พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ โดยไม่แสดงเหตุผลอันสมควร และการหักกลบลบหนี้จากหนี้ที่มีข้อพิพาท
ครั้งแรกจำเลยขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยอ้างว่าพยานไปงานแต่งงานญาติที่จังหวัดนครปฐม ศาลสั่งให้เลื่อนคดีไป แต่ในการนัดสืบพยานนัดต่อมาจำเลยขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สองอ้างว่าพยานไปโอนที่ดินที่จังหวัดนครนายกศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาผ่อนผันอนุญาตให้เลื่อนคดีไป ในการพิจารณาคดีต่อมาจำเลยกลับขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สาม อ้างว่าพยานป่วย โดยมิได้อ้างเหตุผลว่าป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อย่างไร อันเป็นเหตุผลตามกฎหมายในข้อที่ว่าไม่อาจก้าวล่วงเสียได้อย่างไร นอกจากนี้จำเลยไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 40วรรคหนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงข้อที่จำเลยไม่อ้างเหตุขอเลื่อนดคีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว ประกอบกับคำแถลงของทนายจำเลยในนัดที่ขอเลื่อนคดีครั้งที่สองว่าหากจำเลยไม่นำพยานมาศาลในการพิจารณานัดต่อไปถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต่อไปได้
จำเลยอ้างว่า โจทก์ค้างชำระค่าจอดรถเดือนละ 5,000 บาทปรากฏว่าโจทก์เคยเจรจากับจำเลยแล้วว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าส่วนนี้เพราะเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนที่จำเลยไม่ให้โจทก์ใช้ถนนหน้าโกดัง เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยอ้างดังกล่าวโจทก์ได้โต้แย้งและไม่ยอมรับสิทธิเรียกร้องที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ เป็นหนิ้ที่ยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิได้ ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 344
จำเลยอ้างว่า โจทก์ค้างชำระค่าจอดรถเดือนละ 5,000 บาทปรากฏว่าโจทก์เคยเจรจากับจำเลยแล้วว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าส่วนนี้เพราะเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนที่จำเลยไม่ให้โจทก์ใช้ถนนหน้าโกดัง เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยอ้างดังกล่าวโจทก์ได้โต้แย้งและไม่ยอมรับสิทธิเรียกร้องที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ เป็นหนิ้ที่ยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิได้ ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 344
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกา
จำเลยที่5ได้ให้การต่อสู้คดีว่าการที่โจทก์นำเงินไปไถ่ถอนที่ดินที่จำนองไว้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่บริษัท จ. ในฐานะผู้ค้ำประกันตามที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาสัญญาประนีประนอมยอมความมาวินิจฉัยเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่5ไม่ถูกต้องนั้นแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ยกข้อต่อสู้ของจำเลยที่5ขึ้นวินิจฉัยและจำเลยที่5อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ได้ชำระเงินให้บริษัท จ.เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินมิใช่ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่5ไม่ต้องร่วมรับผิดเพราะจำเลยที่5ไม่ได้เป็นผู้รับเรือนโจทก์ในการที่โจทก์ได้นำที่ดินไปจำนองเป็นประกันการกู้เงินจำเลยที่5มิได้อุทธรณ์โต้เถียงว่าการที่ศาลชั้นต้นไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยที่5ขึ้นวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไรไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจำเลยที่5จึงไม่มีสิทธิฎีกาเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249วรรคหนึ่ง จำเลยที่1กู้เงินจากบริษัท จ. ไป2,000,000บาทโจทก์ขอกู้จากจำเลยที่1จำนวน300,000บาทเงินที่โจทก์กู้ไปเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่1กู้เงินจากบริษัท จ. ซึ่งจำเลยที่3ถึงที่6จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใดจำเลยที่3ถึงที่6จะขอให้นำเงินจำนวน300,000บาทดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยไปหักออกจากเงินที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่3ถึงที่6รับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์/ฎีกาไม่ชัดแจ้ง-ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง-สิทธิฎีกา-สัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 5 ได้ให้การต่อสู้คดีว่า การที่โจทก์นำเงินไปไถ่ถอนที่ดินที่จำนองไว้ ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่บริษัท จ. ในฐานะผู้ค้ำประกันตามที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาสัญญาประนีประนอมยอมความมาวินิจฉัยเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 5 ไม่ถูกต้องนั้น แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ยกข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 5 ขึ้นวินิจฉัย และจำเลยที่ 5 อุทธรณ์แต่เพียงว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้บริษัท จ.เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดิน มิใช่ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 5 ไม่ต้องร่วมรับผิด เพราะจำเลยที่ 5 ไม่ได้เป็นผู้รับเรือนโจทก์ในการที่โจทก์ได้นำที่ดินไปจำนองเป็นประกันการกู้เงิน จำเลยที่ 5มิได้อุทธรณ์โต้เถียงว่า การที่ศาลชั้นต้นไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 5 ขึ้นวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 5 จึงไม่มีสิทธิฎีกาเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 กู้เงินจากบริษัท จ. ไป 2,000,000 บาทโจทก์ขอกู้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 300,000 บาท เงินที่โจทก์กู้ไปเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 กู้เงินจากบริษัท จ. ซึ่งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จะขอให้นำเงินจำนวน 300,000 บาท ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยไปหักออกจากเงินที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 รับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
จำเลยที่ 1 กู้เงินจากบริษัท จ. ไป 2,000,000 บาทโจทก์ขอกู้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 300,000 บาท เงินที่โจทก์กู้ไปเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 กู้เงินจากบริษัท จ. ซึ่งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จะขอให้นำเงินจำนวน 300,000 บาท ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยไปหักออกจากเงินที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 รับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย การนับระยะเวลาการทราบคำสั่ง และการส่งมอบเงินตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ก. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินได้ร่วมกันจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 724 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่มีฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นไปด้วย มาตรา 693 ก็ไม่ได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจาก ก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ก. และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกัน ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน 3,143,287.66 บาทไปหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก. ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างกองทรัพย์สินลูกหนี้กับทายาทผู้รับมรดก และกรอบเวลาการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่2และที่3ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมีก. ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่2ที่3และก. ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่2ที่3และก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีด้วยกรณีนี้จำเลยที่2ที่3และก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3เป็นลูกหนี้ชั้นต้นส่วนก. เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่สองตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา724มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้และแม้ว่าก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่าก. ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3หาได้หมายความว่าก. จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3ไปด้วยไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ก. และจำเลยที่2และที่3ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่2และที่3ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน9,429,863บาทให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66บาทไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกัน: สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ร่วมและลูกหนี้ชั้นที่ 2
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมี ก.ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3และ ก.ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวด้วย กรณีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3และ ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 2และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น ส่วนนางกัลยาเป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 725 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก.ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก.จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่า ก.ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้หมายความว่า ก.จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3ไปด้วยไม่ มาตรา 693 หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ ก.และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66 บาท ไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 725 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก.ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก.จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่า ก.ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้หมายความว่า ก.จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3ไปด้วยไม่ มาตรา 693 หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ ก.และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66 บาท ไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเช่าซื้อผิดสัญญา การเลิกสัญญา และการคืนเงิน/ชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้ประโยชน์
โจทก์ทำสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยครั้งแรก 50,000 บาท แล้วโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ต่อมาจำเลยกับพวกมาที่ บ้านพิพาท จำเลยพูดขับไล่ ส. บุตรโจทก์ออกจากบ้านพิพาทถ้าไม่ออกจะเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ส. และ น.กลัวจึงขนของออกแล้วจำเลยปิดประตูใส่กุญแจบ้านพิพาทเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาและเป็นการแสดงเจตนา เลิกสัญญา ดังนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 กล่าวคือ จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วจำนวน 50,000 บาท กับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อแทนจำเลย 18 เดือน เป็นเงิน 65,070 บาทรวมเป็นเงิน 115,070 บาท แต่จำเลยได้มอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ เมื่อบุตรโจทก์พักอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท เป็นเวลา 49 เดือนเศษ โจทก์จึงต้องให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการใช้บ้านพิพาท ปรากฏว่าการเคหะแห่งชาติคิดค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ออกจากบ้านพิพาทเดือนละ2,000 บาท ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นอัตราที่สมควร จึงกำหนดค่าที่โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่บ้านพิพาทคิดเป็นเงิน98,000 บาท ซึ่งโจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ 17,070 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เลิกสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อและการคืนสิทธิประโยชน์จากการใช้บ้าน
โจทก์ทำสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยครั้งแรก 50,000 บาท แล้วโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่ผู้ให้เช่าซื้อต่อมาจำเลยกับพวกมาที่บ้านพิพาท จำเลยพูดขับไล่ ส.บุตรโจทก์ออกจากบ้านพิพาท ถ้าไม่ออกจะเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ส.และ น.กลัวจึงขนของออกแล้วจำเลยปิดประตูใส่กุญแจบ้านพิพาท เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาและเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา ดังนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391กล่าวคือ จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วจำนวน 50,000 บาท กับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อแทนจำเลย 18 เดือน เป็นเงิน 65,070 บาท รวมเป็นเงิน 115,070 บาท แต่จำเลยได้มอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ เมื่อบุตรโจทก์พักอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท เป็นเวลา49 เดือนเศษ โจทก์จึงต้องให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการใช้บ้านพิพาท ปรากฏว่าการเคหะแห่งชาติคิดค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ออกจากบ้านพิพาทเดือนละ 2,000 บาท ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นอัตราที่สมควร จึงกำหนดค่าที่โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่บ้านพิพาทคิดเป็นเงิน98,000 บาท ซึ่งโจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามเมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ 17,070 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เลิกสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันความเสียหายจากการเช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือถูกบอกเลิก
แม้สัญญาเช่าตึกแถวข้อ2จะได้ระบุว่าโจทก์ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันความเสียหายแก่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วก็ตามแต่ในกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าหรือจำเลยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่า2ปีตามสิทธิที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าข้อ12โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนเงินประกันความเสียหายนั้นให้แก่จำเลยผู้เช่าหลังจากหักเงินประกันดังกล่าวชำระหนี้ค่าน้ำประปาไฟฟ้าโทรศัพท์และความเสียหายของตึกแถวที่แล้วด้วยเพราะเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่วางไว้แก่โจทก์เพียงพอเพื่อประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเช่าดังกล่าวเท่านั้นดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าตึกแถวต่อกันแล้วโจทก์ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันความเสียหายดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าและเมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำเลยจึงมีสิทธิที่จะขอให้หักกลบลบหนี้ดังกล่าวกับเงินประกันความเสียหายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันสัญญาเช่าเมื่อสัญญาเลิกก่อนกำหนด และสิทธิหักกลบลบหนี้
แม้สัญญาเช่าตึกแถวข้อ 2 จะได้ระบุว่า โจทก์ผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันความเสียหายแก่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วก็ตาม แต่ในกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าหรือจำเลยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่า 2 ปีตามสิทธิที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมต้องคืนเงินประกันความเสียหายนั้นให้แก่จำเลยผู้เช่าหลังจากหักเงินประกันดังกล่าวชำระหนี้ค่าน้ำประปาไฟฟ้า โทรศัพท์ และความเสียหายของตึกแถวที่แล้วด้วย เพราะเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่วางไว้แก่โจทก์เพียงเพื่อประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการเช่าดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าตึกแถวต่อกันแล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันความเสียหายดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่า และเมื่อปรากฏว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะขอให้หักกลบลบหนี้ดังกล่าวกับเงินประกันความเสียหายนั้นได้