คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และต้องจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 หาได้มีบทบัญญัติกำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ในเรื่องการจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีกับรัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจำต้องยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ เพื่อให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาก่อน บทบัญญัติในมาตรา 18 เป็นบทที่กำหนดถึงอำนาจหน้าที่คณะของกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องการพิจารณาข้อร้องทุกข์ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจประสงค์จะให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์พิจารณาเท่านั้นแม้โจทก์ทั้งสี่จะมิได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ เมื่อโจทก์ทั้งสี่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสียอมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากตำแหน่งนั้นมีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีเมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุโดยโจทก์ไม่มีความผิดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 46 การเลิกจ้างเช่นนี้จำเลยต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับตามข้อ 8 และข้อ 20 ดังที่ข้อ 21 ของระเบียบดังกล่าวไว้ด้วย และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นเรื่องการจ่ายค่าชดเชยหรือการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามที่กำหนดไว้ในข้อ 45 และข้อ 47 ของระเบียบที่กล่าวข้างต้นแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิดตามข้อ 46ของระเบียบดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ และสิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
บัญญัติในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นเพียงบทที่กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องการพิจารณาข้อร้องทุกข์ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจประสงค์จะให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์พิจารณาเท่านั้น มิใช่การกำหนดขั้นตอนซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายก่อนจึงจะมีอำนาจฟ้อง ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะมิได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ โจทก์ทั้งสี่ก็มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่ พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 นั้นเป็นการให้โจทก์ทั้งสี่ออกจากงาน ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิให้แก่โจทก์ทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัย: การฎีกาขัดแย้งกับคำให้การ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ด้วยหรือไม่นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้ฎีกาและจำเลยที่ 2 ให้การว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ไม่ได้ชำระเบี้ยประกันเพื่อต่ออายุสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในคดีนี้ด้วยการที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 2 แล้ว จึงต้องร่วมรับผิดด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ขัดแย้งและนอกเหนือคำให้การของตน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่จำเลยอ้างเรื่องประกันภัยขัดแย้งกับคำให้การเดิม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นความรับผิดของผู้รับประกัน
ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ด้วยหรือไม่นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้ฎีกาและจำเลยที่ 2ให้การว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ไม่ได้ชำระเบี้ยประกันเพื่อต่ออายุสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในคดีนี้ด้วย การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 2 แล้ว จึงต้องร่วมรับผิดด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ขัดแย้งและนอกเหนือคำให้การของตน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการใช้มีดและอาวุธปืน การพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
การที่จำเลยใช้มีดพกสั้นไล่แทงผู้เสียหายและพูดว่าจะฆ่าผู้เสียหาย แล้วชักอาวุธปืนจ้องยิงไปทางผู้เสียหายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายและจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดไปแล้ว เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายเพราะกระสุนปืนที่จำเลยยิงไปไม่ถูกผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน และพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่รับอนุญาต แม้จะฟังได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย และในชั้นสืบพยานจำเลยจำเลยจะตอบคำถามค้านของโจทก์ว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยและจำเลยได้ลงชื่อไว้ในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาซึ่งปรากฏตามบันทึกดังกล่าวว่า จำเลยได้ให้การว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนมาก่อนก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน และพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงลงโทษจำเลยในข้อหานี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการใช้ทั้งมีดและปืน แม้ไม่ถูกตัว แต่ความผิดฐานพยายามฆ่ายังคงมี และการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืน
การที่จำเลยใช้มีดพกสั้นวิ่งไล่แทงผู้เสียหายและพูดว่าจะฆ่าผู้เสียหาย แล้วชักอาวุธปืนจ้องยิงไปทางผู้เสียหาย 1 นัดเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย และจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดไปแล้ว เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่รับอนุญาต แม้จะฟังได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและในชั้นสืบพยานจำเลย จำเลยจะตอบคำถามค้านของโจทก์ว่าพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าพยายามฆ่า มีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง และพาอาวุธปืนไปโดยไม่รับอนุญาต และจำเลยได้ลงชื่อไว้ในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาซึ่งปรากฏตามบันทึกดังกล่าวว่า จำเลยได้ให้การว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนมาก่อนก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน และพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าและการมีอาวุธปืน: การพิสูจน์ความผิดฐานพยายามฆ่าและอาวุธปืน
การที่จำเลยใช้มีดพกสั้นวิ่งไล่แทงผู้เสียหายและพูดว่าจะฆ่าผู้เสียหาย แล้วชักอาวุธปืนจ้องยิงไปทางผู้เสียหาย 1 นัด เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย และจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดไปแล้ว เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่รับอนุญาต แม้จะฟังได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและในชั้นสืบพยานจำเลย จำเลยจะตอบคำถามค้านของโจทก์ว่าพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าพยายามฆ่า มีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง และพาอาวุธปืนไปโดยไม่รับอนุญาต และจำเลยได้ลงชื่อไว้ในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาซึ่งปรากฏตามบันทึกดังกล่าวว่า จำเลยได้ให้การว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนมาก่อนก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน และพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือแทนเจ้าของและการเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง: การขอ สทก.1 ไม่ถือเป็นการบอกกล่าว
จำเลยอยู่ในนาพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ ถือว่าจำเลยยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยไปขอให้ทางราชการออก สทก.1หรือหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินในนาพิพาทได้ชั่วคราว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์ แม้จำเลยจะไปขอให้ทางราชการออกหนังสือดังกล่าวช้านานเพียงใด โจทก์ก็ย่อมเรียกร้องเอานาพิพาทคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน น.ส.3 ที่มีมาก่อนเขตป่าสงวน การยึดถือแทนเจ้าของ และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงเจตนา
ที่ดินของโจทก์ออก น.ส.3 มาก่อนกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินของโจทก์ยังไม่ถูกเพิกถอน น.ส.3 โจทก์จึงยังคงมีสิทธิในที่ดินตามมาตรา 12 วรรคท้าย ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ การที่จำเลยทั้งห้าทำนาในนาพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ต้องถือว่าจำเลยทั้งห้ายึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ จำเลยทั้งห้าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ต่อไป ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 เท่านั้น เพียงแต่การไปขอให้ทางราชการออกหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินในนาพิพาทได้ชั่วคราว หรือ สทก.1 ยังไม่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการคืนสิทธิในทรัพย์สินเมื่อผู้เช่าซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ 2 คราวติดต่อกัน โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็ไม่ได้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันตามข้อสัญญาโดยยังคงถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความผูกพันต่อกันตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป การที่ต่อมาจำเลยที่ 1 นำรถที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์ตามข้อสัญญาและตามมาตรา 573 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเลิกกันตามมาตรา 573นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ มิใช่กรณีสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย หรือประพฤติผิดสัญญาอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องชดใช้ราคาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญา เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันตามมาตรา 573 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์รวม 3 งวด ก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกนั้นได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
of 57