คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: ผู้แทนโจทก์คืออธิบดีกรมเท่านั้น การนับอายุความเริ่มเมื่ออธิบดีทราบเรื่อง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยป่วยโรคคริทินแต่กำเนิด ทำให้มีจิตบกพร่อง ไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ จึงไม่ต้องรับโทษในคดีอนาจาร
จำเลยกระทำอนาจารและพยายามกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปีแต่ได้ความว่า จำเลยป่วยเป็นโรคคริทิน ซึ่งเกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาเจริญวัยทางสติปัญญาช้ากว่าอายุจริง จำเลยเพิ่งเดินได้เมื่ออายุ7 ปี พูดได้เป็นประโยคเมื่ออายุ 9 ปี ขณะอายุ 11 ปี 11 เดือนมีความสามารถทางสติปัญญาเท่ากับเด็กอายุ 5 ปี ก่อนเกิดเหตุ 2 เดือนแพทย์ตรวจจำเลยปรากฏว่าสติปัญญายังช้า ไม่รู้จักเหตุผล ไม่มีการวางแผน ไม่มีความรับผิดชอบ ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตไม่มีทางหายขาด ถือว่าจำเลยกระทำผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบ เพราะมีจิตบกพร่องด้วยป่วยเป็นโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิด จึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปัญญาอ่อนและการรับผิดชอบทางอาญา: จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบในขณะกระทำความผิด
จำเลยเป็นคนปัญญาอ่อน กระทำผิดโดยใช้อวัยวะของจำเลยถูที่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย แต่ได้ความจากแพทย์ผู้รักษาจำเลยว่าจำเลยเป็นโรคคริทินซึ่งเกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน มาแต่กำเนิดการเจริญเติบโตทางกายและสติปัญญาช้ากว่าอายุจริง จำเลยเดินได้เมื่ออายุ 7 ปี พูดประโยคได้เมื่ออายุ 9 ปีเมื่ออายุ 11 ปี 11 เดือนมีความสามารถทางสติปัญญาเท่ากับเด็ก 5 ปี มีระดับไอคิว ต่ำกว่าเด็กปกติ เรียนซ้ำชั้นประถมปีที่ 1 อยู่เป็นเวลา 5 ปี จากการตรวจก่อนเกิดเหตุสองเดือนสติปัญญายังช้า แพทย์ยืนยันว่า จำเลยไม่รู้จักเหตุผล ไม่มีการวางแผน ไม่มีความรับผิดชอบ จะต้องรักษาตัวไปตลอดชีวิตไม่มีทางหายขาดได้ ทั้งปรากฏว่าจำเลยไม่ชอบเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน ดังนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดไปในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะจิตบกพร่องด้วยป่วยเป็นโรคปัญญาอ่อนมาแต่กำเนิด จึงไม่ต้องรับโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางอาญาของผู้ป่วยปัญญาอ่อน: การพิสูจน์ความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยกระทำความผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องด้วยเหตุป่วยเป็นโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิดเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละสาขาของสถานประกอบกิจการ และการคุ้มครองกรรมการลูกจ้างจากการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคแรก บัญญัติว่าในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้ และประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้ จำนวนกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือในหน่วยงานหรือสาขาในแต่ละจังหวัด ให้กำหนดโดยถือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ฉะนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว แต่จำเลยมีโรงงานอีกแห่งหนึ่งคือที่จังหวัดนครราชสีมา ทางสหภาพ ฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีก
โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด สหภาพแรงงานมีสิทธิแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในแต่ละจังหวัดได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45,46 และประกาศของกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า"ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้" ดังนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 21 คน สำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว ทางสหภาพฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 13 คน สำหรับโรงงานจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีกโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตามการแต่งตั้งในครั้งหลังนี้ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด
นายจ้างมีสถานประกอบกิจการโรงงาน 2 แห่ง แต่ละแห่งอยู่คนละจังหวัดกัน เมื่อสหภาพแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในจังหวัดหนึ่งแล้ว ก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในอีกจังหวัดหนึ่งได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบอาชีพเร่ขายสินค้าของคนต่างด้าวที่ขัดต่อกฎหมาย และอำนาจการริบของกลาง
จำเลยเป็นคนต่างด้าว ไม่มีทางที่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพเร่*ขายสินค้าได้เลย ตาม พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521ประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำพ.ศ. 2522 แต่จำเลยได้เร่*ขายแผ่นพลาสติกไปตามถนนสาธารณะการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเพราะฝ่าฝืนกฎหมายที่กำหนดไว้ในตัว ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดเพราะไม่ได้รับอนุญาตแผ่นพลาสติกสำหรับปูโต๊ะของกลาง ที่จำเลยมีไว้ใช้ในการกระทำผิดจึงเป็นของควรริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดของคนต่างด้าวที่เร่ขายสินค้าซึ่งเป็นงานที่ห้ามโดยกฎหมาย และอำนาจการริบของกลาง
ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ประกอบพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำพ.ศ. 2522 บัญญัติให้งานเร่ขายสินค้าเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำเป็นการค้าหรือหารายได้โดยเด็ดขาดในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรจำเลยจึงไม่มีทางที่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพเร่ขายสินค้าได้เลยถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดเพราะฝ่าฝืนกฎหมายที่กำหนดไว้ในตัวไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดเพราะไม่ได้รับอนุญาต แผ่นพลาสติกสำหรับปูโต๊ะของกลางที่จำเลยเร่ขาย จึงเป็นของที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ศาลมีอำนาจสั่งให้รับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบต่อการกระทำของทนายความที่แต่งตั้งในชั้นบังคับคดี
จำเลยได้แต่งตั้ง ล. เป็นทนายความดำเนินการในชั้นบังคับคดีจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าใบแต่งทนายไม่ถูกต้อง การที่จำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าต่างและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน จำเลยก็จะต้องรับผิดชอบในการกระทำของทนายความที่ตนแต่งตั้ง จำเลยจะอ้างว่าทนายของตนดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงโดยจำเลยไม่ทราบเรื่องหาได้ไม่หากทนายจำเลยดำเนินคดีผิดพลาดประการใด ย่อมต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดของจำเลยด้วย จำเลยจึงไม่อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำคู่ความและกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีที่ ล. กระทำไปแล้วได้
of 57