พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทและการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคัดค้านในคดีก่อน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่รับคำฟ้องต้องส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเฉพาะในการดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใดในการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขอเลิกมูลนิธิของผู้ร้องโดยประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนคำร้องในหนังสือพิมพ์รายวันและได้ไต่สวนคำร้องหลังจากครบกำหนดประกาศดังกล่าว 15 วัน โดยไม่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้ผู้คัดค้านทั้งห้าก่อนไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง จึงชอบแล้ว เมื่อผู้คัดค้านทั้งห้ามิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไต่สวนและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่ตามคำร้องขอของผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้าจะมีอำนาจร้องขอเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลดังกล่าวในคดีก่อนได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้สิทธิผู้คัดค้านทั้งห้าร้องขอต่อศาลได้เช่นนั้น แต่กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ใดร้องขอต่อศาลเช่นนั้นได้ ผู้คัดค้านทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลที่แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่ในคดีนี้ได้ หากคำสั่งศาลดังกล่าวทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งห้าถูกโต้แย้งก็ชอบที่ผู้คัดค้านทั้งห้าจะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ: การดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทและสิทธิในการคัดค้านคำสั่งศาล
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่โดยอ้างว่ามูลนิธิไม่มีคณะกรรมการดำเนินงาน และไม่อาจดำเนินการใด ๆ ได้หากปล่อยให้คณะกรรมการว่างเนิ่นนานไปจะเกิดความเสียหายแก่มูลนิธินั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และเป็นการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใด การที่ศาลเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์และไต่สวนคำร้องหลังจากครบกำหนด 15 วัน จึงเป็นการชอบแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่ผู้คัดค้านสามารถที่จะร้องคัดค้านได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188(4)แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้คัดค้านจนศาลไต่สวนกับมีคำสั่งตามที่ผู้ร้องขอและคดีถึงที่สุด ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิร้องขอเพิกถอนคำสั่งศาลได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ร้องเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทและการมีอำนาจร้องขอเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่รับคำฟ้องต้องส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเฉพาะในการดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใดในการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องโดยประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนคำร้องในหนังสือพิมพ์รายวันและได้ไต่สวนคำร้องหลังจากครบกำหนดประกาศดังกล่าว 15 วัน โดยไม่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้ผู้คัดค้านทั้งห้าก่อนไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
เมื่อผู้คัดค้านทั้งห้ามิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไต่สวนและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ตามคำร้องขอของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้าจะมีอำนาจร้องขอเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลดังกล่าวในคดีก่อนได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้สิทธิผู้คัดค้านทั้งห้าร้องขอต่อศาลได้เช่นนั้น แต่กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ใดร้องขอต่อศาลเช่นนั้นได้ ผู้คัดค้านทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลที่แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ในคดีนี้ได้ หากคำสั่งศาลดังกล่าวทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งห้าถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านทั้งห้าจะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อผู้คัดค้านทั้งห้ามิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไต่สวนและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ตามคำร้องขอของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้าจะมีอำนาจร้องขอเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลดังกล่าวในคดีก่อนได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้สิทธิผู้คัดค้านทั้งห้าร้องขอต่อศาลได้เช่นนั้น แต่กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ใดร้องขอต่อศาลเช่นนั้นได้ ผู้คัดค้านทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลที่แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ในคดีนี้ได้ หากคำสั่งศาลดังกล่าวทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งห้าถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านทั้งห้าจะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเฉลี่ยทรัพย์ยังคงมีอยู่ แม้จะเคยขอถอนคำร้องไปก่อน หากไม่มีเจตนาสละสิทธิ
ตามคำร้องขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อน ผู้ร้องแถลงว่าศาลนัดสืบพยานประเด็นผู้ร้องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถึงวันนัด ทนายโจทก์และทนายผู้ร้องต่างก็ไปที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีปรากฏว่าศาลจังหวัดสุพรรณบุรีแจ้งว่าศาลเจ้าของสำนวนไม่ได้ส่งประเด็นไปจึงไม่สามารถทำการสืบพยานประเด็นผู้ร้องได้ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีขอเฉลี่ยทรัพย์อีกต่อไป จึงขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องเสีย ตามคำร้องดังกล่าวไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าผู้ร้องสละสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ในมูลกรณีเดียวกันนั้นอีกในภายหลัง การขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อนย่อมไม่ทำให้อำนาจที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหมดไป ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่เป็นการสละสิทธิ ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องใหม่ได้
