คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้านี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์ที่ศาลจังหวัดปัตตานีจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วยกรณีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 (เดิม) ที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น คดีนี้ศาลจังหวดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรมดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ให้จำหน่ายคดีโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนมานั้นจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพิจารณาว่าข้อความหมายถึงโจทก์หรือไม่
คำว่า "วีรบุรุษ" ตามพจนานุกรม หมายความว่า ชายที่ได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญ คำว่า "คนมีสี" เป็นที่เข้าใจของบุคคลทั่วไปว่าหมายถึงข้าราชการตำรวจและทหารทุกระดับชั้นยศ ส่วนคำว่า "นายพล" เป็นตำแหน่งของข้าราชการตำรวจและทหารการที่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ลงพิมพ์ข้อความในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์ข่าวสดว่า "การที่ข่าวสดถูกคนร้ายโยนระเบิด... จะเป็นการกระทำของวีรบุรุษซาตาน... หรือใครก็ตาม... ไม่ว่าจะเป็นคนมีสีหรือไม่มีสีก็ตาม ผู้บงการจะต้องถูกลงโทษไม่มีการยกเว้น" และข้อความว่า "สงสัยว่าเป็นนายพลเงินเดือนไม่มากมายแต่ทำไมมีเงิน..จ่ายดอกเบี้ยเป็นล้านถึงบางอ้อเมื่อทราบว่ารายได้จากการแข่งม้านัดเดียวก็กินถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน" นั้น ไม่มีตอนใดที่ระบุว่าเป็นโจทก์หรือทำให้เข้าใจว่าเป็นโจทก์ ทั้งโจทก์เองก็รับว่าก่อนเกิดเหตุหนังสือพิมพ์ข่าวสดลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยระบุตัวโจทก์ตรง ๆ ไม่ต้องแปลหรือทำความเข้าใจเองว่าหมายถึงใคร ดังนั้น หากจำเลยทั้งหกประสงค์จะให้ถ้อยคำดังกล่าวชี้ชัดเฉพาะเจาะจงเป็นการยืนยันว่าเป็นโจทก์ ก็น่าจะกล่าวถึงตัวโจทก์โดยระบุตรง ๆ เหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ข้อความตามที่จำเลยทั้งหกลงพิมพ์ดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าเป็นโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการลงโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์รายวัน ข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่าย หนังสือพิมพ์รายวัน ข. แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์ บันเทิงว่า "จิกจักรวาล!หึ่งปุ๋ยโอเค.นู้ด!5 ล้าน.!" มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนักไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้านทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาล ปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัม ด้วย แต่ปรากฏว่าทางปุ๋ย เรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000 บาท จึงจะยอมถ่ายอย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหมปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยว เล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้เงินแค่ 5,000,000 บาท ถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใด เลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชัง โจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติ และสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอัน เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332(2) บัญญัติว่าในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่ บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียว หรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่า ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัย ต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือ จากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความ โจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด หรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ และผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือนและปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ ไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลจำกัดอำนาจการสั่งให้ขอโทษ และวินิจฉัยความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข.แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์บันเทิงว่า "จิกจักรวาล! หึ่ง ปุ๋ย โอเค.นู้ด! 5 ล้าน.!"มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนัก ไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.... ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้าน ทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาลปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัมด้วย แต่ปรากฎว่าทางปุ๋ยเรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000บาท จึงจะยอมถ่าย... อย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหม ปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยวเล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้ เงินแค่ 5,000,000 บาทถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 329
ตาม ป.อ.มาตรา 332 (2) บัญญัติว่า ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่าให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับกระดาษพิมพ์หนังสือพิมพ์ พิจารณาจากชื่อ, คุณสมบัติ, และวัตถุประสงค์การใช้
หนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา4 หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ประกอบกับใบอนุญาตซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ออกให้โจทก์นั้นระบุไว้ชัดว่า อนุญาตให้โจทก์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกบิสิเนสเยลโล่เพจเจ็ส และหนังสือพิมพ์สมุดธุรกิจเยลโล่เพจเจ็สอีกหลายฉบับ ซึ่งออกเป็นรายปี ดังนี้ สมุดธุรกิจต่าง ๆ ของโจทก์จึงเป็นหนังสือพิมพ์ตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษ หาได้หมายถึง วัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ชื่อที่เรียก คุณสมบัติลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯ สินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่ง ดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค.(1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน55 กรัมต่อตารางเมตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทกระดาษนำเข้าตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า โดยพิจารณาจากชนิด คุณสมบัติ และวัตถุประสงค์การใช้
หนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา4 หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกันและออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ประกอบกับใบอนุญาตซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ออกให้โจทก์ระบุไว้ชัดว่า อนุญาตให้โจทก์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกบิสิเนสเยลโล่เพจเจ็สและหนังสือพิมพ์สมุดธุรกิจเยลโล่เพจเจ็สอีกหลายฉบับ ซึ่งออกเป็นรายปี ดังนี้สมุดธุรกิจต่าง ๆ ของโจทก์จึงเป็นหนังสือพิมพ์ตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษหาได้หมายถึงวัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่นชื่อที่เรียกคุณสมบัติ ลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯสินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่งดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค.(1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน 55 กรัมต่อตารางเมตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทกระดาษนำเข้าเพื่อเสียอากร: พิจารณาจากชื่อ คุณสมบัติ และวัตถุประสงค์การใช้งาน
หนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา4 หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกันและออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ประกอบกับใบอนุญาตซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ออกให้โจทก์ระบุไว้ชัดว่า อนุญาตให้โจทก์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกบิสิเนสเยลโล่เพจเจ็สและหนังสือพิมพ์สมุดธุรกิจเยลโล่เพจเจ็สอีกหลายฉบับ ซึ่งออกเป็นรายปี ดังนี้สมุดธุรกิจต่าง ๆ ของโจทก์จึงเป็นหนังสือพิมพ์ตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษหาได้หมายถึงวัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ชื่อที่เรียกคุณสมบัติ ลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯสินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่งดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค. (1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน 55 กรัมต่อตารางเมตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องคดีหมิ่นประมาท การแสดงความเห็นโดยสุจริต และความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่าอย่างไร และว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตนั้น มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและตามทางไต่สวนมูลฟ้องที่โจทก์นำสืบ คำสั่งดังกล่าวจึงปรากฏข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(5)แล้ว
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่แสดงถ้อยคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการกองสารวัตรอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยละเอียด ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดของจำเลยดำเนินการเกี่ยวแก่การโฆษณาขายรองเท้าสุขภาพของโจทก์ไปแล้วประการใดและมีความเห็นว่าการโฆษณาของโจทก์เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติยาเป็นประการใดโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งได้กระทำไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยสั่งว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิด ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ปรากฏเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6) แล้ว.
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ หากเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ หาเป็นการก้าวล่วงผิดกระบวนพิจารณาไม่
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และฎีกาว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งศาลชั้นต้นก็มิได้ฟังฝ่าฝืน ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 โจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาอีกหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เพียงแต่เป็น'เจ้าของหนังสือพิมพ์' แต่มิได้กระทำการอันใด ซึ่งย่อมหมายความได้ว่าจำเลยที่ 4 มิได้จัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์ตามบทนิยามของคำว่า 'ผู้พิมพ์' ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ 2484 มาตรา4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิใช่ 'ผู้พิมพ์' ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่4 จึงไม่มีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาในความผิดตาม มาตรา48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความเท็จ และการแก้ข่าวที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า 'เมีย ผวจ. เต้นก๋าขู่ประธานสภา บุกโรงพัก จวกแหลก โมโหสารภาพ' เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำ ทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการ บุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบ ซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2525 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการและผู้พิมพ์
ข้อความที่ลงหนังสือพิมพ์ในคอลัมน์ "มองมุมนอก" ของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" นอกจากระบุถึงชื่อและนามสกุลของโจทก์แล้ว ยังลงรูปโจทก์ด้วย ทั้งข้อความก็หมายถึงโจทก์เป็นส่วนใหญ่ และข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์ประพฤติปฏิบัติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม การที่โจทก์ผ่านการสัมมนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารไม่ได้ช่วยดัดสันดานและนิสัยของโจทก์ให้กลับตัวกลับใจมีคุณธรรม โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่านายพิชิตผู้สื่อข่าวไทยรัฐ เพราะโจทก์มีนิสัยขอบวางอำนาจมาตรใหญ่ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย และใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจฝ่ายต่ำจึงเข้าครอบงำ ถ้าประเทศมีข้าราชการระดับนักบริหารอย่างโจทก์ บ้านเมืองจะไปไม่รอด ข้อความดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของหนังสือพิมพ์ที่พึงกระทำ หรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
บรรณาธิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดลอก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ดังนั้น ในกรณีแห่งนังสือพิมพ์ บรรณาธิการที่จะต้องรับผิดเป็นตัวการ ต้องเป็นบรรณาธิการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการมีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" รับว่าเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณาทั้งหมดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
of 2