คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาอายุความทั้งสองประเภทได้
การที่จำเลยขับรถไปตามทางการที่จ้างของโจทก์ด้วยความประมาท ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิด โดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาขึ้นมาต่อสู้คดีโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การด้วยแล้วว่า มูลหนี้คดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523 และโจทก์ได้รู้ถึงวันละเมิดอันหมายความถึงวันเกิดเหตุ อันเป็นมูลก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม2536 เมื่อนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาถึง 12 ปีเศษแล้ว จึงพ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด จากข้อเท็จจริงที่ว่านับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี อันเป็นอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว เมื่อคดีโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกันดังได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ศาลแรงงานจึงมีอำนาจที่จะยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดีโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ดินพร้อมบ้าน: เจตนาสละรวมถึงส่วนควบ แม้ไม่ได้ระบุในเอกสาร
ขณะทำบันทึกการสละมรดกนั้นมรดกมีแต่ที่ดินกับบ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินเท่านั้น ฉะนั้นแม้บันทึกการสละมรดกจะไม่มีข้อความระบุถึงบ้านพิพาทก็ต้องถือว่าบรรดาทายาทผู้ให้ถ้อยคำทุกคนมีเจตนาสละบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินด้วย การสละมรดกจึงมีผลใช้บังคับได้มิใช่เป็นการสละมรดกเพียงบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดกรณีมติที่ประชุมใหญ่และการเพิกถอนกรรมการ แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการใหม่แล้ว ความรับผิดทางละเมิดยังคงอยู่
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงมติถอดถอนกรรมการของโจทก์ที่ 1 ชุดเดิมซึ่งมีโจทก์ที่ 2 และที่ 3 รวมอยู่ด้วย แล้วตั้งกรรมการชุดใหม่ซึ่งมีจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 กับได้ลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการของโจทก์ที่ 1 และจำเลยร่วมกันทำรายงานประชุมไม่ตรงต่อความจริงขอให้พิพากษาว่ารายงานการประชุมใหญ่ดังกล่าวไม่ชอบกฎหมายและข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการ และให้จำเลยขอขมาโจทก์ทั้งสามในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำละเมิด แม้ต่อมา ช.ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์ที่ 1ฟ้องโจทก์ที่ 2 ที่ 3 กับพวก ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และ ช.ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นโดยได้มีการลงมติถอดถอนกรรมการชุดซึ่งได้รับแต่งตั้งจากมติที่ประชุมใหญ่ที่พิพาทกันในคดีนี้ แล้วตั้งกรรมการชุดใหม่แทนกับมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลให้ความรับผิดฐานละเมิดตามฟ้องระงับไป ศาลจึงชอบที่จะพิจารณาคดีต่อไปจนสิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดกรณีการเปลี่ยนแปลงกรรมการและการทำรายงานการประชุมที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการอีกครั้งโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ศาลยังคงพิจารณาคดีได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงมติถอดถอนกรรมการของโจทก์ที่ 1 ชุดเดิมซึ่งมีโจทก์ที่ 2 และที่ 3 รวมอยู่ด้วย แล้วตั้งกรรมการชุดใหม่ซึ่งมีจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 กับได้ลงมติเปลี่ยนแปลง อำนาจกรรมการของโจทก์ที่ 1 และจำเลยร่วมกันทำรายงานประชุมไม่ตรงต่อความจริงขอให้พิพากษาว่ารายงานการประชุมใหญ่ดังกล่าวไม่ชอบกฎหมายและข้อบังคับของโจทก์ที่ 1ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการ และให้จำเลยขอขมา โจทก์ทั้งสามในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำละเมิด แม้ต่อมา ช. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์ที่ 1 ฟ้องโจทก์ที่ 2 ที่ 3 กับพวก ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และ ช. ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยได้มีการลงมติถอดถอนกรรมการชุดซึ่งได้รับแต่งตั้ง จากมติที่ประชุมใหญ่ที่พิพาทกันในคดีนี้ แล้วตั้งกรรมการ ชุดใหม่แทนกับมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนเรียบร้อย แล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลให้ความรับผิดฐานละเมิดตามฟ้อง ระงับไป ศาลจึงชอบที่จะพิจารณาคดีต่อไปจนสิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับล่วงหน้าในสัญญาซื้อขาย การลดเบี้ยปรับ และการริบเงินค้ำประกัน
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์หลายรายการ จำเลยผิดสัญญาส่งมอบแม่แรงมีคุณสมบัติไม่ตรงตามสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญารายการนี้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ผู้ออกหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ส่งมอบเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์แล้ว แม้สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ ข้อ 4 จะกำหนดให้ผู้ซื้อมีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกันได้ในกรณีผู้ขายละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อกำหนดแห่งสัญญาข้อนี้ก็เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้เป็นการล่วงหน้า หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลก็ชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาส่งมอบครุภัณฑ์ไม่ถูกต้องเฉพาะแม่แรงรายการเดียว และโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกค่าปรับในกรณีส่งมอบของล่าช้าตามสัญญาข้อ 8 และข้อ 9 จากจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดจากการผิดสัญญาซื้อขายรายการนี้เป็นพิเศษ จึงไม่ชอบที่จะริบเงินตามหนังสือค้ำประกันสัญญาไว้ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายและการริบเงินค้ำประกัน ศาลลดเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วน
