คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประเมินความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายเพื่อแบ่งแยกความรับผิดชอบ
ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ที่ไปชนท้ายรถคันที่ 3 ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นความผิดของคนขับรถคันที่ 4 ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่ตนก่อให้เกิดขึ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการที่รถคันที่ 5 ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับโดยประมาทไปชนท้ายรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ผู้ขับขี่รถคันที่ 4 ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะนำไปอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 มารวมพิจารณาว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรนั้นย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละคัน และการแบ่งความรับผิด
รถ 5 คันขับตามกันมาในทิศทางเดียวกัน ธ.เป็นผู้ขับรถคันที่ 4 ซึ่งเป็นคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ จำเลยเป็นผู้ขับรถคันที่ 5 แล่นตามมา ธ. ขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังหยุดรถไม่ทัน เป็นเหตุให้ไปชนรถคันที่ 3 ที่แล่นนำหน้าอยู่ และเป็นผลทำให้จำเลยที่ขับรถคันที่ 5 ตามมาด้วยความประมาทเช่นกัน หยุดรถไม่ทัน จึงชนท้ายรถคันที่ 4 อักคันหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ตนขับแต่ประการใดดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 จะได้รับจากการที่ถูกรถคันที่ 5 ชน จะพิจารณาโดยอาศัยพฤติการณ์ที่ ธ. ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 โดยถือว่า ธ.หรือจำเลยผู้ใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการไม่ขอหมายบังคับคดีต่อคำสั่งวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของโจทก์ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวไว้ซึ่งวิธีการชั่วคราวที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน จำเลยมิได้ขอทุเลาการบังคับ เมื่อโจทก์มิได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2)
ป.วิ.พ. มาตรา 260 เป็นบทบัญญัติในชั้นขอให้คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างคดี ก่อนมีคำพิพากษาในแต่ละชั้นศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งนั้นมีผลไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ศาลในชั้นนี้ย่อมหมายถึงศาลชั้นต้นหาใช่หมายถึงศาลที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นอันยกเลิกหากโจทก์ไม่ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาที่ให้จำเลยนำเงินมาวางศาลและห้ามมิให้จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินพิพาท ต่อมาศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวไว้ซึ่งวิธีการชั่วคราวที่ศาลได้สั่งไว้นั้นและได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เมื่อโจทก์มิได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อสิ้นระยะเวลาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 เป็นบทบัญญัติในชั้นขอให้คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างคดีก่อนมีคำพิพากษาในแต่ละชั้นศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้วตามมาตรา 260(2) บัญญัติให้คำสั่งนั้นมีผลไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ศาลในชั้นนี้ย่อมหมายถึงศาลชั้นต้นนั่นเอง หาใช่หมายถึงศาลที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3321/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำคุกสำหรับผู้กระทำผิดอายุ 17 ปี และการลดโทษเพิ่มเติมเนื่องจากรับสารภาพ
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยอายุ 17 ปี ลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ฐานมีอาวุธปืนฯ ให้จำคุก 6 เดือนฐานพาอาวุธปืนฯ จำคุก 4 เดือน รวม 10 เดือน นั้น แสดงว่าโทษจำคุก 6 เดือน และ จำคุก 4 เดือน ดังกล่าวข้างต้นเป็นโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยได้ลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วมิใช่เป็นโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อนลดมาตราส่วนโทษ ดังนั้นเมื่อลดโทษให้อีกกึ่งหนึ่ง เพราะว่ากรณีมีเหตุบรรเทาโทษเนื่องจากจำเลยรับสารภาพแล้ว ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 5 เดือนจึงเป็นการชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องคดีอย่างคนอนาถา: การเลือกทางแก้และการสละสิทธิ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์แล้ว หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า โจทก์เป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์นั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวตาม มาตรา 156 วรรคห้า ซึ่งแม้โจทก์มีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่จำต้องเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 วรรคสี่ก่อน และอาจข้ามไปดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 วรรคห้าได้ก็ตามแต่การที่กฎหมายบัญญัติทางแก้ที่ผู้ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไว้ตามวรรคสี่และวรรคห้า ของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156นั้นเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติขั้นตอนที่ผู้ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์และโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นตามมาตรา 156 วรรคห้า แต่โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์นั้นแล้ว โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่อให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามมาตรา 156วรรคสี่อีก หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอนาถา หากอุทธรณ์ไม่ทัน ศาลไม่อนุญาตให้ขอพิจารณาใหม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา และโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคห้า แต่โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกินกำหนด7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์นั้นแล้ว โจทก์จะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่อีก หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินเมื่อสิทธิครอบครองยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกขนำในที่ดินของผู้เสียหายเมื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์และจำเลยนำสืบ กรณีเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายกับจำเลยยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่พิพาทกันอยู่ทั้งตามพยานหลักฐานที่นำสืบกันมายังฟังไม่ได้โดยแจ้งชัดว่าสิทธิครอบครองในที่พิพาทเป็นของฝ่ายใด การที่จำเลยเข้าไปปลูกขนำในที่พิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตตัวแทนของกรมและการนับอายุความละเมิด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: ผู้แทนโจทก์คืออธิบดีกรมเท่านั้น การนับอายุความเริ่มเมื่ออธิบดีทราบเรื่อง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 57