คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานและลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง กรณีชักชวนเพื่อนร่วมงานละเลยหน้าที่ จนทำให้องค์กรเสียหาย และสิทธิประโยชน์อื่นของลูกจ้าง
แม้ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ไม่มีข้อความห้ามพนักงานจัดนำเที่ยวหรือชักชวนพนักงานอื่นไปเที่ยวก็ตาม แต่หมวดว่าด้วยวินัยของพนักงานมีว่า พนักงานต้องตั้งใจปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบคำสั่ง แบบแผน และวิธีปฏิบัติของจำเลยด้วย การที่โจทก์ชักชวนพนักงานที่มีเวรหยุดและวันทำงานตรงกับวันเกิดเหตุไปเที่ยวโจทก์ย่อมเล็งเห็นว่าจะไม่มีพนักงานเพียงพอที่จะนำรถยนต์โดยสารออกแล่นได้ ทำให้จำเลยขาดรายได้ ถือว่าโจทก์ทำผิดวินัย จำเลยสั่งพักงานโจทก์ได้ เงินช่วยเหลือบุตรเป็นสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานเป็นสิทธิประโยชน์อื่นตามข้อบังคับของจำเลย แม้โจทก์จะถูกพักงานก็มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยรับผิด หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทเศษแต่พิพากษาให้จ่ายเป็นเงินจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษเป็นการผิดพลาดในการรวมจำนวนเงิน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ควบคุมการรื้อถอนอาคารที่ผิดแบบและประมาทเลินเล่อจนเกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการรื้อถอนอาคาร ถือได้ว่าเป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารที่เกิดเหตุ เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารอันอาจจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 วรรคแรกแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมงานในความหมายตามมาตรา 4 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 31 วรรคสองอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารที่เกิดเหตุได้ดำเนินการรื้อถอนโดยทุบพื้นคอนกรีตทุกชั้นก่อนเพื่อให้วัสดุที่รื้อถอนหล่นลงมาข้างล่างตามช่องพื้นที่ทุบไว้ และเศษอิฐเศษปูนที่ไม่สามารถผ่านช่องพื้นที่ทุบไว้ได้คงค้างอยู่จนพื้นชั้นที่ 6 รับน้ำหนักไม่ไหว เป็นเหตุให้อาคารที่กำลังรื้อถอนอยู่นั้นพังลงมาทับคนงานที่กำลังรื้อถอนอาคารอยู่ถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย เป็นการรื้อถอนที่ผิดไปจากแบบแปลนและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดและเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31,70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ทราบที่อยู่ใหม่หลังขายบ้าน
จำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องเพราะจำเลยขายบ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมให้แก่ ช.ไป และได้ย้ายไปอยู่บ้านของภรรยาแล้ว และไม่ได้รับการติดต่อจาก ช. เรื่องที่จำเลยถูกฟ้อง เนื่องจาก ช.ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ของจำเลย และจำเลยไม่ได้ไปที่บ้านเดิมอีกเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
คำร้องของจำเลยระบุว่า การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์รวมทั้งคำบังคับ เนื่องจากโจทก์นำไปส่งที่บ้านที่จำเลยขายไปแล้ว ถือได้ว่าคำขอของจำเลยแสดงเหตุแห่งการล่าช้าอันเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือที่จำเลยไม่อาจรู้ได้ ทำให้ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการพิจารณาคดีเนื่องจากจำเลยไม่ทราบเรื่องฟ้องคดี การส่งหมายที่ภูมิลำเนาเดิมหลังขายทรัพย์สิน
จำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องเพราะจำเลยขายบ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมให้แก่ ช. ไป และได้ย้ายไปอยู่บ้านของภรรยาแล้ว และไม่ได้รับการติดต่อ จาก ช. เรื่องที่จำเลยถูกฟ้อง เนื่องจาก ช. ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ของจำเลย และจำเลยไม่ได้ไปที่ บ้านเดิมอีกเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมิได้จงใจ ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา คำร้องของ จำเลยระบุว่า การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยไม่เคยได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์ รวมทั้งคำบังคับ เนื่องจากโจทก์นำไปส่งที่บ้าน ที่จำเลยขายไปแล้ว ถือได้ว่าคำขอของจำเลย แสดงเหตุแห่งการล่าช้าอันเนื่องมาจากพฤติการณ์ นอกเหนือที่จำเลยไม่อาจรู้ได้ ทำให้ไม่สามารถยื่น คำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบิตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ใช้บังคับ ให้ใช้กฎหมายเดิมคุ้มครอง