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์หลายรายการ จำเลยผิดสัญญาส่งมอบแรงมีคุณสมบัติไม่ตรงตามสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญารายการนี้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ผู้ออกหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ส่งมอบเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์แล้ว แม้สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ ข้อ 4 จะกำหนดให้ผู้ซื้อมีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกันได้ในกรณีผู้ขายละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อกำหนดแห่งสัญญาข้อนี้ก็เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้เป็นการล่วงหน้า หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลก็ชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาส่งมอบครุภัณฑ์ไม่ถูกต้องเฉพาะแม่แรงรายการเดียวและโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกค่าปรับในกรณีส่งมอบของล่าช้าตามสัญญาข้อ 8 และข้อ 9 จากจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดจากการผิดสัญญาซื้อขายรายการนี้เป็นพิเศษจึงไม่ชอบที่จะริบเงินตามหนังสือค้ำประกันสัญญาไว้ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้อง แม้จะไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารที่ดัดแปลงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 4 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่รับอนุญาตภายใน 30 วัน จำเลยรับแจ้งคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ตามมาตรา 42 วรรคสาม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยรื้อถอนอาคารเดิมออก มิฉะนั้นจะถือว่าปลูกสร้างผิดจากแบบแปลงแผนผังที่ได้รับอนุญาต ปรากฏว่าจำเลยมิได้รื้อถอนผนังกำแพงด้านข้างและต้นเสา 2 ด้านของอาคารเดิม กลับก่อสร้างอาคารชั้นเดียวเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ไปด้านหน้าด้านถนนและก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ปกคลุมแนวร่นของอาคารไว้ทั้งหมด โดยก่อสร้างขึ้นหลังจาก พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มีผลใช้บังคับแล้วไม่ใช่ก่อสร้างอาคารพิพาทภายในแนวเขตที่ดินและตามแนวอาคารเดิมซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ จึงเป็นการดัดแปลงที่ผิดไปจากแบบแปลนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยต้องรื้อถอน การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์ฟ้องให้รื้อถอนได้ตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดก แต่ต้องรับผิดชอบหน้าที่และความรับผิดของผู้ตาย
การที่โจทก์ที่ 1 กับ ฟ. หย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนหย่าว่ายกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น บันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ซึ่งทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ฟ. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ได้ และโจทก์ที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิเรียกให้ ฟ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ตนได้โดยตรงเช่นกัน เมื่อ ฟ.ตายหน้าที่และความรับผิดที่ฟ. มีต่อโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมายังจำเลยในฐานะทายาทของ ฟ.จำเลยจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกดังกล่าว โจทก์ทั้งสองมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้คัดค้านการขอรับมรดกที่ดินของจำเลยเมื่อปี 2530 และฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2531ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้คดีของโจทก์ที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความจำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอม-พินัยกรรม-การรับมรดก: สิทธิในที่ดินเมื่อคู่สมรสหย่าและมีพินัยกรรมยกมรดก
ข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ที่ตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 2 ผู้เป็นบุตรนั้น เป็นบันทึกข้อตกลงที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.และทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรส ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ฟ.ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 ได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 ในฐานะบุคคลภายนอกหากแสดงเจตนาแก่ ฟ.ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น โจทก์ที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ ฟ.ชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญานั้นให้แก่ตนได้โดยตรง ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.เมื่อหย่ากัน แต่ละฝ่ายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 แต่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้แสดงเจตนาแก่ ฟ.ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาในส่วนที่ดินพิพาทซึ่ง ฟ.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งก่อนที่ฟ.จะตาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งจึงยังเป็นของ ฟ.อยู่ฟ.ย่อมแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับที่ดินนั้นในส่วนของตนเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อตนตายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ฟ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับที่ดินดังกล่าวตามส่วนที่ ฟ.มีกรรมสิทธิ์อยู่ในฐานะเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรม เมื่อ ฟ.ตาย อย่างไรก็ตามกองมรดกของผู้ตายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 นอกจากจะได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายแล้ว ยังรวมถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ด้วย แม้จำเลยจะมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายก็ตามแต่หน้าที่และความรับผิดที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นมรดกมีผลผูกพันให้จำเลยต้องรับผิดด้วย ดังนั้น หน้าที่และความรับผิดที่ ฟ. มีต่อโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงตกทอดมายังจำเลย และจำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกดังกล่าวด้วยการที่โจทก์ทั้งสองไปคัดค้านในขณะที่จำเลยทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองไปแสดงและขอรับมรดกต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า ฟ.ไม่มีสิทธินำเอาที่ดินพิพาทไปทำพินัยกรรมยกให้จำเลย นั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกนั้นแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ได้ทำกันไว้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2519 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวได้ โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 จึงเกินกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) แล้ว คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ แต่คดีของโจทก์ที่ 2 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2ไปคัดค้านการขอรับมรดกที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2530และโจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) คดีของโจทก์ที่ 2จึงยังไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอรับมรดกที่ดินครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาทและไม่มีสิทธิที่จะยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ต่อไป จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระเบียบข้อบังคับนายจ้างจ่ายเงินชดเชยมากกว่ากฎหมาย เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดให้จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างในกรณีลาออกไว้ด้วย ก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ซึ่งเป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า เมื่อหลักเกณฑ์การคำนวณเงินชดเชยในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างคล้ายกับหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเช่นว่านั้น จึงเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
of 57