อการใช้ค่าสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 4 แก่โจทก์ยังไม่เพียงพอแก่ความเสียหายที่แท้จริง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนที่ขาดจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผู้ทำละเมิด และยังเรียกให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 3 ภายในวงเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ได้อีกด้วย จำเลยที่ 4 จึงตกเป็นหนี้โจทก์ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนที่ขาดแก่โจทก์อีก เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยที่ 4 จึงไม่ใช่กรณีที่บุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระที่ลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 จำเลยที่ 4 จึงไม่อาจนำเอาหนี้ค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้แก่โจทก์ไปแล้วมาหักกลบลบกับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องส่วนที่ขาดอีกได้ ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีที่สิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลเดียวกันอันจะทำให้หนี้รายนั้นระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 353
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้บัตรเครดิตตามข้อตกลง แม้หนี้ขาดอายุความ ไม่ถือเป็นการละเมิด
ธนาคารจำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต มิใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ข้อความในคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ให้นำหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความไปก่อนที่จำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้แล้วนั้นมาหักบัญชีเงินฝากของโจทก์เป็นข้อสัญญาที่มุ่งจะขยายอายุความ อันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นั้น เป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้นไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ข้อความในคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ให้นำหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความไปก่อนที่จำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้แล้วนั้นมาหักบัญชีเงินฝากของโจทก์เป็นข้อสัญญาที่มุ่งจะขยายอายุความ อันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นั้น เป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้นไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต & การรับสภาพหนี้จากการหักบัญชีโดยมิได้รับความยินยอม
หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้
การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4895/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องมีมูลหนี้เดียวกันและถึงกำหนดชำระ การชำระหนี้ด้วยสิ่งของอื่นต้องได้ความยินยอม
การหักกลบลบหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 341 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลสองคนต่างมีความผูกพันต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน และต้องมีมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ มีวัตถุแห่งหนี้เหมือนกัน เช่น เงินต่อเงินหรือสิ่งของต่อสิ่งของ และหนี้ทั้งสองฝ่ายต้องถึงกำหนดชำระแล้ว จึงจะนำมาขอหักกลบลบหนี้กันได้ จำเลยเป็นหนี้ค่าจ้างค้างชำระแก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เงิน แม้จำเลยจะโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์แต่ฝ่ายเดียว เพราะโจทก์มีหนี้ที่ต้องส่งคืนวงล้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ยังไม่ได้ทำการชุบสีให้แก่จำเลยก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวหามีมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วแต่อย่างไร กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องหักกลบลบหนี้ เพียงแต่เป็นเรื่องที่จำเลยขอชำระหนี้ด้วยสิ่งของอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 321 ซึ่งจำเลยจะทำได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยินยอมตกลงด้วยเท่านั้น แต่ได้ความว่าก่อนฟ้องและหลังฟ้องโจทก์กับจำเลยได้เจรจาตกลงหนี้กันแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ โจทก์จึงยึดหน่วงวงล้อรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ยังอยู่ที่โจทก์ไว้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยก็ไม่ได้นำสืบว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยนำวงล้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวตีราคาชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างไรด้วย จำเลยจึงไม่อาจนำวงล้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ยึดหน่วงไว้ตีราคาชำระหนี้แก่โจทก์ได้อีกเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่า ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ต้องด้วยลักษณะหักกลบลบหนี้จึงให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยนั้นชอบแล้วศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยนำฟ้องแย้งไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย: มาตรา 1119 วรรคสอง ห้ามโดยเด็ดขาด
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้น ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดมิให้หักหนี้กับบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท จำเลยจึงไม่อาจยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 มาขอหักหนี้กับหนี้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาค้ำประกันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3007/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นบุคคลสองฝ่ายที่มีความผูกพันโดยมูลหนี้เดียวกัน แม้เป็นบริษัทในเครือก็ไม่อาจนำหนี้ของบริษัทอื่นมาหักกลบได้
ผู้ที่จะหักกลบลบหนี้กันได้จะต้องเป็นบุคคลสองคนและมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน แม้บริษัท น. จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่บริษัท น. ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากไปจากจำเลยที่ 1 มีผู้ถือหุ้นแตกต่างจากกัน การจัดทำงบดุลบัญชีแยกต่างหากจากกัน แม้บริษัท น. จะมีสิทธิเรียกร้องหรือเป็นเจ้าหนี้โจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะไปนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ทั้งนี้เพราะหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท น. เป็นความผูกพันของโจทก์กับบริษัท น. ส่วนหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แยกต่างหากจากกันจะนำมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้