แม้โจทก์ทั้งสองจะถูกคำสั่งให้ลงโทษพักงานและงดทำงานล่วงเวลาภายหลังที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของโจทก์ที่ถูกกล่าวหาว่าทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมายรวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ข้อพิพาทเกิดขึ้นคือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 ยังคงบังคับตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่ อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อน วันที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตาม ขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบัติ ตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ความสัมพันธ์กับการฟ้องเดิม และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งว่าไม่ได้เลิกจ้าง แต่โจทก์หยุดงานไปเองจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่าเหตุที่โจทก์หยุดงานไปนั้น เป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างตามคำฟ้องของโจทก์หรือจำเลยหยุดงานไปเองตามฟ้องแย้งของจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างจ่ายค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าเปอร์เซ็นต์ดังกล่าว เพราะโจทก์ขายสินค้าได้ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินสำหรับส่วนของสินค้าที่ขายต่ำกว่าที่กำหนดไว้ก็เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่าโจทก์ขายสินค้าให้จำเลยมากกว่าจำนวนที่กำหนด และมีสิทธิได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้าจากจำเลยตามคำฟ้องหรือขายสินค้าได้น้อยกว่าที่กำหนด และจะต้องรับผิดชำระเงินให้จำเลยตามฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเช่นกัน ฟ้องแย้งตามจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่ชอบจะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการเลิกจ้างและค่าเสียหายเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคำฟ้องเดิม ศาลฎีกาเห็นควรรับไว้พิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์หยุดงานไปเองจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่าเหตุที่โจทก์หยุดงานไปนั้น เป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ หรือจำเลยหยุดงานไปเองตามฟ้องแย้งของจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์ และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างจ่ายค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากจำเลย เพราะโจทก์ขายสินค้าให้จำเลยได้ต่ำกว่าที่กำหนดซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินสำหรับส่วนของสินค้าที่ขายต่ำกว่าที่กำหนดไว้นั้นก็เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่า โจทก์ขายสินค้าให้จำเลยมากกว่าจำนวนที่กำหนดและมีสิทธิได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้าจากจำเลยตามคำฟ้องหรือขายสินค้าได้น้อยกว่าที่กำหนดและจะต้องรับผิดชำระเงินให้จำเลยตามฟ้องแย้งฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเช่นกันฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฟ้องแย้งที่ชอบจะให้รับไว้พิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวพันกับคำฟ้องเดิม: การเลิกจ้าง, ค่าเปอร์เซ็นต์การขาย และการชดใช้ความเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์หยุดงานไปเองจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่า เหตุที่โจทก์หยุดงานไปนั้น เป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ หรือจำเลยหยุดงานไปเองตามฟ้องแย้งของจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์ และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างจ่ายค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวจากจำเลย เพราะโจทก์ขายสินค้าให้จำเลยได้ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินสำหรับส่วนของสินค้าที่ขายต่ำกว่าที่กำหนดไว้นั้น ก็เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่า โจทก์ขายสินค้าให้จำเลยมากกว่าจำนวนที่กำหนดและมีสิทธิได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้าจากจำเลยตามคำฟ้องหรือขายสินค้าได้น้อยกว่าที่กำหนดและจะต้องรับผิดชำระเงินให้จำเลยตามฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเช่นกัน ฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฟ้องแย้งที่ชอบจะให้รับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
of 57