คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ โดยไม่มีพยานตั้งแต่แรกทำสัญญา ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 120,000 บาท โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้แล้วต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ ขณะที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญานั้น ไม่มีบุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานในสัญญา โดยพยานดังกล่าวได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินในภายหลัง ก็ไม่มีผลทำให้หนังสือสัญญากู้เงินเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของพยานด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินที่ใช้ประกันหนี้ค่าสลากกินรวบเป็นโมฆะตามกฎหมาย
เจ้ามือสลากกินรวบให้จำเลยทำสัญญากู้เงินให้ไว้เป็นประกันหนี้ค่าขายสลากกินรวบ ซึ่งจำเลยขายเชื่อให้แก่ลูกค้า มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ฟ้องเกิดจากการขายสลากกินรวบเป็นเงินเชื่ออันเป็นมูลหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยึดหน่วงเงินค่าจ้างและการหักกลบลบหนี้ กรณีงานติดตั้งมีข้อบกพร่อง จำเลยต้องพิสูจน์การตกลงรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
เมื่อโจทก์มิได้เพิกเฉยไม่ซ่อมหลังคาดังที่จำเลยกล่าวอ้างจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะยึดหน่วงเงินค่าจ้างที่ค้างชำระ เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงรับจะเป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโครงเหล็กหลังคา จำเลยจึงไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโครงเหล็กหลังคามาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ค้างชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง-โกงเจ้าหนี้: การหลอกลวงเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
จำเลยกับพวกได้หลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้ไปซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นของจำเลย และจำเลยนำมามอบให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้เป็นประกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวซึ่งโจทก์ร่วมได้ชำระราคาค่าที่ดินให้จำเลยไปครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยหลอกลวงว่าจะนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปเป็นประกันที่ศาลโจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยไปความจริงจำเลยไม่ได้มีคดีที่ศาลและมิได้มีเจตนาจะนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปเป็นหลักประกันที่ศาล แต่เมื่อได้ความว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ยังเป็นของจำเลยเอง จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ใจความว่า จำเลยมีเจตนาที่จะมิให้โจทก์ร่วมได้รับการจดทะเบียนรับโอนสิทธิในที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งโจทก์ร่วมจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าวจำเลยกับพวกได้จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินนี้ให้แก่ ช. โดยเสน่หาแล้วจำเลยกับพวก ช. ได้ร่วมกันจดทะเบียนโอนขายสิทธิในที่ดินนี้แก่ว. ดังนี้ ย่อมแปลความได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าหากจำเลยไม่โอนสิทธิในที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามสัญญา โจทก์ร่วมจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดวันสิ้นสุด หากนายจ้างไม่ต่อสัญญา ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้าง ผลของสัญญาทำให้ลูกจ้างต้องออกจากงานเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงก็ตาม ก็อยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามนัยข้อ 46 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ มีวัตถุประสงค์ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จึงต้องตีความเพื่อให้เป็นผลใช้บังคับได้ มิฉะนั้นความในข้อ 46 วรรคสามจะไร้ผล การที่จำเลยแสดงเจตนาต่อโจทก์ว่าไม่ต่อสัญญาจ้างให้อันมีผลทำให้จำเลยต้องออกจากงาน จึงต้องถือว่าเป็นการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในข้อ46 วรรคสอง ดังกล่าว จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบของจำเลยตลอดมากล่าวคือ มาปฏิบัติงานไม่ตรงเวลา ละทิ้งหน้าที่โดยไม่บอกกล่าวเป็นเหตุให้การผลิตยาต้องหยุดชะงัก ซึ่งทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพด้อยลง จำเลยได้ว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้ง แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ปรับปรุงตัว ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โดยจำเลยหาได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้กระทำการใดเข้าลักษณะความผิดดังระบุไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47กรณีหนึ่งกรณีใดอันจะเข้าหลักเกณฑ์ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นในคดีที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 และไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้สัญญาจ้างมีกำหนดสิ้นสุด แต่การแจ้งไม่ต่อสัญญาถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการจ้างไว้และจำเลยจะได้มีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาจ้างให้ก่อนวันสิ้นสุดสัญญา อันเป็นผลให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงโดยผลแห่งสัญญาก็ตาม แต่การแสดงเจตนาของจำเลยเช่นว่านี้ก็เป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องออกจากงาน จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง เมื่อลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสามจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดสัญญาถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เว้นแต่เป็นการจ้างงานลักษณะพิเศษ
ในกรณีที่มีการทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือโดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้และนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบกำหนดระยะเวลาการจ้างนั้น ถือเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของคำว่าเลิกจ้างในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ดังกล่าวแล้ว เพราะถ้าไม่หมายความเช่นนั้นคือถือว่าไม่เป็นการเลิกจ้างแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ในกรณีทำสัญญาจ้างกันเป็นหนังสือให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ และได้กำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ เพราะเมื่อถือว่าไม่เป็นการเลิกจ้างนายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างอยู่แล้วตามความในตอนต้นของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่ว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังนี้ ฯลฯ"ซึ่งหมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างก็เฉพาะกรณีที่มีการเลิกจ้างเท่านั้น ดังนี้ แม้การจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือและมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนโดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการจ้างไว้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างและจำเลยไม่ได้ให้โจทก์ทำงานต่อไป ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 ในปัญหาว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่มีการจ้างให้ทำงานดังกล่าวโดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือและกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการจ้างไว้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องเป็นฝ่ายยกขึ้นต่อสู้คดีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลแรงงานจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาครบกำหนดแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย เว้นแต่เป็นงานครั้งคราวตามกฎหมาย
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน โดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดไว้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานถาวรมิใช่เป็นงานครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการการเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 จำเลยต้องชดใช้ค่าชดเชยแก่โจทก์ ปัญหาว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการหรือไม่นั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องเป็นฝ่ายยกขึ้นต่อสู้คดีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นต่อสู้คดี จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุย่อมเป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติตามพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เมื่อปรากฏว่า การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานดังกล่าวโดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามที่ระบุไว้ในข้อ 47 หรือเข้าข้อยกเว้นในกรณีไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 จึงต้องถือเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ไม่ใช่กฎหมายแรงงาน การฟ้องคดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองการทำงาน ไม่เป็นเหตุฟ้องไม่รับ
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างหรือลูกจ้าง ดังนั้น จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีโดยไม่รอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยก่อนก็ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง.
of 57