พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4665/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์ด้วยการขู่เข็ญด้วยอาวุธปืน การรับคำสารภาพ และการริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด
ถึงแม้โจทก์จะไม่มีพยานเห็นตัวคนร้ายที่เป็นคนยิง ไม่ได้ อาวุธปืนจากจำเลย ไม่พบปลอกกระสุนและร่องรอยการยิงปืนของคนร้ายในที่ เกิดเหตุ โจทก์ก็มี ป. ผู้เสียหาย กับ ข.ผู้ใหญ่บ้าน ที่เกิดเหตุเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า คนร้ายยิงปืนขึ้นก่อน ผู้เสียหายจึงได้ยิงปืนสวนไป กับมีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย ทั้งสาม ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การไว้ใจความตรงกันในเบื้องต้นว่า มีเสียงปืนดังขึ้นที่รถยนต์ของจำเลยก่อน จากนั้นมีเสียงปืนทางอื่น ยิงมาที่รถยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจว่า น. ผู้ตาย ซึ่งเป็นพวกของจำเลยทั้งสามเป็นคนยิงปืน ส่วนจำเลยที่ 3 เห็นและรู้ว่า น. มีปืนมาก่อนเกิดเหตุ ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับสารภาพก็ดี ให้จำเลยที่ 3 ลงชื่อในบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความ ให้ฟังก็ดี จำเลยทั้งสามมีแต่ตนเองเบิกความลอย ๆ ภายหลัง เมื่อโจทก์ มีพนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสาม ชั้นสอบสวน จำเลยทั้งสามมิได้ถามค้านถึงความข้อนี้ไว้ เชื่อว่า ชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ และตามสัตย์จริง คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามจึงเป็น หลักฐานประกอบถ้อยคำของ ป. และข. พยานโจทก์ ฟังได้ว่าขณะเมื่อจะยกเครื่องยนต์รถไถนาของผู้เสียหายขึ้นบรรทุกรถยนต์ของจำเลยที่ 1 เพื่อจะขนเอาไป ซึ่งเป็นเวลาที่การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอนลงนั้น จำเลยทั้งสามกับพวกได้กระทำการประทุษร้ายขู่เข็ญผู้เสียหายกับพวก ด้วยการยิงปืนขึ้นหนึ่งนัด การกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวก จึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการปล้นทรัพย์เป็นทรัพย์ที่พึงต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4665/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์: หลักฐานจากคำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐานอื่น, ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิดต้องริบ
ถึงแม้โจทก์จะไม่มีพยานเห็นตัวคนร้ายที่เป็นคนยิง ไม่ได้อาวุธปืนจากจำเลย ไม่พบปลอกกระสุนและร่องรอยการยิงปืนของคนร้ายในที่เกิดเหตุ โจทก์ก็มี ป. ผู้เสียหาย กับ ข. ผู้ใหญ่บ้านที่เกิดเหตุเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า คนร้ายยิงปืนขึ้นก่อนผู้เสียหายจึงได้ยิงปืนสวนไป กับมีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย-ทั้งสาม ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การไว้ใจความตรงกันในเบื้องต้นว่า มีเสียงปืนดังขึ้นที่รถยนต์ของจำเลยก่อน จากนั้นมีเสียงปืนทางอื่นยิงมาที่รถยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจว่า น. ผู้ตาย ซึ่งเป็นพวกของจำเลยทั้งสามเป็นคนยิงปืน ส่วนจำเลยที่ 3 เห็นและรู้ว่า น. มีปืนมาก่อนเกิดเหตุ ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับสารภาพก็ดี ให้จำเลยที่ 3 ลงชื่อในบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความให้ฟังก็ดี จำเลยทั้งสามมีแต่ตนเองเบิกความลอย ๆ ภายหลัง เมื่อโจทก์มีพนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามชั้นสอบสวน จำเลยทั้งสามมิได้ถามค้านถึงความข้อนี้ไว้ เชื่อว่าชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจและตามความสัตย์จริง คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามจึงเป็นหลักฐานประกอบถ้อยคำของ ป. และ ข. พยานโจทก์ ฟังได้ว่าขณะเมื่อจะยกเครื่องยนต์รถไถนาของผู้เสียหายขึ้นบรรทุกรถยนต์ของจำเลยที่ 1 เพื่อจะขนเอาไป ซึ่งเป็นเวลาที่การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอนลงนั้น จำเลยทั้งสามกับพวกได้กระทำการประทุษร้ายขู่เข็ญผู้เสียหายกับพวกด้วยการยิงปืนขึ้นหนึ่งนัด การกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวกจึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการปล้นทรัพย์เป็นทรัพย์ที่พึงต้องริบ
รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการปล้นทรัพย์เป็นทรัพย์ที่พึงต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการและการร้องคัดค้านฟ้อง: ผู้ไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ไม่อาจร้องคัดค้านฟ้องแทนบริษัทได้
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำเป็นส่วนตัวซึ่งไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: ผู้ร้องไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท และไม่เป็นนายจ้างโจทก์ จึงไม่มีอำนาจคัดค้านการฟ้อง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย และผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในความผิดฟ้องเท็จ: จำเลยต้องรู้ว่าข้อความที่ฟ้องเท็จ
ความผิดฐานฟ้องเท็จตาม ป.อ. มาตรา 175 นั้น นอกจากผู้กระทำจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่าได้กระทำความผิดอาญาแล้วผู้กระทำจะต้องรู้ว่าความที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเท็จ จำเลยทั้งสองร่วมกันฟ้องโจทก์ว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ขายหลายคนให้ทุบทำลายผนังตึกกำแพงด้านหลังอาคารของจำเลยทั้งสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเข้าใจว่ากำแพงพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่รู้ว่าความที่นำมาฟ้องโจทก์นั้นเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงขาดเจตนาที่จะทำให้เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการฟ้องเท็จ: จำเลยต้องรู้ว่าข้อความที่ฟ้องเป็นเท็จ การเข้าใจผิดเรื่องกรรมสิทธิ์ทำให้ขาดเจตนา
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175นั้น นอกจากผู้กระทำจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่าได้กระทำความผิดอาญาแล้วผู้กระทำจะต้องรู้ว่าความที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเท็จ จำเลยทั้งสองร่วมกันฟ้องโจทก์ว่า โจทก์กระทำความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ชายหลายคนให้ทุบทำลายผนังตึกกำแพงด้านหลัง อาคาร ของจำเลยทั้งสองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเข้าใจว่ากำแพงพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่รู้ว่าความที่นำมาฟ้องโจทก์นั้นเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงขาดเจตนาที่จะทำให้เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาการศึกษาต่อต่างประเทศ: ระยะเวลาและข้อตกลงเพิ่มเติม
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติและความรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนตัว (ทุนประเภท 2) มีกำหนด2 ปี นับแต่วันออกเดินทาง โดยเมื่อจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ หรือจำเลยที่ 1ถูกเรียกตัวกลับ และจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ส่วนที่หลังจากครบกำหนด2 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวอีก 5 ปี9 เดือน 4 วัน และโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาศึกษาต่อโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาไปศึกษาต่อเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แต่อย่างใดจำเลยที่ 2 จึงคงมีความรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น สัญญาค้ำประกันระบุว่า หากโจทก์จะผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไป มีความหมายเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนให้โจทก์พร้อมเบี้ยปรับภายในกำหนด 30 วัน ถัดจากวันได้รับแจ้งจากโจทก์ตามสัญญาข้อ 4 และ ข้อ 5 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไปข้อความดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประการโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในอนาคตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (ใบมรณบัตร) แม้มิได้ปฏิบัติตามมาตรา 90 ว.พ.พ. หากโจทก์ไม่เสียเปรียบ
จำเลยยื่นบัญชีพยานระบุอ้างใบมรณบัตรเป็นพยานไว้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ทั้งได้ส่งเอกสารดังกล่าวประกอบการถามค้านพยานโจทก์ปากแรกด้วย โจทก์จึงย่อมทราบข้อความของเอกสารใบมรณบัตรก่อนสืบพยาน โจทก์เสร็จสิ้นและมีโอกาสนำพยานมาสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การที่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 โดยมิได้ส่งสำเนาใบมรณบัตรให้แก่โจทก์ล่วงหน้าก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันนั้นจึงไม่ได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่อย่างใด นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวก็เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อฉ้อโกงประกันภัย ศาลลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมและพยายามฉ้อโกง
การที่จำเลยที่ 1 ใช้เอกสารราชการปลอมไปแสดงต่อโจทก์ร่วมว่า พนักงานสอบสวนไม่มีความขัดข้องในการที่จำเลยที่ 1 จะไปขอรับเงินค่าทดแทนความเสียหายจากบริษัทประกันภัยในการที่เกิดเพลิงไหม้อาคารของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในการที่อาคารที่จำเลยที่ 1 เอาประกันอัคคีภัยไว้กับโจทก์ร่วมเกิดเพลิงไหม้เสียหาย การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานพยายามฉ้อโกงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษบทหนักตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90