คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 173

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษีป้ายเกินกำหนดระยะเวลา และหนังสือแจ้งผลการหารือไม่ใช่การแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงทำการประเมินใหม่แล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่ 1 มีนาคม 2526 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 เดือนเดียวกันแต่มิได้อุทธรณ์ กลับโต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ตอบมายังจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 คำนวณภาษีป้ายถูกต้องแล้ว ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่ 3 กับให้โจทก์นำค่าภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มไปชำระภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือ ครั้นวันที่ 1 มิถุนายน 2526 โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 3 ดังนี้ หนังสือลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไว้แล้วตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2526 ไปชำระแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น หาใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่ อุทธรณ์ของโจทก์จึงยื่นเกินกว่า 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 มิใช่การแจ้งการประเมิน ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเรือ: อายุความ, การหักกลบลบหนี้, ค่าใช้จ่ายทดรอง และการพิสูจน์ความเสียหาย
สัญญาเช่าเรือที่โจทก์จำเลยทำกันไว้เดิมเป็นสัญญาเช่าเรือกินริกิ เมื่อเรือดังกล่าวจมลงสัญญาเช่าเรือกินริกิ ย่อมระงับไปแต่เมื่อตามเจตนา และทางปฏิบัติในระหว่างโจทก์กับจำเลยเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลย ตกลงกันให้ถือเอาสัญญาเช่าเรือกินริกิที่ได้ทำสัญญากันไว้นั้น มาเป็นสัญญาเช่าเรือลำใหม่โดยอนุโลมและมิต้องทำสัญญากันใหม่ การเช่าเรือลำใหม่จึงต้องเป็นไปตามข้อสัญญาเช่าเรือกินริกิ ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไข ความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไข ความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลยการบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืน ให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์แต่โจทก์มิได้ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยกลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ตลอดมาจำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลย จึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่างๆ รวมทั้งการเช่า หรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์ เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้า ของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไปมิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้อง บังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้ อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่าย ยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกันทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหา ของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย ไว้โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐาน และข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา173 ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหา ของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าว หักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวน ค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอนทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่ จำเลยกล่าวอ้างจึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าเรือ, อายุความ, การหักกลบลบหนี้, ค่าเสียหายจากการเช่า, การจ่ายทดรองค่าใช้จ่าย
สัญญาเช่าเรือที่โจทก์จำเลยทำกันไว้เดิมเป็นสัญญาเช่าเรือกินริกิ เมื่อเรือดังกล่าวจมลงสัญญาเช่าเรือกินริกิย่อมระงับไป แต่เมื่อตามเจตนา และทางปฏิบัติในระหว่างโจทก์กับจำเลยเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ถือเอาสัญญาเช่าเรือกินริกิที่ได้ทำสัญญากันไว้นั้นมาเป็นสัญญาเช่าเรือลำใหม่โดยอนุโลมและมิต้องทำสัญญากันใหม่ การเช่าเรือลำใหม่จึงต้องเป็นไปตามข้อสัญญาเช่าเรือกินริกิ
ความชำรุดบกพร่องของเรือถ้าไม่เป็นเหตุถึงแก่ผู้เช่าจะต้อง ปราศจากการใช้และประโยชน์ ทั้งผู้ให้เช่ายังแก้ไขได้ กรณีไม่เข้าเกณฑ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 548 แต่เป็นไปตาม มาตรา 551 ที่ผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้เช่าให้จัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นก่อนเมื่อปรากฏว่าก่อนมีการบอกเลิกสัญญาจำเลยผู้เช่าไม่เคยบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ให้เช่าจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องมาก่อนเลย การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ
หลังจากบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วจำเลยได้ส่งมอบเรือที่เช่าคืนให้แก่โจทก์โดยไม่ยอมเช่าเรือดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และชอบที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย กลับเรียกร้องค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าประกอบกับเรือที่เช่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตลอดมา จำเลยมิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในเรือดังกล่าว จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดในค่าเช่าที่ยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการเช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าเรือจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจึงตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ส่วนกรณีที่โจทก์ ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเดินเรือขนส่งสินค้าของจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองไป มิใช่เป็นเรื่องผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับภาษาและข้อบังคับที่จะให้อนุญาโตตุลาการใช้ในการพิจารณา และอนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายยังไม่มีโอกาสพบปะดำเนินการพิจารณารวมกัน ทั้งยังไม่ได้รับข้อกล่าวหาของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลยไว้ โดยโจทก์เพียงแต่มอบหลักฐานและข้อเรียกร้องของตนไว้แก่อนุญาโตตุลาการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ค่าเสียหายตามที่จำเลยอ้างถึง จำเลยเพียงแต่ให้การต่อสู้ข้อหาของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยได้รับความเสียหายจากการเช่าเรือของโจทก์ หากจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ก็ขอเอาค่าเสียหายดังกล่าวหักกลบลบหนี้ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จำนวนค่าเสียหายก็ยังไม่แน่นอน ทั้งโจทก์ก็นำสืบปฏิเสธค่าเสียหายตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะ ขอ หักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้ง: การฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้รับผลจากการฟ้องของโจทก์ หากเป็นการเปลี่ยนสถานะจากลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้
การที่จำเลยฟ้องแย้งแม้จะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดอันเดียวกันต่อเนื่องกัน และที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้นั้น ก็เป็นบทบัญญัติที่ผ่อนผันให้จำเลยฟ้องมาในคำให้การได้เพื่อความสะดวกแก่จำเลยโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ให้ยุ่งยากและเสียเวลา แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ โจทก์เป็นลูกหนี้จึงเป็นคนละฝ่ายกัน ดังนั้นการฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็เฉพาะโจทก์ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย เมื่อจำเลยฟ้องแย้งพ้น 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้ง: การฟ้องของโจทก์สะดุดอายุความเฉพาะโจทก์ มิได้เป็นคุณแก่จำเลยที่ฟ้องแย้ง
การที่จำเลยฟ้องแย้งแม้จะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดอันเดียวกันต่อเนื่องกัน และที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้นั้น ก็เป็นบทบัญญัติที่ผ่อนผันให้จำเลยฟ้องมาในคำให้การได้เพื่อความสะดวกแก่จำเลยโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ให้ยุ่งยากและเสียเวลา แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ โจทก์เป็นลูกหนี้จึงเป็นคนละฝ่ายกัน ดังนั้นการฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็เฉพาะโจทก์ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย เมื่อจำเลย ฟ้องแย้งพ้น 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลาย: การบังคับคดีสะดุดอายุความและเริ่มนับใหม่เมื่อคดีถึงที่สุด
การที่โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 อายุความจึงสะดุดหยุดลง จำเลยทั้งสามร้องคัดค้านการขายทอดตลาดและใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมา เมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกา อายุความจึงเริ่มนับใหม่แต่เวลานั้นสืบไป ดังนั้นนับแต่วันศาลฎีกาพิพากษาถึงวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลาย สิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีและการสะดุดหยุดอายุความ
การที่โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 อายุความจึงสะดุดหยุดลง จำเลยทั้งสามร้องคัดค้านการขายทอดตลาดและใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมา เมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาอายุความจึงเริ่มนับใหม่แต่เวลานั้นสืบไป ดังนั้นนับแต่วันศาลฎีกาพิพากษาถึงวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลาย สิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314-316/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองที่ดิน: ที่บ้านที่สวน vs. ที่ดินมือเปล่า, การรบกวนการครอบครอง และผลของการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
การแย่งการครอบครองที่บ้าน ที่สวน ที่ต้องใช้อายุความ9 ปี 10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น ต้องได้ความว่ามีสภาพเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ถ้าไม่ปรากฏว่าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แล้ว ก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 อันว่าด้วยที่ดินมือเปล่าซึ่งผู้ยึดถือมีแต่สิทธิครอบครอง
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น ไม่ทำให้การครอบครองที่ดินสะดุดหยุดลง เพราะมิใช่เป็นการฟ้องคดีต่อศาล
of 16