พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อเช็คในฐานะผู้แทนบริษัท ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินส่วนบุคคล
เจ้าหนี้มอบเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อร่วมลงทุน จำเลยที่ 1ออกเช็คพิพาทมอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นหลักประกัน เช็คพิพาทมี ป.กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 มิได้เขียนว่ากระทำการแทน แต่การที่ ป. กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนของนิติบุคคล จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำของตัวแทนที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินแทนตัวการ แต่มิได้เขียนแถลงว่ากระทำแทนบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลนั้นต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 901 จำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยมีเหตุป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: การช่วยเหลือภริยาจากการถูกโจทก์กอดปล้ำ
โจทก์กอดปล้ำภริยาจำเลย จำเลยใช้ไม้ตีโจทก์ 1 ครั้งเพื่อช่วยภริยาจำเลยมิให้โจทก์ใช้กำลังประทุษร้ายกอดปล้ำภริยาจำเลยต่อไป เป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: การใช้ความรุนแรงเพื่อช่วยเหลือภริยาจากการถูกทำร้าย
โจทก์กอดปล้ำภริยาจำเลย จำเลยใช้ไม้ตีโจทก์เพื่อช่วยภริยาจำเลยมิให้โจทก์ใช้กำลังประทุษร้ายกอดปล้ำภริยาจำเลยต่อไปเพียง1 ครั้ง เป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาลดโทษจากพฤติการณ์ช่วยเหลือการตรวจค้น
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยหนักเกินไปหากศาลฎีกาเห็นว่ายังไม่เหมาะสมตามพฤติการณ์แห่งรูปคดีย่อมกำหนดโทษใหม่ได้ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยเพื่อหาเฮโรอีน การที่จำเลยได้นำเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบริเวณบ้านดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง เป็นเหตุลดโทษ ศาลฎีกาลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองปรปักษ์และหลักฐานการซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์
บิดาโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ใช้เชือกวัดและปักหลักเขตที่ดินพิพาทให้ทั้งสี่มุมตั้งแต่ในวันตกลงซื้อขายบิดาโจทก์ได้ล้อมรั้วและปรับที่ดินพิพาทพร้อมที่จะปลูกบ้านอยู่อาศัยได้เป็นเวลานานหลายปีมาแล้วจำเลยไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ต่อมาบิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์จึงได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา: การรับสารภาพของผู้ต้องหาต่อหน้าศาลชั้นต้นมีผลผูกพันในการนับโทษ
เมื่อปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 3 รับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 5463/2532,5524/2532 และคดีดำที่ 2497/2532,3145/2532 และ 5904/2532ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 3 ต่อจากโทษในคดีหมายเลขแดงที่ 5463/2532,5524/2532,6066/2532(ดำที่ 3145/2532),6100/2532(ดำที่ 2497/2532) และ 1752/2532(ดำที่ 5904/2532) ของศาลชั้นต้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลสั่งรับทำงานต่อ ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างหยุด
ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นว่า การเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ศาลแรงงานอาจสั่งได้เป็น 2 ประการคือ ให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปประการหนึ่ง และให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างในกรณีที่เห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้อีกประการหนึ่ง ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไป กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง นับแต่วันที่เลิกจ้างจนถึงวันที่รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาจากค่าจ้างสุดท้าย และการยกเหตุเลิกจ้างนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทำไม่ได้
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นั้น ให้ถือค่าจ้างอัตราสุดท้ายของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ก็ต้องถือตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับในระยะเวลาที่นายจ้างเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุที่โจทก์ยักยอกเงินของจำเลยขึ้นอ้างในคำสั่งเลิกจ้าง ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไป จึงเป็นเหตุหรือข้ออ้างที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสิทธิประโยชน์
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ให้ถือเอาอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ต้องถือเอาตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายตั้งแต่วันที่23 กันยายน 2533 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2534 จึงถูกเลิกจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเงินส่วนแบ่งการขายจำนวนเดือนละ 300,000 บาท มาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าส่วนแบ่งการขายเพราะโจทก์ไปดำรงตำแหน่งอื่น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยไม่เคยยกเหตุที่โจทก์ยักยอกเงิน 40,000 บาท ของจำเลยในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่มีเหตุดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีของโจทก์ว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ โดยไม่มีพยานตั้งแต่แรกทำสัญญา ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 120,000 บาท โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้แล้วต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ ขณะที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญานั้น ไม่มีบุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานในสัญญา โดยพยานดังกล่าวได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินในภายหลัง ก็ไม่มีผลทำให้หนังสือสัญญากู้เงินเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของพยานด้วย