คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เทพฤทธิ์ ศิลปานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 564 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง: สิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์และให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจคนใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างก็ต้องดำเนินการให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่นว่านั้นพ้นจากตำแหน่งซึ่งเรียกกันว่าให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ทั้งยี่สิบสาม ซึ่งการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งซึ่งได้ให้ความหมายของการเลิกจ้างไว้ว่าหมายถึงการที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน โดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสาม พ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุโดยที่โจทก์ทั้งสี่สิบสามไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 56 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 จึงเป็นการเลิกจ้าง ส่วนที่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐาน ของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 กำหนดว่าพนักงานที่ต้องต้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจ จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างนั้น ก็เป็นเพียงข้อกำหนด ให้พนักงานที่เกษียณอายุไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยโดยให้ได้รับเงิน เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน หากปฏิบัติงานก่อนครบเกษียณมาครบห้าปีขึ้นไป มิใช่เป็นข้อกำหนดว่าการที่รัฐวิสาหกิจให้พนักงานออกจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่เป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดินและการบุกรุก กรณีที่ดินมีประวัติการซื้อขายและคดีความซับซ้อน
ที่พิพาทรายนี้ยังคงโต้เถียงความเป็นเจ้าของกันอยู่ โจทก์กับบิดาจำเลยต่างก็อ้างว่าซื้อที่พิพาทมาจาก ป. ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏตามสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1826/2532 ของศาลชั้นต้นว่า โจทก์ก็ถูก ป.ฟ้องว่าปลอมหนังสือมอบอำนาจและนำไปใช้จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทเป็นของตนโดยไม่ชอบขอให้ลงโทษฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม กับขอให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่พิพาททั้งสองแปลงอีกด้วย ป.เพิ่งจะถอนฟ้องและยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ชำระเงินให้จำนวน 50,000 บาท ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เพียง 6 วัน เช่นนี้จึงฟังไม่ได้ความแน่ชัดว่าขณะเกิดเหตุที่พิพาทเป็นของโจทก์ ที่จำเลยเข้าไปไถที่พิพาทก็ปรากฏว่า บิดาจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาทจาก ป.ให้จำเลยทำ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินพิพาท: ความเป็นเจ้าของที่ไม่ชัดเจนและเหตุผลในการกระทำ
ที่พิพาทรายนี้ยังคงโต้เถียงความเป็นเจ้าของกันอยู่โจทก์กับบิดาจำเลยต่างก็อ้างว่าซื้อที่พิพาทมาจาก ป.ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏตามสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1826/2532ของศาลชั้นต้นว่า โจทก์ก็ถูก ป. ฟ้องว่าปลอมหนังสือมอบอำนาจและนำไปใช้จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทเป็นของตนโดยไม่ชอบขอให้ลงโทษฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม กับขอให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่พิพาททั้งสองแปลงอีกด้วยป. เพิ่งจะถอนฟ้องและยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ชำระเงินให้จำนวน 50,000 บาท ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เพียง 6 วัน เช่นนี้จึงฟังไม่ได้ความแน่ชัดว่าขณะเกิดเหตุที่พิพาทเป็นของโจทก์ ที่จำเลยเข้าไปไถที่พิพาทก็ปรากฏว่า บิดาจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาทจาก ป. ให้จำเลยทำ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังเงินโรงพยาบาล: ข้อหาแตกต่างจากฟ้อง ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยไม่ได้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยคนไข้นอกจากบัญชีเงินฝากของโรงพยาบาลซึ่งเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินแล้วเบียดบังไปดังที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่จำเลยเบียดบังเงินสดอันเป็นรายได้ของโรงพยาบาลที่ได้รับมาในวันเกิดเหตุซึ่งไม่ใช่เงินที่เบิกมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินของโรงพยาบาลเงินที่จำเลยเบียดบังไปเป็นเงินคนละจำนวนกับที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกไปข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกล่าวหายักยอกทรัพย์แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ ศาลไม่สามารถลงโทษได้
จำเลยไม่ได้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยคนไข้นอกจากบัญชีเงินฝากของโรงพยาบาลซึ่งเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน แล้วเบียดบังไปดังที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่จำเลยเบียดบังเงินสดอันเป็นรายได้ของโรงพยาบาลที่ได้รับมาในวันเกิดเหตุ ซึ่งไม่ใช่เงินที่เบิกมาจากเงินงบประมาณแผ่นดินของโรงพยาบาลเงินที่จำเลยเบียดบังไปเป็นเงินคนละจำนวนกับที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกไปข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดฐานบุกรุกป่าสงวน การขาดเจตนาทำให้ไม่มีความผิดตามฟ้อง และอำนาจศาลในการสั่งให้ผู้อยู่ออก
จำเลยไม่รู้ว่าที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยอาศัยอยู่เป็นป่าสงวนการกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานยึดถือครอบครอง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการไม่ชอบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสำคัญในการกระทำผิดป่าสงวน - ศาลไม่มีอำนาจสั่งขับไล่หากขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยไม่รู้ว่าที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยอาศัยอยู่เป็นป่าสงวนการกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานยึดถือครอบครอง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง
คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการไม่ชอบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสำคัญในการกระทำผิดป่าสงวนฯ – การพิพากษาต้องมีก่อนสั่งขับไล่
บริเวณที่เกิดเหตุไม่มีป้ายแสดงว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีบ้านราษฎรปลูกอยู่สองข้างทางหลายหลัง และทางราชการได้ออก น.ส.3ก.สำหรับที่ดินใกล้เคียงหลายแปลง จำเลยซึ่งเป็นคนต่างท้องที่ไม่รู้ว่าที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยอาศัยอยู่เป็นป่าสงวนแห่งชาติจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด คำขอให้สั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้าย ศาลจะสั่งได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในชื่อห้างหุ้นส่วน - การใช้เพียงพยางค์ชื่อไม่ถือเป็นการยินยอมตามกฎหมาย
คำว่า ชื่อ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081,1082หมายถึง ชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล อันเป็นชื่อเต็มของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด มิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อหรือเป็นเพียงพยางค์หนึ่งของชื่อ เว้นแต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชื่อบางส่วนหรือพยางค์หนึ่งของชื่อนั้นเป็นคำที่เรียกขานเป็นชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ 4 เพียงแต่ยอมให้ห้างจำเลยที่ 1 ใช้คำว่า "วิ"ซึ่งเป็นพยางค์แรกของชื่อจำเลยที่ 4 ที่ชื่อว่า "วิริยะ"มาระคนเป็นชื่อ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า คำว่า"วิ" นั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปหมายถึงชื่อของจำเลยที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวจึงยังไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และมาตรา 1082 วรรคแรกจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุที่ได้ยอมให้ใช้คำว่า "วิ" มาระคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด การรับผิดชอบหนี้สิน
คำว่า "ชื่อ" ในบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1081,1082 หมายถึง ชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล อันเป็นชื่อเต็มของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อ หรือพยางค์หนึ่งของชื่อ เว้นแต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชื่อบางส่วนหรือพยางค์หนึ่งของชื่อนั้นเป็นคำที่เรียกขานเป็นชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความผิดของห้างจำเลยที่ 1มีชื่อว่า "วิริยะ" เพียงแต่ยอมให้ห้างจำเลยที่ 1 ใช้คำว่า"วิ" มาระคนเป็นชื่อห้าง โดยไม่ต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า คำว่า "วิ" นั้นเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าหมายถึงชื่อของจำเลยที่ 4 จึงยังไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 4จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดต่อโจทก์
of 57