พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยขณะกระทำผิดและขณะฟ้องคดีมีผลต่ออำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน รวมถึงการได้รับอนุญาตฟ้อง
เยาวชนอายุ 14 ปีเศษ กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288และถูกฟ้องเมื่ออายุ 17 ปีเศษ ดังนี้ คดีอยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กฯ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ข้อ 1 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯมาตรา 8(1) ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ มาตรา 24 จัตวานั้น ห้ามพนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 24 ทวิ ต่อศาลทุกศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชนหลังพ้นกำหนดระยะเวลา ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
ขณะที่จำเลยกระทำผิดและถูกจับกุม จำเลยยังเป็นเยาวชนตามพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 4จำเลยย่อมได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยมีอายุพ้นเกณฑ์เยาวชนแล้ว แต่สิทธิของจำเลยที่จะได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวยังมีอยู่ การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ โจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการไม่ว่าจะเป็นการฟ้องต่อศาลใด เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาต โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามมาตรา 24 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน ต้องเริ่มเมื่อมีการจับกุมในคดีนั้นจริง แม้ถูกควบคุมในคดีอื่นก่อน
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมและควบคุมในคดีอื่น ต่อมาพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาคดีนี้ให้จำเลยทราบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุมและควบคุมในคดีนี้ การนับระยะเวลาตามมาตรา24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการฟ้องคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่2/2530).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน: การจับกุมในคดีอื่นมิอาจนำมาใช้นับระยะเวลาในคดีปัจจุบันได้
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมและควบคุมในคดีอื่น ต่อมาพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาคดีนี้ให้จำเลยทราบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุมและควบคุมในคดีนี้ การนับระยะเวลาตามมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการฟ้องคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2530)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อถูกจับในคดีอื่น
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมในคดีอื่น ภายหลังพนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาในคดีนี้ให้จำเลยทราบ โดยจำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างสอบสวนในคดีอื่นมาโดยตลอด ดังนี้ การคำนวณระยะเวลาในการให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนภายใน 30 วัน มิฉะนั้นต้องขอผัดฟ้องต่อศาลในคดีนี้จึงยังไม่เริ่มต้นนับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชน เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
จำเลยเป็นเยาวชนถูกควบคุมอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางพนักงานสอบสวนไม่ขอผัดฟ้อง ศาลจึงปล่อยตัวจำเลยไป แม้ต่อมาเมื่อจำเลยพ้นเกณฑ์เยาวชนแล้วโจทก์ก็จะฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาโดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนพ้นกรอบระยะเวลาผัดฟ้อง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ จึงจะมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 24 ทวิ กำหนดให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม และในกรณีเกิดความจำเป็นให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไป ได้อีกคราวละไม่เกินสิบห้าวัน เฉพาะคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และตามมาตรา 24 จัตวา ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีมีโทษสถานที่หนักซึ่งจะขอผัดฟ้องกี่คราวก็ได้ และพนักงานสอบสวนได้ขอผัดฟ้องไว้เป็นครั้งที่ 5 แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยไป หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็มิได้มาขอผัดฟ้องต่อไปอีก จนกระทั่งอีกประมาณ 3 เดือนต่อมา พนักงานอัยการจึงได้นำคดีมาฟ้อง ดังนี้ คดีโจทก์ขาดการผัดฟ้องถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ ซึ่งโจทก์จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา จึงจะมีอำนาจฟ้องคดีได้ โจทก์จะอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนมีบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากเกินกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อน ครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีก กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิแล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา