พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการฟ้องคดีประกันสังคม: การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมกำแพงเพชร ซึ่งคำสั่งดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้อง ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับคำฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกทอดถึงทายาท
กรณีลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายนั้น สิทธิในการรับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกทอดแก่ทายาท
ส.ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 ซึ่งขณะนั้น ส.ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส.ย่อมยุติลงในวันที่2 กรกฎาคม 2533 ทายาทของ ส.หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.อีกไม่ได้
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส.ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส.ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60 ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่
ส.ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 ซึ่งขณะนั้น ส.ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส.ย่อมยุติลงในวันที่2 กรกฎาคม 2533 ทายาทของ ส.หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.อีกไม่ได้
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส.ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส.ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60 ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองแรงงาน: บาดเจ็บจากอุบัติเหตุระหว่างทำงาน แม้ไม่บรรยายถึงการสูญเสียอวัยวะโดยตรง ฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนซึ่งจำเลยเป็นประธานและวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้รับอันตรายโดยประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่ แพทย์ลงความเห็นว่ากระดูกต้นขาขวาและกระดูกหน้าแข้งแตกละเอียด เข่าขวาจะงอพับไม่ได้ตลอดไป กระดูกอักเสบเป็นหนองเรื้อรังที่ขาขวาตลอดไป ดังนี้ โจทก์ได้บรรยายถึงบาดแผลของโจทก์ที่เกิดจากอุบัติเหตุและผลที่ได้รับจากอุบัติเหตุนั้นแล้ว ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 วรรคสอง มีข้อความว่า การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้ถือว่าลูกจ้างสูญเสียอวัยวะนั้นด้วย ฯ โจทก์จึงหาจำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพด้วยไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406-3410/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่โต้แย้งคำสั่งเงินทดแทนในเวลาที่กำหนด สิทธิในการต่อสู้คดีในศาลแรงงานเป็นอันสิ้นสุด
การที่นายจ้างทราบคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแล้วมิได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่ออธิบดีกรมแรงงานภายในกำหนด นายจ้างหามีสิทธิดำเนินการในศาลแรงงานไม่ และการดำเนินการไม่ได้นี้รวมถึงเมื่อลูกจ้างฟ้องขอให้ศาลบังคับนายจ้างจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน นายจ้างก็ไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วย เพราะต้องถือว่าคำวินิจฉัยของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของนายจ้าง: อำนาจการรับรู้อยู่ที่ผู้อำนวยการองค์การ ไม่ใช่หน่วยงานสาขา
ผู้แทนของโจทก์ได้แก่ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้การที่จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทน ก็คือผู้อำนวยการของโจทก์ทราบนั่นเอง แม้โจทก์จะมีหน่วยงานอื่นซึ่งได้แก่ส่วนทำไม้ตากและฝ่ายทำไม้ภาคเหนือ แต่ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็มิได้มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน หรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว หรือมิได้มีอำนาจที่จะนำคดีมาสู่ศาลได้ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอันจะถือได้ว่าส่วนทำไม้ตากเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการที่แรงงานจังหวัดกำแพงเพชรแจ้งคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้ส่วนทำไม้ตากรับทราบในวันที่ 21 ธันวาคม 2526 จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทราบคำสั่งในวันดังกล่าวถือว่าโจทก์เพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าวจากบันทึกรายงานของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือเมื่อวันที่ 19 มกราคม2527 การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวและนำคดีมาสู่ศาลในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 จึงไม่เกิน 30 วันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างโรคประจำตัวและสภาพแวดล้อมการทำงาน
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพ เท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของการตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน
โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของการตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองแรงงาน: การตายจากการทำงานถือเป็นการประสบอันตราย นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน
ลูกจ้างไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน ได้ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา โดยทำการล้างหินอัดหินตามทางรถไฟซึ่งเป็นที่กลางแจ้ง ต้องก้ม ๆ เงย ๆ พอถึงเวลา 10.30 นาฬิกา อากาศร้อนอบอ้าว เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยตรง
การที่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่พนักงานเงินทดแทนสั่งโดยที่นายจ้างแต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาล จึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก ไปใช้บังคับหรือเทียบเคียงมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่าสิ่งที่พนักงานเงินทดแทนสั่งไปผิดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่พนักงานเงินทดแทนสั่งโดยที่นายจ้างแต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาล จึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก ไปใช้บังคับหรือเทียบเคียงมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่าสิ่งที่พนักงานเงินทดแทนสั่งไปผิดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการไปดูประกาศหน้าที่ ไม่ถือเป็นการทำงาน จึงไม่เป็นเหตุให้ต้องจ่ายค่าทดแทน
บ. เป็นพนักงานขับรถของโจทก์ การปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานให้โจทก์ก็คือการขับรถ แม้กฎข้อบังคับและระเบียบการเดินรถจะได้กำหนดให้พนักงานขับรถต้องไปอ่านประกาศประจำวันเพื่อให้พนักงานขับรถทราบว่าตนมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ การที่ บ. ไปดูประกาศประจำวันจึงมิใช่การทำงาน ดังนั้น เมื่อ บ.ประสบอันตรายแก่กายขณะเดินไปดูประกาศดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าบ. ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ่ายค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนการฟ้องร้องเงินทดแทนและการพิสูจน์ความเสียหายจากการทำงาน
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานว่าด้วย เงินทดแทน ได้กำหนดขั้นตอนการเรียกร้องและการสั่งการในเรื่องเงินทดแทนไว้แล้ว.โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสียก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนทันทีโดยมิได้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมแรงงานก่อน เพราะเป็นการขัดกับขั้นตอนในการที่จะนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเงินทดแทนจากอุบัติเหตุการทำงาน และการปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์คำสั่งเงินทดแทน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้ให้ลูกจ้างขับรถให้จำเลยแล้วเกิดอุบัติเหตุลูกจ้างถึงแก่ความตาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเกี่ยวกับความประมาทจึงไม่จำต้องบรรยายว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งเงินทดแทนของพนักงานเงินทดแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
ส่วนจำเลยถ้าไม่พอใจคำสั่งเงินทดแทนดังกล่าว ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่ออธิบดีกรมแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากจำเลยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย จำเลยจึงต้องจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งเงินทดแทน
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งเงินทดแทนของพนักงานเงินทดแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
ส่วนจำเลยถ้าไม่พอใจคำสั่งเงินทดแทนดังกล่าว ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่ออธิบดีกรมแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากจำเลยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย จำเลยจึงต้องจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งเงินทดแทน