พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมการแลกเปลี่ยนที่ดินสินสมรส: ผลผูกพันต่อผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย.โอนกรรมสิทธิในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์แล้ว
เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่างโจทก์กับ ย.ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาจะแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ย. ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่างโจทก์กับ ย.ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาจะแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ย. ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนที่ดิน สินสมรส และผลผูกพันของผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์ เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาหรือข้อตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับ ย.จึงมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519ประกอบด้วย มาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย. ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมแลกเปลี่ยนที่ดินสินสมรส: สัญญาบังคับใช้ได้เมื่อมีการชำระหนี้ตามข้อตกลง
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย.แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรถกับโจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติ การชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่าง โจทก์กับย. ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของย. แล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย.ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิได้รับบำเหน็จนายหน้า: การชี้ช่องให้เกิดสัญญาซื้อขาย
นายหน้าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 845 นั้นได้แก่ผู้ชี้ช่องให้ได้มีการเข้าทำสัญญากันหรือผู้ที่จัดการให้ได้ทำสัญญากัน และนายหน้ามีสิทธิได้รับบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันเสร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น การที่ ก.ได้พา ส.ผู้ซื้อไปพบจำเลยที่ 4 ผู้ขายและพากันไปดูที่ดิน และต่อมาได้มีการซื้อขายกันเนื่องมาจากการชี้ช่องดังกล่าว ก.จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จโดยไม่จำเป็นที่ ก. จะต้องอยู่ด้วยในการเจรจาซื้อขายทุก ๆ ครั้งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิของนายหน้า: การชี้ช่องให้เกิดสัญญาซื้อขายและการได้รับค่าบำเหน็จ
นายหน้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845นั้น ได้แก่ผู้ที่ชี้ช่องให้ได้มีการเข้าทำสัญญากันหรือผู้ที่จัดการให้ได้ทำสัญญากัน และนายหน้ามีสิทธิได้รับบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันเสร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น การที่ ก. ได้พา ส. ผู้ซื้อไปพบจำเลยที่ 4 ผู้ขายและพากันไปดูที่ดินและต่อมาได้มีการซื้อขายกันเนื่องมาจากการชี้ช่องดังกล่าว ก. จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จโดยไม่จำเป็นที่ ก.จะต้องอยู่ด้วยในการเจรจาซื้อขายทุก ๆ ครั้งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับค่าบำเหน็จนายหน้า: การชี้ช่องให้เกิดการซื้อขายแม้ไม่ได้ร่วมเจรจา
นายหน้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845นั้น ได้แก่ผู้ชี้ช่องให้ได้มีการเข้าทำสัญญากันหรือผู้ที่จัดการให้ได้ทำสัญญากัน และนายหน้ามีสิทธิได้รับบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันเสร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้นการที่ ก. ได้พา ส. ผู้ซื้อไปพบจำเลยที่ 4 ผู้ขายและพากันไปดูที่ดิน และต่อมาได้มีการซื้อขายกันเนื่องมาจากการชี้ช่องดังกล่าว ก. จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จโดยไม่จำเป็นที่ ก.จะต้องอยู่ด้วยในการเจรจาซื้อขายทุก ๆ ครั้ง แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป: อำนาจต่อสู้คดีและแต่งตั้งทนายความ
สำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่มีใจความสำคัญว่า จำเลยขอมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจและดำเนินการต่าง ๆ ของจำเลยจัดการเกี่ยวกับงานในประเทศไทย ตลอดจนมอบอำนาจช่วงให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้จำเลยขอรับผิดชอบในการกระทำของผู้รับมอบอำนาจเสมือนหนึ่งจำเลยได้กระทำเองทุกประการนั้น มีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ตั้ง ท.เป็นตัวแทนรับมอบรับมอบอำนาจทั่วไป ท. จึงมีอำนาจทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทนจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 วรรคแรกหนังสือมอบอำนาจของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ท. เข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลยกับมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนจำเลยได้ ดังนั้น การมาศาล การยื่นคำให้การและการสืบพยานจำเลยของทนายความที่ ท. แต่งตั้งไว้ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนตามหนังสือมอบอำนาจทั่วไปและการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย
สำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่มีใจความสำคัญว่า จำเลยขอมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจและดำเนินการต่างๆ ของจำเลยจัดการเกี่ยวกับงานในประเทศไทย ตลอดจนมอบอำนาจช่วงให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้จำเลยขอรับผิดชอบในการกระทำของผู้รับมอบอำนาจเสมือนหนึ่งจำเลยได้กระทำเองทุกประการ นั้น มีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ตั้ง ท.เป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปท.จึงมีอำนาจทำกิจใดๆ ในทางจัดการแทนจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801วรรคแรก หนังสือมอบอำนาจของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ท.เข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลย กับมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนจำเลยได้ ดังนั้น การมาศาล การยื่นคำให้การ และการสืบพยานจำเลยของทนายความที่ ท.แต่งตั้งไว้ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาอายุความทั้งสองประเภทได้
การที่จำเลยขับรถไปตามทางการที่จ้างของโจทก์ด้วยความประมาท ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิด โดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาขึ้นมาต่อสู้คดีโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การด้วยแล้วว่า มูลหนี้คดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523 และโจทก์ได้รู้ถึงวันละเมิดอันหมายความถึงวันเกิดเหตุ อันเป็นมูลก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม2536 เมื่อนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาถึง 12 ปีเศษแล้ว จึงพ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด จากข้อเท็จจริงที่ว่านับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี อันเป็นอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว เมื่อคดีโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกันดังได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ศาลแรงงานจึงมีอำนาจที่จะยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดีโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความทั้งสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด ศาลใช้ได้ทั้งสองกรณีเมื่อจำเลยอ้างเหตุขาดอายุความ
การที่จำเลยขับรถไปตามทางการที่จ้างของโจทก์ด้วยความประมาท ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยแม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิด โดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาขึ้นมาต่อสู้คดีโจทก์ก็ตามแต่จำเลยก็ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การด้วยแล้วว่า มูลหนี้คดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523และโจทก์ได้รู้ถึงวันละเมิดอันหมายความถึงวันเกิดเหตุอันเป็นมูลก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536เมื่อนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาถึง 12 ปีเศษแล้วจึงพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือพ้นกำหนด10 ปีนับแต่วันทำละเมิด จากข้อเท็จจริงที่ว่านับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน10 ปี อันเป็นอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วยดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว เมื่อคดีโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกันดังได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ศาลแรงงานจึงมีอำนาจที่จะยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดีโจทก์ได้