พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย: บทบาทการนำสืบหลักฐานประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลังที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลสามารถรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ เมื่อทางพิจารณาโจทก์ไม่นำสืบความข้อนี้ให้ปรากฏต่อศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปีซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างแรงงาน: การตอกบัตรแทนไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่จงใจขัดคำสั่งนายจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์ได้ใช้ผู้อื่นตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนให้แก่โจทก์แต่โจทก์ก็ได้เข้าทำงานก่อนเวลาทำงานปกตินั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ ในข้อ 47(3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิ พักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 583.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบ และการจ่ายค่าชดเชย/บำเหน็จ
โจทก์ใช้ให้ ส.ตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนให้แก่โจทก์ ซึ่งฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่โจทก์ก็ได้เข้าทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ ดังนั้นโจทก์มิได้มาทำงานสายในวันเกิดเหตุ จึงไม่ทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างและอาจต้องจ่ายรางวัลในการทำงานของโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยเท่านั้น การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 47 (3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583
โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้ขายต้องคืนเงินที่รับไว้ให้ผู้ซื้อ
โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าซื้อบ้านโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเลิกกันได้ความว่าสัญญาซื้อขายบ้านเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ศาลก็พิพากษาให้จำเลยคืนเงินในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืนในฐานลาภมิควรได้
เมื่อสัญญาซื้อขายบ้านตามฟ้องเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เงินค่าซื้อบ้านที่จำเลยได้รับชำระไว้จากโจทก์จึงเป็นเงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยจำต้องคืนแก่โจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินค่าซื้อบ้านโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเลิกกันศาลก็พิพากษาให้จำเลยคืนในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้องไม่ เพราะคดีแพ่งนั้นเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ และตามข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังได้ชัดแจ้งอย่างใดแล้ว ศาลก็ยกข้อกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ไม่ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ หากจำเลยทราบและต่อสู้คดีได้
การส่งคำคู่ความ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25,31ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคแรก นอกจากเป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งคำคู่ความและเอกสารนั้น แล้วยังเป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจะต้องถึงผู้รับโดยถูกต้องจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้เช่นนั้น เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว จำเลยได้แต่งทนายความมาต่อสู้คดี และดำเนินกระบวนพิจารณา จนมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้วแสดงว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจำเลยได้รับทราบและมาตามนัดของศาลแล้ว แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวจะมีบุคคลอายุไม่เกินยี่สิบปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานของจำเลยเป็นผู้รับไว้ ก็หาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยมายื่นคำร้องภายหลังศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้วซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาคดีแม้มีข้อจำกัดในการฎีกา: คดีกรรโชกที่พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
แม้ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 3 เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่การที่พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดเป็นเหตุในลักษณะคดีและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายป่าน: การรับชำระราคาตามกำหนดส่งมอบ และการฟ้องร้องเมื่อผิดนัดชำระ
ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองซื้อป่านจากโจทก์คิดเป็นเงิน 288,000 บาท แล้วไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระราคาป่านแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์ บรรยายฟ้องถึงการโอนสิทธิเรียกร้องมาด้วยเป็นเพียงบรรยาย ให้รู้ว่าจำเลยยังไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์เพราะเหตุใด เท่านั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสอง ไม่เคยค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งซื้อป่านจาก ม.คิดเป็นเงิน 232,000 บาท ประเด็นพิพาทแห่งคดีในส่วนนี้จึงมีว่าจำเลยทั้งสองซื้อป่านตามฟ้องจากโจทก์หรือไม่ ในราคาเท่าใด ซึ่งแม้ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อเป็นประเด็นพิพาทอันแท้จริงแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยให้การปฏิเสธไว้ทั้งคู่ความได้นำพยานหลักฐานมาสืบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระราคาป่านจำนวน 288,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้นหาเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่ แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคลแต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 490 บัญญัติว่าถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายป่าน การกำหนดราคาและเวลาชำระ การผิดนัดชำระหนี้
ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองซื้อป่านจากโจทก์คิดเป็นเงิน 288,000 บาท แล้วไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระราคาป่านแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการโอนสิทธิเรียกร้องมาด้วยเป็นเพียงบรรยายให้รู้ว่าจำเลยยังไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์เพราะเหตุใดเท่านั้นดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งซื้อป่านจาก ม.คิดเป็นเงิน 232,000 บาท ประเด็นพิพาทแห่งคดีในส่วนนี้จึงมีว่าจำเลยทั้งสองซื้อป่านตามฟ้องจากโจทก์หรือไม่ ในราคาเท่าใด ซึ่งแม้ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อเป็นประเด็นพิพาทอันแท้จริงแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยให้การปฏิเสธไว้ ทั้งคู่ความได้นำพยานหลักฐานมาสืบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระราคาป่านจำนวน 288,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น หาเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่
แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคล แต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 490บัญญัติว่า ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกันเมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคล แต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 490บัญญัติว่า ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกันเมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: กรณีฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความร้ายแรง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากที่ฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็น อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไร เมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์