พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: กรณีฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความร้ายแรง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากที่ฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็น อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไร เมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาความร้ายแรงของคำสั่งและเหตุผลในการฝ่าฝืน
การที่ศาลแรงงานกลางฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะสืบ พยานจำเลยปากต่อไปและสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจ ที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้บัญญัติ ไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มาก่อนทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลในเวลาใกล้จะเลิกงานของโจทก์ โดยไม่ได้บอกโจทก์ว่าให้ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใดและหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของ นายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสาร การส่งเอกสารก่อนสืบพยาน และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ไม่ครบถ้วน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
บุคคลภายนอกส่งเอกสารตามคำสั่งเรียกต่อศาลก่อนวันสืบพยานนัดแรกเป็นเวลากว่า 1 เดือน ผู้ร้องมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวก่อนวันสืบพยานได้อยู่แล้ว ที่ผู้คัดค้านมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน นั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ร้องแต่อย่างใด ที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารเป็นพยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย บัญชีพยานผู้คัดค้านระบุพยานว่า "เอกสารเรื่องราวการจดทะเบียนนิติกรรมตลอดจนบันทึกข้อความ แผนที่หรือบันทึกถ้อยคำบุคคลใด ๆ หรือหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงานราชการหรือบุคคลหรือเอกสารทุกชนิดทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับโฉนดที่ดินเลขที่ 906ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการได้จัดทำขึ้นและเก็บรักษาไว้ในแฟ้มเรื่องราวของโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวทั้งหมดทุกฉบับอยู่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาผู้คัดค้านขอคำสั่งเรียกพยานเอกสาร "คำบันทึกของนายสินชัยสุทธิรัตนชัย ช่างแผนที่ได้บันทึกถ้อยคำของนายฮ่องเฮงแซ่จัง ฉบับลงวันที่ 9 ที่ทำการรังวัดทำแผนที่พิพาทที่ดินโฉนดเลขที่ 906 ฯ" ผู้คัดค้านจึงได้ระบุอ้างพยานเอกสารดังกล่าวโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง แล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า "ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่น ๆ ของผู้ร้องไม่มีเหตุซึ่งทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลอุทธรณ์จึงไม่วินิจฉัยให้" ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ควรจะหยิบยกอุทธรณ์ของผู้ร้องทุกข้อขึ้นวินิจฉัย ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องในส่วนที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ด้วย ฎีกาของผู้ร้องมิได้บรรยายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดในข้อไหนเป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงขึ้นกล่าวให้ชัดแจ้ง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ สิทธิในที่ดิน การพิสูจน์การครอบครอง และการใช้ดุลพินิจของศาล
แม้ว่าผู้คัดค้านจะมิได้ปฏิเสธข้ออ้างในคำร้องของผู้ร้องที่ว่า ต.ซื้อที่พิพาทโดยใส่ชื่อช. ไว้ก็ตาม แต่ผู้คัดค้านก็ได้บรรยายไว้ในคำร้องคัดค้านว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิที่ผู้คัดค้านได้มาโดยซื้อมาจาก ช. ตามส่วนที่ช.เจ้าของเดิมมีอยู่ช. ได้บอกขายที่พิพาทก่อนผู้คัดค้านซื้อเป็นเวลานาน ถือว่าผู้คัดค้านได้กล่าวไว้ในคำร้องคัดค้านแล้วว่าช. เป็นเจ้าของที่พิพาท ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านนำสืบว่า ม.มอบที่ดินให้แก่ ช. เป็นการชำระหนี้ที่กู้ยืมเงินไปนั้น จึงเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งการเป็นเจ้าของที่พิพาทซึ่งผู้คัดค้านมีสิทธิที่จะนำสืบได้ แม้ว่าผู้คัดค้านกล่าวในคำร้องคัดค้านเพียงว่า ช.เจ้าของเดิมได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทตลอดมาไม่เคยทอดทิ้งก็ตามผู้คัดค้านก็ชอบที่จะนำสืบได้ว่า ช. ให้ จ. ป. และบุคคลอื่นเช่าที่พิพาทเพราะเป็นการนำสืบว่า ผู้คัดค้านได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทโดยให้บุคคลอื่นครอบครองแทน เป็นการนำสืบตามประเด็นที่เกิดจากคำร้องคัดค้าน หาใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็นไม่ แม้ว่าผู้คัดค้านอ้างเอกสารหมาย ค.10ค.11ค.15ถึงค.20และ ค.23โดยอ้างว่าอยู่ในความครอบครองของช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่ทางนำสืบของผู้คัดค้านได้ความว่าเอกสารดังกล่าวอยู่ที่ผู้คัดค้าน และผู้คัดค้านไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ก็ตาม แต่เมื่อตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่ปรากฏว่าศาลได้รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของผู้คัดค้าน คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจะรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ สำหรับเอกสารหมาย ค.10และค.17 แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่ผู้ร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ก็ตาม แต่ตามมาตรา 87(2) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสองฉบับนี้เป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพราะเอกสารหมาย ค.10 เป็นสัญญากู้ทำขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ช. และผู้ร้องก็ได้นำสืบพยานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าวด้วย ส่วนเอกสารหมาย ค.17 เป็นใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี 2513 ถึงปี 2525 ของ ช.จำนวน13ฉบับซึ่งช.ได้ส่งศาลตามคำสั่งเรียกก่อนวันสืบพยานนัดแรกเป็นเวลากว่า 1 เดือนผู้ร้องจึงมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวก่อนวันสืบพยานได้อยู่แล้วการที่ผู้คัดค้านมิได้ส่งสำเนาให้แก่ผู้ร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ร้อง ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารทั้งสองฉบับนี้เป็นพยานหลักฐานของผู้คัดค้านได้ ตามบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านอันดับ 8 ระบุว่า"เอกสารเรื่องราวการจดทะเบียนนิติกรรมตลอดจนบันทึกข้อความ แผนที่หรือถ้อยคำบุคคลใด ๆ หรือหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงานราชการ หรือบุคคล หรือเอกสารทุกชนิด ทุกฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับโฉนดที่ดินเลขที่ 906 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการได้จัดทำและเก็บรักษาไว้ในแฟ้มเรื่องราวของโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวทั้งหมดทุกฉบับ อยู่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ" เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกคำบันทึกของ ส.ช่างแผนที่ที่ได้บันทึกถ้อยคำของ ฮ. ฉบับลงวันที่ 13 พฤศจิกายน2528 คือวันทำการรังวัดทำแผนที่พิพาทที่ดินโฉนดเลขที่ 906หน้าโฉนด 156 ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการและเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการได้จัดส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารบันทึกถ้อยคำของ ฮ. ไปให้ศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้หมายเอกสารนั้นเป็นเอกสารหมาย ค.49จึงฟังได้ว่าเอกสารหมายค.49เป็นเอกสารฉบับหนึ่ง ซึ่งรวมอยู่ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอันดับที่ 8 ของผู้คัดค้าน ถือได้ว่าผู้คัดค้านได้ระบุอ้างพยานเอกสารฉบับนี้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา88 วรรคสอง แล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารหมาย ค.49ของผู้คัดค้านไว้เป็นพยานหลักฐานและอนุญาตให้ผู้คัดค้านนำสืบเรื่องราวเกี่ยวกับเอกสารฉบับนี้จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฎีกาของผู้ร้องมิได้บรรยายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ในข้อไหน เป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงขึ้นกล่าวให้ชัดแจ้ง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ศาลไม่รับพิจารณาหากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไม่เกี่ยวพันกับฟ้องเดิม
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับสินค้าของโจทก์ที่ขาดหายไป เพราะจำเลยทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้นขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหาย ดังนั้นฟ้องเดิมจึงเป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฟ้องแย้งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงานต้องมีความเกี่ยวพันกับฟ้องเดิม หากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างกัน ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแม้ว่าทิ้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตามแต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่นำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้ออ้างและสิทธิในการนำสืบพยาน การครอบครองปรปักษ์ และคำสั่งที่ไม่ชอบของศาล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองผิดสัญญา ต่อมาจำเลยที่ 1 ตกลงรับสภาพหนี้กับโจทก์ และทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันเดิมฉบับใหม่กับโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองให้การว่า หลังจากจำเลยที่ 1ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ฉบับแรกแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงรับสภาพหนี้กับโจทก์ด้วยการทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ฉบับใหม่ และจำเลยที่ 2ก็มิได้ตกลงทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ สัญญาซื้อขายรถยนต์และสัญญาค้ำประกันฉบับใหม่เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์นำแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายรถยนต์และสัญญาค้ำประกันมาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ลงชื่อในสัญญาซื้อขายและสัญญาค้ำประกันตามลำดับแล้วโจทก์นำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความอันเป็นเท็จโดยไม่ได้รับความยินยอม คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธว่าสัญญาซื้อขายและสัญญาค้ำประกันฉบับใหม่เป็นเอกสารปลอม เมื่อคำให้การของจำเลยชัดแจ้งและไม่ขัดกัน คำสั่งของศาลชั้นต้นว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นว่ามีการรับสภาพหนี้โดยทำสัญญาซื้อขายและค้ำประกันหรือไม่ กับสัญญาซื้อขายและค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในรถยนต์บรรทุกพิพาทดีกว่าโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยความสงบ เปิดเผยและแสดงเจตนาครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับรถยนต์บรรทุกพิพาทอีกต่อไป คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นข้อ 1 และข้อ 4 แต่จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานเข้าสืบแก้ในประเด็นดังกล่าวเอง ฉะนั้น เมื่อศาลสูงยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไป จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิสืบพยานในประเด็นข้อนั้น และสำหรับประเด็นการครอบครองปรปักษ์รถยนต์พิพาทที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยนำสืบพยานในประเด็นข้อนี้แล้วก็ต้องให้โจทก์มีสิทธิสืบแก้ในข้อนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ตราปลอม, และการแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้คำฟ้องไม่เป็นผล
จำเลยทั้งสองสำนวนให้การต่อสู้ว่า นายย.ร่วมกับนายช.ทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นเท็จว่าจำเลยลาออกจากกรรมการของโจทก์ทั้งสองแล้วตั้งนายย.เป็นกรรมการแทนและนำความเท็จดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ นายย.เป็นกรรมการของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ ตราประทับของโจทก์ทั้งสองในใบแต่งทนายความเป็นตราปลอม คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทตามข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่ ซึ่งจำเป็นจะต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนั้นได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและโจทก์ทั้งสองนั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยและโจทก์ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าร่วมกันทำร้ายถึงแก่ความตาย การร้องเชียร์ให้ทำร้ายเป็นเจตนาในการกระทำผิด
การที่จำเลยที่ 3 ร้องตะโกนบอกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า"ตีมันให้หมอบเลย" แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ย่อมเห็นได้ว่าการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ไม้ตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะและลำตัว อาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะการทำร้ายดังกล่าวจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฆ่าผู้ตายโดยเจตนา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน: การรับเงินไม่ครบตามสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ และการขาดนัดต่อสู้คดีทำให้ศาลเชื่อถือพยานหลักฐานของโจทก์
แม้สัญญากู้เงินจะระบุไว้ว่า ผู้กู้ได้รับเงินกู้จากผู้ให้กู้ถูกต้องครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิของผู้กู้ที่จะไม่รับเงินไปทั้งหมดในวันนั้นก็ได้ สัญญากู้เงินดังกล่าวก็ยังคงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน โจทก์นำสืบถึงจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 5 ในฐานผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไรและจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ไปแล้วเพียงใด และในชั้นพิจารณาคงมีแต่จำเลยที่ 2 เบิกความลอย ๆ ว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เท่าใด และไม่ทราบว่านางสาวพรรณีพยานโจทก์นำเงินที่เบิกตามเอกสารหมาย ป.ล.2 และ ป.ล.3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือยังโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ถามค้านนางสาวพรรณีพยานโจทก์ไว้แต่อย่างใดจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์อันเป็นเหตุให้ยอดหนี้ลดลงไปหรือไม่จำนวนใด ต้องรับฟังตามข้อนำสืบของโจทก์