พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีแรงงานเกินคำขอในฟ้อง และขอบเขตอำนาจศาลแรงงานตามมาตรา 52 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจากจำเลย ทั้งมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวแต่อย่างใด การที่ศาลแรงงานพิพากษาล่วงเลยไปให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และไม่ใช่เป็นกรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีแรงงาน: ศาลแรงงานพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้เรียกค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากจำเลย ทั้งมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวแต่อย่างใด การที่ศาลแรงงานพิพากษาล่วงเลยไปให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่เป็นกรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและขอบเขตอำนาจศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
โจทก์กล่าวในฟ้องเพียงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ย โจทก์ไม่ได้เรียกค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากจำเลย ทั้งมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาล่วงเลยไปให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและไม่ใช่เป็นกรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52 ที่ศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดต่อที่ราชพัสดุ เริ่มนับจากวันที่อธิบดีกรมธนารักษ์ทราบการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด
ที่ราชพัสดุใช้เป็นสนามบินเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพอากาศอยู่ในความปกครองดูแลรักษาของกรมธนารักษ์ อายุความฟ้องผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ราชพัสดุรายนี้ จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่อธิบดีกรมธนารักษ์ได้รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ อธิบดีกรมธนารักษ์ทราบจากผู้บัญชาการทหารอากาศที่แจ้งให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม 2528ยังไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดที่ราชพัสดุ เริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมธนารักษ์ทราบการละเมิดและผู้ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินที่ตั้งสนามบินเชียงเครือใช้ในราชการของกองทัพอากาศและท่าอากาศยานสกลนครใช้เพื่อกิจการบินพาณิชย์ของกรมการบินพาณิชย์เป็นที่ราชพัสดุ อยู่ในความปกครองดูแลของกรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลังโจทก์กรมธนารักษ์ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีอธิบดีเป็นผู้แทน อายุความฟ้องผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ราชพัสดุ จึงเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมธนารักษ์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4041/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ, อายุความดอกเบี้ย, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศที่ ย.ทำกับโจทก์ซึ่งข้อความในสัญญาที่ ย.ทำกับโจทก์มีว่าเมื่อย.เสร็จการศึกษาที่ย.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือถูกเรียกตัวกลับ และ ย.ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์หรือกระทรวงทบวงกรมอื่นที่ทางราชการเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุน หรือที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่ม สุดแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน หรือ ย.กลับมารับราชการบ้างแต่ไม่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยสัญญาว่าหาก ย.ไม่ชดใช้ทุนและหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดของ ย.ทั้งสิ้นเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนด 3 ปี9 เดือน ที่ ย.ได้รับทุนไปศึกษาต่อย.ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวหลายครั้ง และโจทก์ก็อนุมัติให้ ย.ลาศึกษาต่อโดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยมิได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาศึกษาต่อของย.ต่อโจทก์อีก จำเลยคงรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเดิมสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของ ย.ในการลาไปศึกษาต่อเป็นเวลา3 ปี 9 เดือน เท่านั้น สำหรับทุนที่ ย.จะต้องรับผิดคืนแก่โจทก์นั้น ปรากฏตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมและดูงาน และเพื่อการครองชีพระหว่างศึกษา ฝึกอบรมและดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2512ว่า หมายความถึงเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงานและเพื่อการครองชีพระหว่างศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงาน และหมายความรวมตลอดถึงเงินค่าพาหนะเดินทางด้วย ย.จึงต้องรับผิดใช้คืนเงินทุนที่ได้รับจากรัฐบาลฝรั่งเศสและค่าเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับจากการศึกษาต่อ รวมทั้งเงินเดือนที่ ย.ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อแก่โจทก์พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่า ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่โจทก์มีหนังสือทวงถาม ย.จนถึงวันฟ้องนั้นเป็นการฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิมซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก่อนโจทก์นำคดีขึ้นสู่ศาล แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ในชั้นศาลว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกินกว่า5 ปีจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ระงับสิทธิฟ้องอาญา
ภายหลังจากจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ฟ้องขับไล่จำเลยต่อศาลชั้นต้นแล้วจำเลยยังตัดฟันต้นฝรั่งในที่ดินของโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนเรียกจำเลยมาที่สถานีตำรวจโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ต้องการให้จำเลยย้ายออกไปจากที่ดินซึ่งจำเลยก็รับว่าจะออกจากที่ดินภายในกำหนด 2 เดือน และรับว่าจะไม่เรียกร้องค่ารื้อถอนจากโจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมตกลงว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยก็โดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด2 เดือน แต่จำเลยยังไม่ออกจากที่ดินของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะโจทก์ร่วมมิได้ตกลงว่าจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยตลอดไป แต่จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด 2 เดือนดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงไม่ดำเนินคดีอาญาที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังไม่ระงับ
การที่โจทก์ร่วมตกลงว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด 2 เดือน ถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะมิได้ตกลงว่าจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยตลอดไป แต่จะไม่ดำเนินคดีต่อเมื่อจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมภายในกำหนด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมายส่งผลเสียหายต่อทางสาธารณะและเศรษฐกิจ ชี้ให้ริบยานพาหนะที่ใช้กระทำผิด
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่ทางราชการกำหนดถึง 9,300 กิโลกรัม มาเดินบนทางหลวงแผ่นดิน ให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3893/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทที่ออกภายใต้ข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่มีมูลหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองออกให้โจทก์พร้อมกับเช็คฉบับอื่นอีก 37 ฉบับ ในการตกลงประนีประนอมยอมความกันตามหนังสือรับสภาพหนี้ อันมีมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมอยู่ด้วย ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะออกให้เพื่อชำระค่าใช้จ่าย ค่าเสียหาย ค่าทนายความแก่โจทก์ แต่ก็เป็นเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ที่เกี่ยวเนื่องกับหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว หาใช่เป็นเช็คคนละส่วนคนละตอนกับมูลหนี้ตามเช็คทั้ง 37 ฉบับไม่ เมื่อหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้มีมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมอยู่ด้วย หนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งเป็นหนี้เกี่ยวเนื่องกันย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยกรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค