พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักหนี้จากเงินได้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจากเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้) ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการตามลำดับที่กำหนด หากยังไม่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การหักเงินจากบัญชีฝากจึงเป็นการผิดสัญญา
โจทก์กับพวกเคยถูกจำเลยฟ้องและตกลงทำสัญญาประนีประนอม ยอมความต่อหน้าศาลว่า โจทก์กับพวกยอมร่วมกันชำระเงินจำนวน 17,188,274.38 บาท ให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในต้นเงิน 13,400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยโจทก์กับพวกจะชำระทั้งหมดภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำ สัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัด ยอมให้จำเลยยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอ ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของโจทก์กับพวกชำระหนี้จนครบศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วหากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด เมื่อยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่เสร็จสิ้นและจะต้องดำเนินการต่อไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและ คำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของ โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัตินอกเหนือและผิดไปจาก ที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจะอ้างว่าเป็น การหักกลบลบหนี้มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้อง ปฏิบัติต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการตามลำดับที่ตกลง หากยังไม่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การหักบัญชีเงินฝากถือเป็นการผิดสัญญา
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้การที่ยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้มิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของ จทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัติ นอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่อาจทำได้ และจำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้ ก็มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติ ต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการหักบัญชีชำระหนี้
โจทก์กับพวกเคยถูกจำเลยฟ้องและตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่า โจทก์กับพวกยอมร่วมกันชำระเงินจำนวน 17,188,274.38บาท ให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในต้นเงิน 13,400,000บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยโจทก์กับพวกจะชำระทั้งหมดภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัดยอมให้จำเลยยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของโจทก์กับพวกชำระหนี้จนครบ ศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วหากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด เมื่อยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่เสร็จสิ้นและจะต้องดำเนินการต่อไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ และเมื่อมิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัตินอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติต่อกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การหักเงินชำระแล้ว, และประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกันใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1 ได้มอบเงิน 1,000,000บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน 1,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้นโจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมา จะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน, การหักเงินชำระ, อายุความฟ้อง, และการแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกัน ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1ได้มอบเงิน 1,000,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้องหากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้น โจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลย ทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดิน ให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้ว จำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณี ที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต การหักกลบลบหนี้ และการสิ้นผลผูกพันของเช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วยดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่งจำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มา หักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้ กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่า ธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็ค เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษา ถึงที่สุดเมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน จำเลยบอกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้องแม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงิน การหักกลบลบหนี้ และการเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วย ดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้
กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่าธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน
จำเลยออกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทงการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่าธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน
จำเลยออกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทงการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับข้อพิพาทค้างคawาน หากสิทธิเรียกร้องมีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จะต้องอยู่ ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้อง ใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมา หักกลบลบหนี้กันไม่ได้ เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติ ตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขาย ได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงิน ค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้น หรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงิน จำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลยจึงเป็น สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิ เรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้า ครั้งหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อพิพาท: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้