พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินชดเชยและเงินบำเหน็จของลูกจ้างตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเท่านั้น มิได้กำหนดเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จแต่อย่างใด ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างหรือไม่เพียงใด ย่อมต้องแล้วแต่ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้คดีนี้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างแต่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเพียงเงินชดเชยเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลย แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างได้รับเงินชดเชยในกรณีลาออกไว้ด้วยก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเฉพาะกรณีเลิกจ้างเท่านั้นก็ตาม แต่การกำหนดหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า จึงไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(3) กำหนดไว้ เงินชดเชยดังกล่าวจึงเป็นค่าชดเชยไม่อาจจะแปลว่าเป็นเงินบำเหน็จ ดังที่โจทก์อ้างได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง: หน้าที่ส่งมอบงานและผลกระทบต่อการลงโทษทางวินัย
การที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการประจำแผนกซ่อมและดูแลได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในกองบริการชุมชน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์กลับไปทำงานในแผนกเดิม แต่โจทก์ไม่กลับไปทำงานตามคำสั่งอ้างว่าต้องรอมอบหมายงานตามระเบียบของการเคหะแห่งชาติก่อน ดังนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดให้มีการมอบงานแล้ว การส่งมอบงานนั้นมิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องกระทำเมื่อไม่กระทำตามคำสั่งจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เกิน 10 ปี หมดสิทธิ
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2531 ความว่า โจทก์ยอมให้ที่ดินที่เป็นเกาะมีบ้านจำเลยปลูกอยู่เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในโฉนดเลขที่ 1924 เป็นของจำเลย และจะไปขอแบ่งแยกให้ ทั้งสองฝ่ายจะไปยื่นขอแบ่งแยกภายในเดือนมกราคม 2514 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2533 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงหมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้กรณีเป็นดังที่จำเลยอ้างว่าเป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งโจทก์เป็นฝ่ายเพิกเฉยไม่ไปขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วกลับมาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีใหม่ และจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์แล้วก็ตามก็หามีบทกฎหมายใดบัญญัติให้มีการขอบังคับคดีเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันพิพากษา แม้ฝ่ายหนึ่งเพิกเฉย
แม้จะเป็นกรณีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งโจทก์ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้มีการบังคับคดีเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการครอบครองปรปักษ์ หากเกิน 10 ปีนับจากคำพิพากษา สิทธิบังคับคดีเป็นอันสูญเสีย
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อวันที่16 ธันวาคม 2531 ความว่า โจทก์ยอมให้ที่ดินที่เป็นเกาะมีบ้านจำเลยปลูกอยู่เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในโฉนดเลขที่ 1924 เป็นของจำเลย และจะไปขอแบ่งแยกให้ ทั้งสองฝ่ายจะไปยื่นขอแบ่งแยกภายในเดือนมกราคม 2514 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่17 ตุลาคม 2533 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงหมดสิทธิบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271แม้กรณีเป็นดังที่จำเลยอ้างว่าเป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งโจทก์เป็นฝ่ายเพิกเฉยไม่ไปขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วกลับมาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีใหม่ และจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์แล้วก็ตาม ก็หามีบทกฎหมายใดบัญญัติให้มีการขอบังคับคดีเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: แม้ได้มาด้วยเงินทุจริต แต่สิทธิในการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ยึดมีเฉพาะเจ้าของทรัพย์
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์พิพาทด้วยเงินที่ลักไปจากผู้ร้องก็ตาม แต่ก็จะถือว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหาได้ไม่ เพราะรถยนต์พิพาทไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ลักเอาไป เมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยรถยนต์พิพาทที่โจทก์นำยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด แม้ได้มาด้วยเงินผิดกฎหมาย ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้เสียหาย
การที่จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์คันพิพาทด้วยเงินที่ลักไปจากผู้ร้อง จะถือว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหาได้ไม่เพราะรถยนต์พิพาทไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ลักเอาไปเมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท ผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยรถยนต์พิพาทที่โจทก์นำยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันหลายรายรับผิดร่วมกันในหนี้เดียวกัน แม้ค้ำประกันต่างเวลากัน
ผู้ค้ำประกันหลายคนที่เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันซึ่งจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้นไม่จำต้องเข้าเป็นผู้ค้ำประกันพร้อมกัน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2521 จำเลยที่ 3เข้าเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2524 โดยจำเลยที่ 3ค้ำประกันย้อนไปตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงาน การที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติงานในทางการที่จ้างทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย 6 ครั้งความเสียหายดังกล่าวถือว่าเป็นหนี้รายเดียวกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายค่าชดเชย: รัฐวิสาหกิจต้องใช้ระเบียบใหม่แทนประกาศเก่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 ข้อ 2ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายนพ.ศ. 2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 56 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2514 ข้อ 46จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ค่าชดเชยการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่12 กันยายน พ.ศ.2534 ข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 46 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2514 ข้อ 46 จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น