ตามคำร้องขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อน ผู้ร้องแถลงว่าศาลนัดสืบพยานประเด็นผู้ร้องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถึงวันนัดทนายโจทก์และทนายผู้ร้องต่างก็ไปที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีปรากฏว่าศาลจังหวัดสุพรรณบุรีแจ้งว่า ศาลเจ้าของสำนวนไม่ได้ส่งประเด็นไป ไม่สามารถทำการสืบพยานประเด็นผู้ร้องได้ ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีขอเฉลี่ยทรัพย์อีกต่อไป ขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามคำร้องดังกล่าวไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าผู้ร้องสละสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ในมูลกรณีเดียวกันนั้นอีกในภายหลัง การขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อนย่อมไม่ทำให้อำนาจที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหมดไป ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์และการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลฎีกาเห็นว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ขัดขั้นตอน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "สำเนาให้โจทก์โดยให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน ส่งศาลอุทธรณ์"เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนที่จะไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าสร้างและการฉ้อฉล โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการโอนได้ หากการโอนนั้นกระทำโดยไม่สุจริต
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์แล้วแต่จำเลยทั้งสาม โดยไม่สุจริต โอนสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียสิทธินั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ให้ศาลเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1ลูกหนี้ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และการโอนสิทธิดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ได้ก็โดยผู้รับโอนซึ่งได้สิทธินั้นต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าวจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในสิทธิการเช่าสร้างนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้ จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้วต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 แล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารสร้างเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2ระบุว่าผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้ เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2 มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้นก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าสร้างและการฉ้อฉล: ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนสิทธิและยืนยันอำนาจจำเลยในการอนุมัติการโอน
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่สุจริต โอนสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 โดยไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียสิทธินั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1ขอให้ศาลเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าการโอนดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และการโอนสิทธิดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ได้ก็โดยผู้รับโอนซึ่งได้สิทธินั้นต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าวจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในสิทธิการเช่าสร้างนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดเบี้ยปรับและดอกเบี้ยในสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการลาศึกษาต่อ ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้
จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ลาไปศึกษาต่อภายในประเทศโดยสัญญาว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับมารับราชการใช้หนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ หากผิดสัญญาจะต้องชำระเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จะต้องชดใช้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยกลับมารับราชการใช้หนี้โจทก์บางส่วนเพียง 1 ใน 3 ของกำหนดเวลาที่ต้องทำงานใช้หนี้โจทก์ จึงสมควรลดเบี้ยปรับลง 1 ใน 3 ส่วน จำเลยตกลงใช้เงินที่ยังมิได้ชำระและเบี้ยปรับกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของเงินที่ยังมิได้ชำระแก่โจทก์ ถือว่าดอกเบี้ยเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละคัน และการแบ่งความรับผิด
รถ 5 คันขับตามกันมาในทิศทางเดียวกัน ธ.เป็นผู้ขับรถคันที่ 4 ซึ่งเป็นคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ จำเลยเป็นผู้ขับรถคันที่ 5 แล่นตามมา ธ. ขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังหยุดรถไม่ทัน เป็นเหตุให้ไปชนรถคันที่ 3 ที่แล่นนำหน้าอยู่ และเป็นผลทำให้จำเลยที่ขับรถคันที่ 5 ตามมาด้วยความประมาทเช่นกัน หยุดรถไม่ทัน จึงชนท้ายรถคันที่ 4 อักคันหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ตนขับแต่ประการใดดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 จะได้รับจากการที่ถูกรถคันที่ 5 ชน จะพิจารณาโดยอาศัยพฤติการณ์ที่ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 โดยถือว่า ธ.หรือจำเลยผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว