พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเช็ค: ผู้ทรงเช็ค (จากผู้ประกัน) มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับจากเช็คถึงกำหนด
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918,989 การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำไปขายลดให้แก่ธนาคารย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921,989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารและเข้าถือเอาเช็คนั้นกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็ค: ผู้ทรงเช็ค vs. ผู้สลักหลัง
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 918, 989 การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำไปขายลดให้แก่ธนาคารย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921, 989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารและเข้าถือเอาเช็คนั้นกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1002 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ในเขตควบคุม ต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้มีใบอนุญาตโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม
การที่จำเลยใช้กบไฟฟ้าและเลื่อยวงเดือนของกลางซึ่งติดตั้งบนแท่นไม้ไสและเลื่อยไม้ของกลางอันเป็นการแปรรูปไม้ที่สถานที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุจึงเป็นที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้อันเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(13) แม้จำเลยได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกให้ตามพระราชบัญญัติ โรงงานฯ แล้วก็ตาม แต่โรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ด้วยเมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงมีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะยังมิได้แปรรูปไม้ก็ตาม ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการครอบครองวัตถุระเบิด - จำเลยไม่รู้ว่าเป็นวัตถุระเบิด จึงไม่มีความผิด
แม้จำเลยจะเป็นผู้เก็บวัตถุระเบิดของกลางมา แต่จำเลยก็ไม่ทราบว่าเป็นวัตถุระเบิด เพิ่งทราบเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจที่ตรวจค้นบอก จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะกระทำผิดฐานมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่โจทก์ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนอนาถา และการนำมาใช้ในชั้นพิจารณา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัย
ในชั้นไต่สวนอนาถา โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ไว้ แม้บัญชีระบุพยานดังกล่าวโจทก์จะได้พิมพ์ข้อความต่อท้ายบัญชีพยานว่า "ไต่สวนอนาถา" แต่ในชั้นพิจารณาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมพร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นอีก แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะถือเอาบัญชีระบุพยานทั้งสองฉบับที่ยื่นไว้ในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แล้ว โจทก์ชอบที่นำพยานตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีฉ้อโกง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ประเด็นข้อเท็จจริง และการพิจารณาความผิดฐานอื่น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคหนึ่ง,83 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 82 เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 82 อันเป็นบทหนัก จำคุก 4 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง,83 จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในข้อหาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นนี้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่งมีการแก้ไขเฉพาะโทษ และเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคหนึ่ง,86 จำคุก 2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 2 เข้ามอบตัวต่อสู้คดีเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษหนักเกินไป ควรกำหนดให้ใหม่ให้จำคุกจำเลยที่ 2 มี กำหนด 1 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 2 มอบตัวสู้คดีเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ดังนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ส่วนข้อหาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง,86 นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเฉพาะโทษ ให้จำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี เป็นเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมหลอกลวงโจทก์ร่วมหรือพวกผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น นอกจากช่วยพูดจารับรองกับโจทก์ร่วมและพวกผู้เสียหายในวันสมัครงานว่าจำเลยที่ 1 สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้จริงและพูดจารับรองว่าจะคืนเงินให้หากไม่ได้ไปหรือไปแล้วไม่ได้ทำงานเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 แล้ว ในสำนวนแรกและสำนวนที่สามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และฟ้องสำนวนที่สองว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพวกของจำเลยที่ 1 ได้จัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายบางส่วนในสำนวนที่สองซึ่งเป็นชุดเดียวกับสำนวนแรกและสำนวนที่สามไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนให้ไปรอเข้าประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ประเทศมาเลเซียก่อน แต่ในที่สุดคนสมัครงานทุกคนก็ถูกส่งกลับประเทศไทยโดยไม่ได้เข้าทำงานที่ประเทศไต้หวันตามที่จำเลยที่ 1 กับพวกหลอกลวงไว้แม้แต่คนเดียว การส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปประเทศสิงคโปร์หรือประเทศมาเลเซียนั้นจึงเป็นเพียงวิธีการหรืออุบายอย่างหนึ่งในการกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นชุดเดียวกันนั่นเอง โดยจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้มีเจตนาที่จะจัดหางานหรือส่งคนสมัครงานไปทำงานในประเทศที่หลอกลวงไว้แต่อย่างใด และจากพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กับพวกเคยส่งคนสมัครงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวันจริงการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 อีกบทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการสั่งคืนงานกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงาน-รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้อยู่แล้วหากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง หาจำเป็นต้องอาศัยบทบัญญัติพ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีกไม่ ฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯแม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์ก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ แต่ประการใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจไม่ต้องรอขั้นตอน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนใน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พนักงานรัฐวิสาหกิจมีอำนาจฟ้องรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534เสียก่อน