คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 173

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าทนายที่ขัดต่อกฎหมายทนายความเป็นโมฆะ แม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ สัญญาเดิมก็ยังไม่สมบูรณ์
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ2มีว่าจ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น6,000,000บาทแต่เนื่องจากจ. ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนายข้อ1ชำระแทนโดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน40ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมดและหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใดจ. ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ40เช่นเดียวกันอีกด้วยซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ1เป็นที่ดินที่จ. จะได้มาจากการฟ้องร้องคดีจึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่จ. ลูกความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2508มาตรา41ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2477มาตรา12(2)ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญาจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญาแม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2508แล้วและตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาลมาตรา86กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความมาตรา53ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้างและเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ40มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะและไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ที่แก้ไขใหม่การที่กองมรดกของจ. ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจากพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าทนายที่กำหนดค่าตอบแทนเป็นส่วนแบ่งทรัพย์สินจากการฟ้องร้อง ถือเป็นโมฆะตามกฎหมายทนายความ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาท แต่เนื่องจากจ. ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใดจ. ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1เป็นที่ดินที่ จ. จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ. ลูกความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิมที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 แล้วและตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความมาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ที่แก้ไขใหม่การที่กองมรดกของ จ. ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจากพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าทนายที่ใช้ที่ดินและเงินจากคดีชำระค่าตอบแทนเป็นโมฆะ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาทแต่เนื่องจาก จ.ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใด จ.ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40 เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1 เป็นที่ดินที่ จ.จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ.ลูกความ เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41 ประกอบ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12 (2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มี พ.ร.บ.ทนายความพ.ศ.2528 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 แล้ว และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ มาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้
สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา173 ที่แก้ไขใหม่ การที่กองมรดกของ จ.ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจาก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, การลดเบี้ยปรับ, และค่าทนายความที่เหมาะสมกับรูปคดี
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม11คดีภายในกำหนด3วันนับแต่วันทำสัญญาและให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด15วันนับแต่วันทำสัญญาและจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000บาทภายในวันที่31กรกฎาคม2535ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497จำนวน6คดีและเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน5คดีทั้ง11คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดินฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารจ.1ข้อ1(ฎ)เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตามก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11สำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัยเป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน5,000,000บาทหากจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มีเจตนาผูกพันตามนั้นจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาดศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าคดีนี้ไม่ยุ่งยากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม3,000,000บาทสูงเกินไปนั้นเป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้วไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ, ข้อตกลงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย, การลดเบี้ยปรับ, ค่าทนายความ
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม 11 คดี ภายในกำหนด 3 วันนับแต่วันทำสัญญา และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000 บาท ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จำนวน 6 คดี และเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน 5 คดี ทั้ง 11 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสาร จ.1 ข้อ 1 (ฏ) เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11 สำนวน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้หลายบัญชี: วงเงินจำนอง, โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ, ดอกเบี้ยทบต้น
ตามสัญญาจำนองระบุว่า จำเลยที่ 2 ตกลงจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันหนี้ทุกชนิดของจำเลยที่ 2และหรือจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000บาท เท่านั้น ดังนั้นตามสัญญาจำนองดังกล่าวจำเลยที่ 2มีความรับผิดในต้นเงินที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันกับต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันในวงเงินรวมกันเป็นจำนวน 1,000,000 บาทส่วนข้อความตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆนั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีเงินจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองจึงเป็นโมฆะ แต่จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยของหนี้ต้นเงินตามวงเงินจำนองนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองโดยถือเอาวันที่หนี้ตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยทั้งสองกับหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 รวมกันได้เต็มวงเงินจำนองดังกล่าวครั้งหลังสุดเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันเลิกสัญญา หลังจากนั้นต้องรับผิดในดอกเบี้ยไม่ทบต้นต่อไปจนกว่าจะมีการชำระเสร็จสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท-ดอกเบี้ยเกินอัตรา: แม้เช็คไม่ได้เป็นโมฆะทั้งหมด แต่ดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแต่ต้นเงิน
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ด้วยเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ แต่ท้ายคำให้การก็มีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยนี้ด้วย ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยออกเช็คพิพาทให้เพื่อชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์โดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ ส่วนเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืมเป็นเช็คที่สมบูรณ์มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้: โมฆะเฉพาะส่วนดอกเบี้ย แต่เงินต้นยังใช้บังคับได้
จำนวนต้นเงินในสัญญากู้ได้รวมดอกเบี้ยที่คิดล่วงหน้าและเป็นดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25ต่อเดือนยังคงสมบูรณ์ ปัญหาว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่เกิดจากหนี้เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง 10,000 บาท ส่วนอีก 13,800 บาทเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654จึงตกเป็นโมฆะ สัญญาซื้อขายที่พิพาทกำหนดราคาเท่ากับต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ จึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้ราคาที่กำหนดในสัญญาจะรวมเอาต้นเงินกู้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาจะแบ่งแยกซื้อขายที่พิพาทบางส่วนในราคาเงินต้น 10,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระอยู่ สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่เกิดจากหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ต่อมาเมื่อถึงกำหนด จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาซื้อขายที่พิพาท โดยตีราคาที่พิพาทเท่ากับยอดรวมของต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ดังนี้สัญญาซื้อขายที่พิพาทจึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้ราคาบางส่วนคือเงินต้นจะเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาแบ่งแยกซื้อขายที่พิพาทบางส่วนในราคาเท่ากับต้นเงินที่ค้างชำระ สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับ
of 16