คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 173

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุด และนับใหม่เมื่อมีอุทธรณ์และฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12, 31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514 อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521 อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปี หนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุดของอายุความตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากการอุทธรณ์และการฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12,31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่ หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปีหนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดจากคดีแพ่งต่อเนื่องคดีล้มละลาย การพิสูจน์หนี้ไม่ขาดอายุความ
ศาลสั่งจำหน่ายคดีแพ่งเพราะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เจ้าหนี้นำเช็คในคดีนั้นมาขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย ถือเป็นการตั้ง หลักฐานสิทธิเรียกร้องทางศาลต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีการค้า: การแจ้งประเมินและการบังคับชำระหนี้ ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ในเรื่องภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือน โดยนำเงินค่าภาษีการค้าไปชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการการค้าเงินได้พึงประเมินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปซึ่งถือได้ว่ามูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ภาษีของเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้านับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดชำระเป็นต้นไป สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อหนี้ค่าภาษีการค้าที่โจทก์เสียขาดไปถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2506 และทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือนถัดไปเจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2506 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ขาดให้โจทก์นำไปชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ซึ่งโจทก์ทราบการประเมินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2514 ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้ชำระหนี้ภาษีที่ค้างแล้วภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88ทวิ(2) ซึ่งมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระ กรมสรรพากรจำเลยก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่จะดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีโดยมิต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเช่นกรณีเจ้าหนี้อื่น ๆและต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์ตลอดจนนำคดีนี้มาฟ้องสืบเนื่องกันมา จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรรายนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีการค้า: การแจ้งประเมินและสิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ในเรื่องภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือน โดยนำเงินค่าภาษีการค้าไปชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการการค้าเงินได้พึงประเมินภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดไปซึ่งถือได้ว่ามูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ภาษีของเดือนนั้นๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้านับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดชำระ เป็นต้นไป สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อหนี้ค่าภาษีการค้าที่โจทก์เสียขาดไปถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2506 และทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือนถัดไป เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2506 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ขาดให้โจทก์นำไปชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86 ทวิ ซึ่งโจทก์ทราบการประเมินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2514 ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้ชำระหนี้ภาษีที่ค้างแล้วภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 88 ทวิ (2) ซึ่งมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากโจทก์ไม่นำเงินไปชำระ กรมสรรพากรจำเลยก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่จะดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีโดยมิต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเช่นกรณีเจ้าหนี้อื่นๆ และต่อมาโจทก์ได้อุทธรณ์ตลอดจนนำคดีนี้มาฟ้องสืบเนื่องกันมา จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรรายนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย, อายุความภาษีอากร, การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของนายจ้าง & อายุความเรียกร้องหนี้ภาษี กรณีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จะนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ. 2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลจึงจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมิน การอุทธรณ์ และการฟ้องร้อง ส่งผลต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ทำให้จำนวนเงินค่าภาษีขาดไปต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีที่ขาดไปนี้ได้ถึงกำหนดชำระแล้ว ตั้งแต่วันที่โจทก์ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68 และ 69 คือภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ภาษีรายพิพาทเป็นภาษีเงินได้สำหรับระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2495 ถึง 2500 ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2496, 30 พฤษภาคม 2497, 30 พฤษภาคม 2498, 29 พฤษภาคม 2499, 30 พฤษภาคม 2500 และ 30 พฤษภาคม 2501 ตามลำดับ อายุความจึงเริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระของแต่ละปีเป็นต้นไป เพราะเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เพิ่มเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2505 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีได้จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี และการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่าดีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ถ้าผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีอากรค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยอมเป็นเหตุให้อายุความสุดุดหยุดลง ส่วนการที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2515 นั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งประเมินเรียกเก็บภาษีเป็นเพียงข้อวินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องหรือไม่เท่านั้น จะนับอายุความจากวันครบกำหนดชำระภาษีจนถึงวันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าเกิน 10 ปี ขาดอายุความหาได้ไม่ และกรณีที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินดังกล่าว ทั้งฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีนี้สืบเนื่องกันมา ถือได้ว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรจำเลยที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้รายพิพาทจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 167
เงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรจำเลยไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและกรมสรรพากรจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ ซึ่งฝ่ายจำเลยถือว่ามีสิทธิเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และโต้เถียงเช่นนั้นตลอดมา ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีดังกล่าวคืน จึงไม่ใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับที่จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์ได้เสียภาษีเพิ่มสำหรับรอบระยะบัญชี 2495 และ 2496 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โดยจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ แต่ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มน้อยกว่าที่ชำระไปแล้ว โจทก์จึงชำระภาษีเกินกว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเป็นเงิน 727,340.86 บาท ดังนี้ กรมสรรพากรจำเลยต้องคืนเงินภาษีจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวให้โจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้นำภาษีที่โจทก์ชำระเกินไว้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่โจทก์จะต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2497 และ 2498 ได้ เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้เช่นที่บัญญัติในมาตรา 18 ทวิ, 60 ทวิ คือให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการและภาษีที่เรียกเก็บ
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ ทั้งสิทธิเรียกร้องในหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จะหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีเงินได้บริษัท, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน พร้อมดอกเบี้ย
ภาษีเงินได้บริษัทจำกัดถึงกำหนดชำระ 150 วัน จากครบรอบระยะบัญชีแต่ละปี อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 167 นับตั้งแต่วันนั้น ครบ 150 วัน จากรอบปีบัญชี 30 พ.ค.2496 กรมสรรพากรแจ้งการประเมินภาษีเพิ่ม 26 ธ.ค.2505 ไม่เกิน 10 ปี ถือเสมือนฟ้องคดีตาม มาตรา 173 แล้ว โดยเป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 โดยไม่ต้องฟ้อง การแจ้งผลวินิจฉัยอุทธรณ์หลังจากนั้นไม่ขาดอายุความ
เงินเดือนพนักงานของโจทก์ที่สำนักงานภาคส่งเข้ามาสอนพนักงานสาขาในประเทศ เป็นรายจ่ายที่หักได้ จึงต้องคืนเงินนี้แก่บริษัทโจทก์รวมกับดอกเบี้ย ตาม มาตรา 224 ไม่มีกฎหมายให้กรมสรรพากรเอาเป็นเครดิตสำหรับภาษีปีต่อไปเหมือนชำระภาษีล่วงหน้าตาม มาตรา 18ทวิ 20ทวิ และหักกลบลบหนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อต่อสู้ อายุความเรียกเงินคืนมิใช่ลาภมิควรได้ จึงไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษี: การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินถือเป็นการสั่งบังคับ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้สั่งให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องเป็นการสั่งบังคับได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 โดยไม่ต้องฟ้องจึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีอายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
of 16