พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้บรรทุกไม้แปรรูปผิดกฎหมาย: ศาลฎีกายืนตามศาลล่างว่ารถยนต์เป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิดจึงริบได้
จำเลยมีไม้ยางแปรรูปปริมาตร 0.23 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ที่เป็นความผิดตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองไม้แปรรูปนั้นอยู่ จำเลยใช้รถยนต์เป็นพาหนะบรรทุกไม้นำไป รถยนต์จึงเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด อยู่ในข่ายอันจะพึงริบตามมาตรา 74 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
จำเลยมีไม้ยางแปรรูป ปริมาตร 0.23 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 48 ที่เป็นความผิดตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองไม้แปรรูปนั้นอยู่ จำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะบรรทุกไม้ดังกล่าวนำไป รถยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด จึงอยู่ในข่ายอันจะพึงริบตามมาตรา 74 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สิน (ยานพาหนะ) ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำพิพากษาลงโทษ
การริบทรัพย์สินอันเนื่องจากการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ป่าไม้ฯโดยเฉพาะของกลางที่เป็นยานพาหนะมีบัญญัติไว้ใน มาตรา 74 ทวิว่า บรรดาเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 11,48,54หรือมาตรา 69 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมีไม้ยางแปรรูปซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไว้ในความครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นความผิดตาม มาตรา 48 อันเป็นความผิดตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองไม้แปรรูปนั้นอยู่ จำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะบรรทุกไม้ดังกล่าวรถยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด จึงริบได้ตาม มาตรา 74 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณา ทำให้ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แม้จะเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากคู่ความไม่เห็นด้วยก็ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ไม่ว่าการไม่ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ก็ตาม คู่ความที่ไม่เห็นด้วยจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งสัญญาเช่าตลอดชีพไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดินที่ไม่ยินยอม
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจาก ด.เจ้าของที่พิพาทเดิมโดยมีข้อตกลงว่า ด. จะให้จำเลยเช่าที่พิพาททำการค้าตลอดชีวิตของจำเลยโดยจำเลยต้องจัดหาดินมาถมที่พิพาท และให้จำเลยปลูกบ้านในที่พิพาท 1 หลัง โดยให้บ้านดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ด. เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม ซึ่งจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นแล้ว ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ด. เป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าที่พิพาทต่อไปจนตลอดชีวิตของจำเลยตามสัญญาต่างตอบแทนนั้น การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยออกไปจากที่ดินโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ทำให้จำเลยเสียหายที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถมดินและปลูกบ้านในที่พิพาทไปเป็นเงินเกินกว่า 3,000,000 บาท ขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้จำเลยเป็นเงิน 2,000,000 บาท เป็นฟ้องแย้งในทำนองว่าหากจำเลยต้องออกจากที่พิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กล่าวอ้างไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองต่อเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยและศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทแล้ว เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข กล่าวคือจะให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไป จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา179 วรรคสุดท้าย ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา สัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างจำเลยและ ด. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา ที่ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือจำเลยและ ด.เท่านั้น หามีผลผูกพันผู้รับโอนซึ่งมิได้รู้เห็นและยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นด้วยไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด.มิได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยกับด. ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข & สัญญาต่างตอบแทนไม่มีผลผูกพันผู้รับโอนที่ไม่ยินยอม
จำเลยฟ้องแย้งในทำนองว่า หากจำเลยต้องออกจากที่พิพาทที่เช่าแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กล่าวอ้างไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่พิพาทเดิมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองต่อเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีสัญญาต่างตอบแทน และศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทแล้ว เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขกล่าวคือจะให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไป จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา179 วรรคสุดท้าย ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือจากการเช่าเป็นบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือจำเลยและ ด. เท่านั้น หามีผลผูกพันผู้รับโอนซึ่งมิได้รู้เห็นและยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นด้วยไม่เมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยกับ ด. สัญญาต่างตอบแทนดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจึงชอบแล้ว จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแย้ง และให้งดสืบพยาน จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าซ่อมตามสัญญาประกันคุณภาพสินค้าต่างจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญา มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ข้อตกลงพิเศษตามสัญญาไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนของกลาง: บุคคลภายนอก vs. จำเลย – ประมวลกฎหมายอาญา ม.36 จำกัดสิทธิเฉพาะบุคคลภายนอก
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่จำเลยที่จะยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดี ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: คำสั่งธนาคารกำหนดนิยามค่าชดเชยต่างจากประกาศกระทรวงฯ จึงเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับ
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของจำเลย เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้างตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทนให้แก่พนักงานนั้น รวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วย ซึ่งแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อโจทก์เกษียณอายุโดยมิได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเกษียณอายุ: คำสั่งภายในองค์กรต่างจากประกาศกระทรวงฯ ถือเป็นเงินประเภทอื่น ต้องจ่ายตามกฎหมายแรงงาน
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของนายจ้างที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างรวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วยนั้น แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อลูกจ้างเกษียณอายุนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน