คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินไม่ทำให้มีสิทธิขอเปลี่ยนชื่อใน น.ส.3 หากไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ
โจทก์มิได้มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แม้โจทก์จะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้จำเลยเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) นั้น ให้เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.) ในชื่อของโจทก์ได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอเช่นนั้น การที่จำเลยไม่รับดำเนินการให้ตามที่โจทก์ขอจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินและการรังวัดเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ครอบครองไม่มีสิทธิยื่นคำขอหากชื่อไม่ปรากฏใน น.ส.3
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 179 โดย พ.ผู้มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ได้ขายและโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโจทก์ยื่นคำขอรังวัดเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3ก.) ในชื่อของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการให้โดยอ้างว่ามีชื่อพ.เป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน ดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เลขที่ 179 แม้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้จำเลยทั้งสองเปลี่ยนแปลงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) นั้น ให้เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3ก.) ในชื่อของโจทก์ให้แก่โจทก์ เพราะไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะยื่นคำขอเช่นนั้นได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่รับดำเนินการให้ตามที่โจทก์ยื่นคำขอ จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายใหม่
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เลิกจ้าง จึงนำพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ การพิจารณาตามกฎหมายในขณะนั้น และอำนาจฟ้อง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเลิกจ้าง จะนำ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ เมื่อสิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องนั้น ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้างไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์จะต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: สิทธิฟ้องคดีและการใช้บทกฎหมาย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่อันจะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างดังกล่าว จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการเลิกจ้าง จะนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ สิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์ฟ้องเรียก ไม่มีกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใหม่
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่อันจะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างดังกล่าวจะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการเลิกจ้างจะนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้สิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์ฟ้องเรียก ไม่มีกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏ ตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลย อ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาใน คำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้าง โจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็น สาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่ จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลยอ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาในคำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้างโจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยจากนิติบุคคลเป็นบุคคลธรรมดา มิชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบริษัทร.จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคล แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัทร.จำกัด จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทร.จำกัดหรือนายว.จำเลยที่3โดยอ้างว่าคำว่าบริษัทร.จำกัด เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของนายว. แล้วต่อมายื่นคำร้องอีกฉบับขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3 จากบริษัทร.จำกัดหรือนายว.เป็นนายว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมซึ่งฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้นมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วยแล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองฉบับ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนาย ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเวลาต่อมา ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร. จำกัด ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บริษัทร.จำกัดจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัทร.จำกัดมิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์กับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายบริษัทร.จำกัด ออกจากสำนวนความแต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนายว. หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยเกินขอบเขตตาม ป.วิ.พ. การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนตัวจำเลย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลย โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 หากโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลที่โจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยไว้ตามฟ้องเดิมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้แต่เดิมแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ที่โจทก์ฟ้องบริษัท ร.เป็นจำเลยที่ 3ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลนั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 แต่ได้ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 15 เมษายน 2530 ขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัท ร. จำเลยที่ 3 เป็นบริษัท ร.หรือ ว. จำเลยที่ 3 โดยอ้างว่า คำว่าบริษัท ร.เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของ ว. แล้วต่อมายื่นคำร้องลงวันที่ 15 มกราคม 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3จากบริษัท ร. หรือ ว.เป็น ว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย แล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้เช่นนั้นตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแล้ว บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 บริษัท ร.ตามฟ้องเดิมจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัท ร.มิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 และวันที่ 15 มกราคม 2531กับคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ที่ให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ แต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5)ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว.หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 เป็นต้นไป
of 57