พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้หลังล้มละลายมีผลผูกพันได้ แต่ดอกเบี้ยย้อนหลังในขณะล้มละลายเป็นโมฆะ
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คมีมูลหนี้มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเรื่องก่อนของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็มีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่ภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือพิพาทให้แก่เจ้าหนี้โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงและลูกหนี้ยังมิได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้หนังสือพิพาทดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ตามเช็คธนาคาร ท. ที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ในระหว่างที่ลูกหนี้ยังอยู่ในภาวะล้มละลายอันเป็นการกระทำเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 24 ซึ่งตกเป็นโมฆะไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามหนังสือพิพาทเป็นเงินต้น 22,750,000 บาท
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดในสัญญาโอนสิทธิบัตรภาษีมีผลผูกพันจำเลย แม้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้อื่น และไม่ขาดอายุความ
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ทำข้อตกลงให้แก่โจทก์ว่า หากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้ง อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยที่ 3 ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีพิพาท จึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีโดยสัญญาว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดจำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ทำข้อตกลงให้แก่โจทก์ว่า หากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้ง อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยที่ 3 ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีพิพาท จึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีโดยสัญญาว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดจำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10852/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านเป็นโมฆะจากดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 350,000 บาท และค้างชำระดอกเบี้ยโจทก์ต่อมาสามีจำเลยได้ทำสัญญาขายบ้านพิพาทให้โจทก์ในราคา 590,000 บาท โดยมีการโอนหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จำนวน 590,000 บาท แทนการชำระราคาบ้าน เมื่อพิจารณาดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระโจทก์แล้วนำมารวมกับต้นเงินกู้เป็นเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านพิพาทนั้น เป็นการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทจึงเกิดจากหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาบ้านพิพาทที่กำหนดในสัญญาจะรวมเอาต้นเงินกู้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์และสามีจำเลยมิได้มีเจตนาจะแบ่งแยกซื้อขายบ้านบางส่วนในราคาต้นเงิน 350,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระอยู่ สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับสามีจำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4541/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความกับการดำเนินคดีอาญาเช็ค – สิทธิระงับตามกฎหมาย
โจทก์ร่วมได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้เงินตามมูลหนี้ตามเช็คพิพาทสี่ฉบับต่อมาโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ใช้เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์ร่วมคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นโจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 ถึงแม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ข้อ 3 จะระบุเป็นข้อยกเว้นว่า การตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ไม่มีผลในคดีอาญาคดีนี้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวนั้นมีวัตถุประสงค์ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 173 แห่ง ป.พ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายรวมในต้นเงินกู้ โมฆะเฉพาะส่วน แต่สิทธิเรียกร้องในส่วนที่ชอบยังคงอยู่
สัญญากู้ยืมเงินส่วนที่เกิน 350,000 บาท เป็นดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แล้วนำมารวมเข้าเป็นต้นเงินกู้ที่ทำขึ้นใหม่เป็นดอกเบี้ยต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) ส่วนของต้นเงินที่มาจากดอกเบี้ยที่ไม่ชอบทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะ แต่ไม่ทำให้ส่วนของต้นเงินที่ชอบจำนวน 350,000 บาท เสียไปด้วย เพราะพึงสันนิษฐานโดยพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่าโจทก์จำเลยเจตนาให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินในส่วนที่ชอบคือต้นเงิน 350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 19 มกราคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้อง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 19 มกราคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับก่อน ทั้งที่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายและผลต่อสัญญา, การพิพากษาเกินคำฟ้อง
สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ จำนวนเงินกู้ส่วนที่เกิน 350,000 บาท เป็นดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วนำมารวมเข้าเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่ทำขึ้นใหม่ อันเป็นดอกเบี้ยต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ส่วนของต้นเงินที่มาจากดอกเบี้ยไม่ชอบทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะ แต่สัญญากู้ยืมเงินนี้แม้จะมีส่วนของต้นเงินที่ไม่ชอบรวมอยู่ด้วย ก็ไม่ทำให้ส่วนของต้นเงินที่ชอบจำนวน 350,000 บาท เสียไปด้วย เพราะพึงสันนิษฐานโดยพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่าโจทก์จำเลยเจตนาให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินในส่วนที่ชอบคือต้นเงิน 350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญา นับแต่วันที่ 19 มกราคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 19 มกราคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่กู้ยืมเงินกันตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับก่อน ทั้งที่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า/บริการที่ไม่ทำตามแบบไม่เป็นโมฆะ หากเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิหลายประการในระบบที่ซับซ้อน
ตามมาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน อันเป็นแบบแห่งนิติกรรม เมื่อไม่ทำตามแบบย่อมตกเป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้
โจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" และ "สตาร์มาร์ท" และได้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ด้วย โจทก์เช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกแล้วก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน แล้วได้ทำสัญญาการให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวระบุถึงข้อตกลงการให้สิทธิว่า โจทก์ให้สิทธิชนิดไม่ผูกขาดแก่จำเลยที่ 1 ที่จะดำเนินการในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโจทก์ โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าไปในที่ดินและใช้สถานีบริการน้ำมัน รวมทั้งเครื่องมือภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานี้ และตามสัญญาข้อ 5 ระบุถึงค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์ จากข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์เพียงตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" ของโจทก์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 ต้องซื้อจากโจทก์มาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันตามข้อสัญญาเป็นสินค้าของโจทก์เอง แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้า "คาลเท็กซ์" ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยโจทก์เองแล้วนำมาจำหน่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไปเท่านั้น มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาเอง แล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้นโดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อย่างใด สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมัน จึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แม้จะไม่จดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการร้านค้าเพื่อให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าภายใต้เครื่องหมายบริการคำว่า "สตาร์มาร์ท" ของโจทก์ ซึ่งหากสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจะตกเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตามแบบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง แต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุข้อตกลงในการให้สิทธิโดยโจทก์เป็นเจ้าของระบบ "สตาร์มาร์ท" ซึ่งประกอบด้วย เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า สัญลักษณ์ การใช้สีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เครื่องมือ คู่มือการประกอบธุรกิจ โดยโจทก์ได้พัฒนาระบบดังกล่าวรวมถึงการกำหนดรูปแบบการจัดวาง การจำหน่ายสินค้า การขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ การส่งเสริมการขายและการโฆษณา การบริหารจัดการ และการฝึกอบรมพนักงานของผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ และโจทก์ตกลงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการร้านสตาร์มาร์ทในสถานีบริการน้ำมันของโจทก์โดยใช้ระบบของโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ให้สิทธิในระบบสตาร์มาร์ทแก่จำเลยที่ 1 หลายประเภท เพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนต่อการที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ โดยเครื่องหมายคำว่า "สตาร์มาร์ท" เป็นเพียงสิทธิส่วนหนึ่งในสิทธิหลายประการในระบบสตาร์มาร์ทที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ประการอื่นนั้น คู่สัญญาได้แสดงเจตนาระบุชัดไว้แล้ว แสดงถึงพฤติการณ์ที่แยกได้ต่างหากจากสิทธิในการใช้เครื่องหมายบริการ ข้อตกลงส่วนอื่นจึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
คำว่า "สตาร์มาร์ท" นอกจากเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์แล้ว ยังเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์ โดยในส่วนของข้อตกลงเกี่ยวกับชื่อทางการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้โดยโจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำตามแบบแห่งนิติกรรม สัญญาที่เป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย "สตาร์มาร์ท" จึงสมบูรณ์ ในส่วนของการอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าด้วย
โจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" และ "สตาร์มาร์ท" และได้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ด้วย โจทก์เช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกแล้วก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน แล้วได้ทำสัญญาการให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวระบุถึงข้อตกลงการให้สิทธิว่า โจทก์ให้สิทธิชนิดไม่ผูกขาดแก่จำเลยที่ 1 ที่จะดำเนินการในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโจทก์ โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าไปในที่ดินและใช้สถานีบริการน้ำมัน รวมทั้งเครื่องมือภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานี้ และตามสัญญาข้อ 5 ระบุถึงค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์ จากข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์เพียงตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" ของโจทก์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 ต้องซื้อจากโจทก์มาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันตามข้อสัญญาเป็นสินค้าของโจทก์เอง แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้า "คาลเท็กซ์" ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยโจทก์เองแล้วนำมาจำหน่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไปเท่านั้น มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาเอง แล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้นโดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อย่างใด สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมัน จึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แม้จะไม่จดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการร้านค้าเพื่อให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าภายใต้เครื่องหมายบริการคำว่า "สตาร์มาร์ท" ของโจทก์ ซึ่งหากสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจะตกเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตามแบบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง แต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุข้อตกลงในการให้สิทธิโดยโจทก์เป็นเจ้าของระบบ "สตาร์มาร์ท" ซึ่งประกอบด้วย เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า สัญลักษณ์ การใช้สีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เครื่องมือ คู่มือการประกอบธุรกิจ โดยโจทก์ได้พัฒนาระบบดังกล่าวรวมถึงการกำหนดรูปแบบการจัดวาง การจำหน่ายสินค้า การขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ การส่งเสริมการขายและการโฆษณา การบริหารจัดการ และการฝึกอบรมพนักงานของผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ และโจทก์ตกลงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการร้านสตาร์มาร์ทในสถานีบริการน้ำมันของโจทก์โดยใช้ระบบของโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ให้สิทธิในระบบสตาร์มาร์ทแก่จำเลยที่ 1 หลายประเภท เพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนต่อการที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ โดยเครื่องหมายคำว่า "สตาร์มาร์ท" เป็นเพียงสิทธิส่วนหนึ่งในสิทธิหลายประการในระบบสตาร์มาร์ทที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ประการอื่นนั้น คู่สัญญาได้แสดงเจตนาระบุชัดไว้แล้ว แสดงถึงพฤติการณ์ที่แยกได้ต่างหากจากสิทธิในการใช้เครื่องหมายบริการ ข้อตกลงส่วนอื่นจึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
คำว่า "สตาร์มาร์ท" นอกจากเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์แล้ว ยังเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์ โดยในส่วนของข้อตกลงเกี่ยวกับชื่อทางการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้โดยโจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำตามแบบแห่งนิติกรรม สัญญาที่เป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย "สตาร์มาร์ท" จึงสมบูรณ์ ในส่วนของการอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้สิทธิไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ แม้ข้อสัญญาบางส่วนเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าเป็นโมฆะ
แม้ข้อสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายบริการที่ไม่ทำตามแบบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จะตกเป็นโมฆะ แต่ในสัญญาข้อ 24 ยังมีข้อความอีกว่า หากสัญญานี้ข้อใดข้อหนึ่งตกเป็นโมฆะหรือไม่อาจบังคับได้ ให้ถือว่าสัญญาข้ออื่นยังคงมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับต่อไปได้ เห็นได้ว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์จากสัญญาข้ออื่นหรือต้องการให้มีผลบังคับได้แยกต่างหากจากข้อสัญญาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่ตกเป็นโมฆะ การที่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตกเป็นโมฆะจึงไม่ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมมีส่วนโมฆะ ไม่ทำให้สัญญาทั้งหมดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินที่สมบูรณ์ได้
แม้สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยมีหนี้ส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วยเนื่องจากโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่สัญญากู้ตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้มีส่วนโมฆะ และคำพิพากษาไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์ทั้งสามและจำเลยมีข้อพิพาทระหว่างกันทั้งคดีแพ่งและอาญา การที่ต่อมาโจทก์ทั้งสามและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยระบุให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินด้วย ข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่สัญญาประนีประนอมยอมความยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญา คงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่ และข้อตกลงอื่นไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง