คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องยื่นคำร้องภายใน 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195
ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่า การดำเนินการทำหนังสือขอให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญไม่ได้ส่งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ตัวแทนหรือผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิเสนอวาระและแสดงความคิดเห็นผู้ถือหุ้นและตัวแทนผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียไม่มีสิทธิลงมติ จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ลงมติน้อยกว่า 1 ใน 3 ของหุ้นบริษัท การลงมติให้เลิกและขายกิจการบริษัทต้องกระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่ การลงมติขัดต่อข้อบังคับและกฎหมายขอให้เพิกถอนมติเป็นเรื่องที่อ้างว่าการเรียกประชุมหรือการประชุมและการลงมติของที่ประชุมได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนได้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินจากจำเลย 2 แปลงโจทก์จ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน 2 แปลงให้แก่จำเลยแล้วแต่จำเลยจัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 1 แปลงเท่านั้นส่วนที่ดินอีกแปลงหนึ่งจำเลยยังไม่จัดการโอนขายแก่โจทก์ตามที่ตกลงกัน ถือว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่ยังมิได้โอนและเรียกเงินราคาที่ดินคืนได้และนับแต่วันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินแปลงแรกจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 2 ปีเศษแล้ว จำเลยก็มิได้จัดการโอนที่ดินที่เหลืออีก 1 แปลงให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินราคาที่ดินดังกล่าวคืนโดยไม่ขอบังคับให้จำเลยโอนที่ดินอันเป็นการแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาต่อไป จึงเท่ากับเป็นการบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่เหลือโดยปริยาย โจทก์ฟ้องเรียกราคาที่ดินคืน เพราะเหตุจำเลยผิดสัญญา จะซื้อขายที่ดิน และโจทก์บอกเลิกสัญญา จะนำอายุความ 1 ปี ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาบังคับไม่ได้ต้องนำอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดี: ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนอุทธรณ์
หากจำเลยเห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีจำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่บังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เมื่อศาลไต่สวนและมีคำสั่งแล้ว จำเลยจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไป การที่จำเลยอ้างว่าได้คัดค้านการขายทอดตลาดด้วยวาจา แล้วอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดไปทีเดียว ย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถูกยกเลิกโดยศาลอุทธรณ์ ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาลชั้นต้นในกรณีฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินเช่นกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ จำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ-กรรมสิทธิ์รวม: การเปลี่ยนแปลงคำขอในชั้นฎีกาต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับ ป. แต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาทั้งโจทก์และ ป. ต่างมีทรัพย์สินมาลงหุ้นส่วนกัน โจทก์กับ ป.จึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. จึงเลิกกันและขณะที่ ป. ถึงแก่ความตายมีทรัพย์สินของหุ้นส่วนหลายรายการ รวมทั้งบ้านและที่ดินพิพาทด้วย จำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า โจทก์ไม่มีทรัพย์สินใดแม้แต่แรงงานมาลงหุ้นกับ ป. ในลักษณะของสัญญาหุ้นส่วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสัญญาการเข้าเป็นหุ้นส่วนได้ ทรัพย์สินตามฟ้องล้วนเป็นทรัพย์สินที่ ป. มีมาก่อนอยู่กินกับโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป. ศาลชั้นต้นจึงกำหนดเป็นประเด็นพิพาทว่า ทรัพย์สินพิพาทเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. หรือไม่เพียงใด เช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินซื้อบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ ป. บ้านและที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป.โจทก์จะยกปัญหาที่ว่า จำเลยซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยเจตนาให้เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ป. ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปลอมและการซื้อขาย/ขายฝากที่ไร้ผลทางกฎหมาย กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของเจ้าของเดิม
โจทก์ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปจำนองธนาคารโดยมิได้กรอกข้อความ จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไปทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาท หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทมิได้เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทคงเป็นของโจทก์ ไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิขายฝากที่พิพาท แม้จำเลยที่ 2และที่ 3 จะจดทะเบียนรับซื้อฝากที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปลอมทำให้การซื้อขายและขายฝากเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้มอบอำนาจ
โจทก์ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำที่พิพาทไปจำนอง จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปทำนิติกรรมโอนขายที่พิพาทให้แก่ตนเอง หนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 นำไปใช้ทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทมิได้เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทคงเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิขายฝากที่พิพาท แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะจดทะเบียนรับซื้อฝากที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและขายฝากที่จำเลยที่ 1ทำไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานแน่นหนา ทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ และคำรับสารภาพ ยืนยันความผิดจำเลยในคดีชิงทรัพย์
โจทก์มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายถึง 2 ปากพยานโจทก์ทั้งสองปากดังกล่าวไม่มีสาเหตุอย่างใดกับจำเลย น่าเชื่อว่าเบิกความไปตามความจริง เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจัดให้มีการชี้ตัวคนร้าย พยานทั้งสองก็ชี้ระบุจำเลยเป็นคนร้ายโดยไม่ลังเล สร้อยคอที่จำเลยนำไปจำนำไว้ตามตั๋วจำนำที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาได้พยานก็ยืนยันว่าเป็นของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายชิงเอาไปทั้งสองเส้นที่จำเลยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น หากเป็นของจำเลยจริงก็ไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะต้องแยกเอาไปจำนำเส้นละแห่งห่างไกลกันให้เป็นการยุ่งยากเช่นนั้น นอกจากนี้โจทก์ยังมีเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่คนร้ายใช้กระทำความผิดเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นคนร้ายร่วมกันชิงรถของพยานไปในคืนวันก่อนจะเกิดเหตุคดีนี้อีกด้วยที่จำเลยอ้างว่าชั้นจับกุมและสอบสวนถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายบังคับให้ลงชื่อในกระดาษต่าง ๆ นั้น เมื่อโจทก์นำผู้จับและผู้สอบสวนเข้าเบิกความประกอบคำรับสารภาพ จำเลยหาได้ถามค้านถึงความข้อนี้ไว้ไม่ จำเลยมาอ้างตนเองและนำสืบข้างเดียวในภายหลังจึงไม่มีน้ำหนัก ตามภาพถ่ายการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพทุกภาพมีประชาชนมุงดูอยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อว่าชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจและตามความสัตย์จริง จึงเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายชิงทรัพย์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน/ตึก: จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่บอกกล่าวก่อนบอกเลิกสัญญาส่วนโจทก์ต้องชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย
สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวระบุว่าชำระเงินดาวน์และเงินที่เหลือภายในกำหนดไว้ในสัญญา แต่ผู้ซื้อชำระเงินดาวน์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาตลอดมาทุกงวด จำเลยก็ยินยอมรับไว้โดยมิทักท้วงถือว่าผู้ขายไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินดาวน์และราคาที่ดินพร้อมตึกแถวตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากผู้ขายประสงค์จะเลิกสัญญาต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 คือต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ผู้ซื้อชำระเงินดาวน์ที่ค้างชำระอยู่ก่อน ต่อเมื่อผู้ซื้อไม่ชำระเงินดาวน์ที่ค้างชำระอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ ผู้ขายจึงจะบอกเลิกสัญญาแก่ผู้ซื้อได้เมื่อผู้ขายมิได้บอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ผู้ซื้อชำระเงินดาวน์ที่ค้างก่อน ผู้ขายจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับผู้ซื้อได้สัญญาจะซื้อขายยังไม่เลิกกัน ผู้ซื้อฟ้องบังคับให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อเองได้ และไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเสมอไป การโต้แย้งคำวินิจฉัยต้องชัดเจน
การวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลต้องฟังข้อพิสูจน์เป็นหลักฐานจากผู้เชี่ยวชาญก่อนแต่อย่างใดและสิ่งใดที่บุคคลธรรมดาอาจตรวจเห็นได้แล้ว ศาลก็ย่อมตรวจเห็นเองได้ ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อของโจทก์ในเอกสารหลายฉบับในสำนวนเปรียบเทียบกันเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดว่าลายมือชื่อเจ้าของรถในคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ได้ เมื่อข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยไม่ตรงตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์โดยชัดแจ้งศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 57